กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 22 กันยายน 2565 ดังนี้

1. ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ

ประกาศ ศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ฉบับที่ 3/2565 ลงวันที่ 21 กันยายน 2565 ศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แจ้งเฝ้าระวังระดับน้ำท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำ จังหวัดอุบลราชธานี ในช่วงวันที่ 22 – 26 กันยายน 2565 ระดับน้ำในลุ่มน้ำชี-มูล มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 0.40 -0.60 เมตร ตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน 25-5 โดยบริเวณสถานีตรวจวัดน้ำ M.7 อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบสราชธานี เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2565 เวลา 1.00 น. ปริมาณน้ำไหลผ่าน 2,819 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ระดับน้ำ +112.86 เมตร ระดับทะเสปานกลาง สูงกว่าระดับตลิ่ง 1.86 เมตร

ปัจจุบันพบว่าระดับน้ำได้ล้นตลิ่งต่ำนอกแนวคันกั้นน้ำบริเวณแนวฟันหลอและไหลหลากเข้าท่วมบริเวณชุมชนท่ากอไผ่ อำเกอวารินชำราบ จังหวัดอุบสราชธานีและจากการคาดการณ์ระดับน้ำในช่วงวันที่ 22 – 26 กันยายน 2565 ระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คาดการณ์ในวันที่ 26 กันยายน 2565 ระดับน้ำบริเวณสถานี M.7 มีระดับน้ำ +113.03 เมตร ระดับทะเลปานกลาง ซึ่งจะส่งผลให้ในวันที่ 21 กันยายน 2565 ระดับน้ำล้นตลิ่งและไหลหลากเข้าท่วมขังพื้นที่ลุ่มต่ำ โดยอาจส่งผลกระทบต่อบ้านเรือนในพื้นที่ลุ่มต่ำบริเวณชุมชนท่ากอไผ่ อำเกอวารินชำราบ

2. ผลการดำเนินงานตามมาตรการรองรับฤดูฝน ปี 2565

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) หารือกำหนดเกณฑ์บริหารจัดการน้ำเพื่อลดผลกระทบแก่ประชาชนคาดช่วงปลายเดือน กันยายน – ตุลาคม 2565 มีแนวโน้มของปริมาณฝนที่เพิ่มมากขึ้น รวมถึงมีแนวโน้มของร่องมรสุมพาดผ่านพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันออก ส่งผลให้ปริมาณน้ำในพื้นที่ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น และกรมอุตุนิยมวิทยาและสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) รายงานว่ามีแนวโน้มของพายุ จำนวน 1-2 ลูก ที่จะเข้ามาทางประเทศไทย

ทั้งนี้ กอนช.ได้ประเมินสถานการณ์ของประเทศไทยว่าอยู่ในช่วงลานีญา ส่งผลให้มีปริมาณน้ำฝนมากกว่า 20% ของค่าปกติ จึงได้มีการดำเนินงานเชิงรุกล่วงหน้า เช่น การเตรียมพร่องน้ำในเขื่อนต่าง ๆ สำหรับเขื่อนขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็กบางแห่ง ซึ่งขณะนี้มีปริมาณน้ำค่อนข้างมาก ทาง กอนช. ได้แจ้งเตือนกรมชลประทานให้ปรับเกณฑ์เพิ่มการระบายน้ำและต้องเฝ้าระวังหากมีฝนเพิ่มขึ้น โดยจะต้องมีการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดย กอนช. จะมีการประเมินพื้นที่เสี่ยงและแจ้งเตือนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้บริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องกับสถานการณ์

3. สถานการณ์น้ำท่วม

ร่องมรสุมเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคกลางตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย จะมีกําลังแรงขึ้น ทำให้มีฝนเพิ่มขึ้นโดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง น้ำล้นตลิ่ง ในระหว่างวันที่ 4 – 21 ก.ย. 65

ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ชุมชนเมืองและพื้นที่เกษตรกรรม รวม 24 จังหวัด ได้แก่ ภาคเหนือ จังหวัดตาก ภาคกลาง จังหวัดกรุงเทพมหานคร ปทุมธานี สมุทรปราการ สุพรรณบุรี อ่างทอง สิงห์บุรี ลพบุรี ชัยนาท พระนครศรีอยุธยา นครปฐม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดหนองบัวลำภู ชัยภูมิ อุบลราชธานี ขอนแก่น ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ยโสธร นครราชสีมา สุรินทร์ บุรีรัมย์ และศรีสะเกษ ภาคตะวันออกจังหวัด ชลบุรี สระแก้ว