+ ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากและลมกระโชกแรงบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้
+ ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักบริเวณ จ.น่าน (107 มม.) จ.ชัยนาท (5) และจ.บึงกาฬ (63 มม.)
• + เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก น้ำท่วมขัง ดังนี้
ภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ แพร่ น่าน กำแพงเพชร และตาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ขอนแก่น ชัยภูมิ อำนาจเจริญ บึงกาฬ อุบลราชธานี กาฬสินธุ์ และยโสธร ภาคกลาง จ.กาญจนบุรี และราชบุรี
ภาคตะวันออก จ.จันทบุรี และตราด และภาคตะวันตก จ.ประจวบคีรีขันธ์ และเพชรบุรี
• เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันและระดับน้ำล้นตลิ่ง
บริเวณแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขา ของ แม่น้ำแควน้อย แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำชี แม่น้ำมูล แม่น้ำนครนายก แม่น้ำปราจีนบุรี แม่น้ำบางปะกง แม่น้ำระยอง แม่น้ำจันทบุรี และแม่น้ำตราด
• เฝ้าระวังแหล่งน้ำและอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ที่มีปริมาตรน้ำสูงกว่าเกณฑ์ปฏิบัติการเก็บกักน้ำสูงสุด (Upper Rule Curve)13 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำแม่งัดสมบูรณ์ชล กิ่วคอหมา กิ่วลม แม่มอก ทับเสลา กระเสียว อุบลรัตน์ ลำตะคอง ลำพระเพลิง มูลบน คลองสียัด บางพระ และหนองปลาไหล
+ แม่น้ำสายหลัก น้ำน้อยถึงปกติ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนแม่น้ำโขง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
+ ปริมาณน้ำ แหล่งน้ำทุกขนาด 54,844 ลบ.ม. (67%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 47,906 ล้าน ลบ.ม. (67%) เฝ้าระวังน้ำต่ำกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 1 แห่ง บริเวณภาคใต้ เฝ้าระวังน้ำสูงกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 12 แห่ง ได้แก่ แม่งัด กิ่วลม กิ่วคอหมา แม่มอก ทับเสลา กระเสียว อุบลรัตน์ ลำตะคอง ลำพระเพลิง มูลบน บางพระ หนองปลาไหล และบึงบระเพ็ด
+ กอนช. ติดตามสถานการณ์น้ำในพื้นที่ภาคกลาง ตามนโยบาย พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ หลังแนวโน้มสถานการณ์ลุ่มน้ำเจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้น วานนี้ (15 ก.ย. 65) มีปริมาณน้ำไหลผ่านที่ อ.เมือง จ.นครสวรรค์ (สถานี C.2) 1,988 ลบ.ม./วินาที ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง 2.80 เมตร ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น และมีการระบายน้ำผ่านท้ายเขื่อนเจ้าพระยา 1,898 ลบ.ม./วินาที ระดับน้ำเหนือเขื่อน 16.76 เมตร เทียบกับระดับน้ำทะเลปานกลาง (ม.รทก.) ส่งผลทำให้มีปริมาณน้ำไหลผ่านท้ายเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้น ในอัตราประมาณ 1,950 ลบ.ม./วินาที ส่งผลให้ระดับน้ำด้านท้ายเขื่อนเพิ่มสูงขึ้นจากเดิมประมาณ 0.10 เมตร
ทั้งนี้ กอนช. ขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด พร้อมเน้นย้ำหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องกับสานการณ์
+ ศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ติดตามผลการเตรียมความพร้อมของอ่างเก็บน้ำขนาดกลางที่มีความเสี่ยงน้ำล้นอ่างเก็บน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำชี ลุ่มน้ำมูล เพื่อเตรียมการป้องกันการเกิดอุทกภัยท้ายน้ำกรณีน้ำล้นอ่างเก็บน้ำ
โดยที่ประชุมมีมติให้กรมชลประทานติดตามสถานการณ์ฝนที่คาดว่าจะตกเพิ่มขึ้นในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พร้อมปรับแผนการระบายน้ำให้สอดคล้องกับสถานการณ์และกระทบต่อชุมชนท้ายอ่างเก็บน้ำน้อยที่สุด รวมถึงให้วางแผนการระบายน้ำ และแผนรับมือหากเกิดสถานการณ์กรณีปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเกินความจุ โดยประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนให้ประชาชนในพื้นที่ท้ายอ่างเก็บน้ำทราบล่วงหน้า