+ ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้
+ ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณ จ.ร้อยเอ็ด (121 มม.) จ.กาฬสินธุ์ (100 มม.) และจ.นราธิวาส (87 มม.)
+ • เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก น้ำท่วมขัง ดังนี้
ภาคเหนือ จ.เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน แพร่ น่าน ลำพูน ลำปาง กำแพงเพชร ตาก สุโขทัย พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ. เลย ขอนแก่น นครราชสีมา ชัยภูมิ อำนาจเจริญ บึงกาฬ อุบลราชธานี กาฬสินธุ์ และยโสธร
ภาคกลาง จ.กาญจนบุรี และราชบุรี
ภาคตะวันออก จ.ระยอง จันทบุรี และตราด
ภาคตะวันตก จ.ประจวบคีรีขันธ์ และเพชรบุรี
• เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันและระดับน้ำล้นตลิ่ง บริเวณแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขา ของ แม่น้ำแควน้อย แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำชี แม่น้ำมูล แม่น้ำนครนายก แม่น้ำปราจีนบุรี แม่น้ำบางปะกง แม่น้ำระยอง แม่น้ำจันทบุรี และแม่น้ำตราด
• เฝ้าระวังแหล่งน้ำและอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ที่มีปริมาตรน้ำสูงกว่าเกณฑ์ปฏิบัติการเก็บกักน้ำสูงสุด (Upper Rule Curve)12 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำแม่งัดสมบูรณ์ชล กิ่วคอหมา แม่มอก บึงบอระเพ็ด ทับเสลา กระเสียว อุบลรัตน์ ลำตะคอง ลำพระเพลิง มูลบน บางพระ และหนองปลาไหล
+ แม่น้ำสายหลัก น้ำน้อยถึงปกติ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนแม่น้ำโขง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
+ ปริมาณน้ำ แหล่งน้ำทุกขนาด 55,394 ลบ.ม. (67%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 48,450 ล้าน ลบ.ม. (68%) เฝ้าระวังน้ำต่ำกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 1 แห่ง บริเวณภาคใต้ เฝ้าระวังน้ำสูงกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 12 แห่ง ได้แก่ แม่งัด กิ่วคอหมา แม่มอก ทับเสลา กระเสียว อุบลรัตน์ ลำตะคอง ลำพระเพลิง มูลบน บางพระ หนองปลาไหล และบึงบอระเพ็ด
+กอนช. ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินการตาม 13 มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2565
เมื่อวันที่ 15 ก.ย.65 ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะรองผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ สทนช. และเจ้าหน้าที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษารังสิตใต้ กรมชลประทาน ร่วมลงพื้นที่ติดตามการดำเนินการตาม 13 มาตรการรับมือฤดูฝนปี 2565 บริเวณคลองรังสิตประยูรศักดิ์ ปากคลอง 14 และจุดก่อสร้าง ปตร.กลางคลองรังสิตฯ (ปากคลอง 16) พื้นที่ อ.องครักษ์ จ.นครนายก ซึ่งมีข้อเสนอแนะในการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำดังนี้
1. เพิ่มเครื่องสูบน้ำ บริเวณปลายคลองรังสิตฯที่สถานีสูบน้ำเสาวภาผ่องศรี ปลายคลองหกวาสายล่างที่สถานีสูบน้ำสมบูรณ์3 เครื่อง และปลายคลองบางขนากที่สถานีสูบน้ำบางขนากเพื่อเร่งระบายน้ำลงสู่แม่น้ำนครนายกให้เร็วขึ้น ส่งผลให้พื้นที่ได้รับผลกระทบในพื้นที่ลุ่มต่ำริมคลองทั้ง 3 สาย มีระดับน้ำลดลง
2. เพิ่มเครื่องผลักดันน้ำในคลองหกวาสายล่างและคลองบางขนาก เขตพื้นที่ อ.บางน้ำเปรี้ยว จ.ฉะเชิงเทรา เพื่อเร่งระบายน้ำไปยังสถานีสูบน้ำปลายคลอง
3. บริเวณจุดก่อสร้างสะพานปากคลอง 14 ทิศใต้ของคลองรังสิตฯ ที่มีทำนบดินปิดปากคลอง ให้ทำช่องลอดเปิดทางน้ำ เพื่อให้ปริมาณน้ำจากคลองรังสิตฯ ระบายผ่านคลอง 14 ได้
4. บริเวณจุดก่อสร้าง ปตร. กลางคลองรังสิต อ.องครักษ์ จ.นครนายก ซึ่งมีการทำบ่อก่อสร้างปิดกั้นทางน้ำ เพื่อให้น้ำ ในคลองรังสิตฯ สามารถไหลไปที่สถานีสูบน้ำเสาวภาผ่องศรีและเร่งระบายน้ำลงสู่แม่น้ำนครนายกได้จากการเพิ่มประสิทธิภาพบริเวณปลายคลองทั้ง 3 สาย(คลองรังสิตฯ คลองหกวาสายล่าง และคลองบางขนาก) อาจส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำนครนายกเพิ่มสูงขึ้นเอ่อล้นตลิ่งด้านทิศตะวันตกของแม่น้ำนครนายก บริเวณ ต.บางลูกเสือ อ.องครักษ์ จ.นครนายก (เก็บเกี่ยวพืชแล้ว) ให้กรมชลประทานประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจให้กับประชาชนในพื้นที่ที่อาจได้รับผลกระทบด้วย