สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 24 ก.ย. 65

+ ประเทศไทยมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก

+ ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา จ.มุกดาหาร (125 มม.) จ.เชียงราย (117 มม.) และจ.เชียงใหม่ (114 มม.)

+เฝ้าระวังระดับน้ำบริเวณแม่น้ำชี-มูล ตั้งแต่วันที่ 23 ก.ย. 65

1. ลุ่มน้ำชี บริเวณ จ.กาฬสินธุ์ บริเวณ อ.กมลาไสย กุฉินารายณ์ ฆ้องชัย เมืองกาฬสินธุ์ ยางตลาด และร่องคำ จ.ขอนแก่น บริเวณ อ.โคกโพธิ์ไชย ชนบท บ้านแฮด พระยืน มัญจาคีรี แวงน้อย และแวงใหญ่ จ.ชัยภูมิ บริเวณ อ.คอนสวรรค์ เนินสง่า และเมืองชัยภูมิ จ.นครราชสีมา บริเวณ อ.แก้งสนามนาง และบ้านเหลื่อม จ.มหาสารคาม บริเวณ อ.โกสุมพิสัย กันทรวิชัย เมืองมหาสารคาม และ จ.ยโสธร บริเวณ อ.ค้อวัง คำเขื่อนแก้ว มหาชนะชัย และเมืองยโสธร จ.ร้อยเอ็ด บริเวณ อ.จังหาร เชียงขวัญ ทุ่งเขาหลวง ธวัชบุรี พนมไพร โพธิ์ชัย โพนทอง เมยวดี เมืองสรวง เสลภูมิ สุวรรณภูมิ และอาจสามารถ

2. ลุ่มน้ำมูล บริเวณ จ.นครราชสีมา บริเวณ อ.ชุมพวง ลำทะเมนชัย และเมืองยาง จ.บุรีรัมย์ บริเวณ อ.แคนดง และสตึก จ.สุรินทร์ บริเวณ อ.ชุมพลบุรี ท่าตูม และรัตนบุรี จ.ศรีสะเกษ บริเวณ อ.บึงบูรพ์ ห้วยทับทัน ราษีไศล เมืองศรีสะเกษ และกันทรารมย์ จ.อุบลราชธานี บริเวณ อ. เขื่องใน เมืองอุบลราชธานี วารินชำราบ และสว่างวีระวงศ์

+เฝ้าระวังระดับน้ำบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา ช่วงวันที่ 25 – 27 ก.ย. 65 ระดับน้ำด้านท้ายเขื่อนเพิ่มสูงขึ้นจากเดิมประมาณ 0.30–0.50 ม. บริเวณชุมชนพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำ จ.อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี ปทุมธานี นนทบุรี กรุงเทพมหานคร และสมุทรปราการ

+ แม่น้ำสายหลัก น้ำน้อยถึงปกติ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนแม่น้ำโขง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

+ ปริมาณน้ำ แหล่งน้ำทุกขนาด 57,121 ลบ.ม. (70%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 49,787 ล้าน ลบ.ม. (70%) เฝ้าระวังแหล่งน้ำและอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ที่มีปริมาตรน้ำสูงกว่าเกณฑ์ปฏิบัติการเก็บกักน้ำสูงสุด (Upper Rule Curve) 14 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำแม่งัดสมบูรณ์ชล แม่มอก บึงบอระเพ็ด ทับเสลา กระเสียว อุบลรัตน์ ลำตะคอง ลำพระเพลิง มูลบน ขุนด่านปราการชล นฤบดินทรจินดา คลองสียัด บางพระ และหนองปลาไหล

+กอนช. สำรวจและติดตามสถานการณ์น้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา

เมื่อวันที่ 22 ก.ย.65 นายชยันต์ เมืองสง รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยภาคกลาง พร้อมด้วย นายบุญสม ชลพิทักษ์วงศ์ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการน้ำแห่งชาติ สทนช. และนายฐนโรจน์ วรรัฐประเสริฐ ผู้เชี่ยวชาญด้านวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ สทนช. ขึ้นเฮลิคอร์ปเตอร์กรมฝนหลวงและการบินเกษตร สำรวจติดตามสถานการณ์น้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ได้แก่ ทุ่งพระพิมล ทุ่งพระยาบรรลือ ทุ่งเจ้าเจ็ด ทุ่งผักไห่ ทุ่งป่าโมก ทุ่งบางกุ้ง ทุ่งบางกุ่ม ทุ่งท่าวุ้ง ทุ่งฝั่งซ้ายคลองชัยนาท-ป่าสัก และทุ่งเชียงราก จากการสำรวจสภาพน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา ท่าจีน

พบว่าการระบายน้ำในจุดต่างๆ สามารถระบายน้ำได้ดี ขณะที่ทุ่งลุ่มต่ำลุ่มน้ำเจ้าพระยาเริ่มมีน้ำบ้างแล้วจากปริมาณฝนที่ตกในพื้นที่ซึ่งพื้นที่เกษตรโดยส่วนใหญ่เกษตรกรได้ทำการเก็บเกี่ยวเกือบหมดแล้ว สอดคล้องกับข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมพื้นที่น้ำท่วม และสภาพการเพาะปลูกของสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (GISTDA)

ขณะเดียวกัน รองเลขาธิการ สทนช. ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงานของศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยภาคกลาง ณ จังหวัดชัยนาท โดยได้มอบนโยบายให้ศูนย์ฯส่วนหน้าติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด และให้เร่งใช้กลไกศูนย์ส่วนหน้าบูรณาหน่วยงานในการมีส่วนร่วมประเด็นการรับน้ำเข้าทุ่งให้แล้วเสร็จโดยเร็วเพื่อทันใช้งานช่วงฤดูน้ำหลากนี้