สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 14 ก.ย.65 65 เวลา 7.00 น.

+ ประเทศไทยยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้

+ ปริมาณฝน 24 ชั่วโมง สูงสุดที่ จ.สุราษฎร์ธานี (121) จ.ระยอง (89) และกรุงเทพมหานคร (86)

+ ปริมาณน้ำ แหล่งน้ำทุกขนาด 54,090 ล้าน ลบ.ม. (65%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 47,202 ล้าน ลบ.ม. (66%) เฝ้าระวังน้ำต่ำกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 1 แห่ง บริเวณภาคเหนือ เฝ้าระวังน้ำสูงกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 12 แห่ง ได้แก่ แม่งัด แม่มอก กิ่วลม กิ่วคอหมา แควน้อยบำรุงแดน อุบลรัตน์ น้ำพุง ขุนด่านฯ บางพระ หนองปลาไหล นฤบดิทราจินดา และบึงบระเพ็ด

• เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก น้ำท่วมขัง ดังนี้

ภาคเหนือ จ.ชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน น่าน อุตรดิตถ์ ลำพูน ลำปาง พิษณุโลก เพชรบูรณ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ชัยภูมิ และภาคตะวันออก จ.ชลบุรี จันทบุรีและตราด

• เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันและระดับน้ำล้นตลิ่ง ระหว่างวันที่ 16-17 ก.ย. 65

บริเวณชุมชนพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำ คลองโผงเผง จ.อ่างทองคลองบางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา ต.หัวเวียง อ.เสนา ต.ลาดชิด ต.ท่าดินแดง อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา จ.ปทุมธานี จ.นนทบุรี กรุงเทพมหานคร และ จ.สมุทรปราการ

• เฝ้าระวังแหล่งน้ำและอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ที่มีปริมาตรน้ำสูงกว่าเกณฑ์ปฏิบัติการเก็บกักน้ำสูงสุด (Upper Rule Curve) 12 แห่ง

ได้แก่ อ่างเก็บน้ำแม่งัดสมบูรณ์ชล กิ่วคอหมา กิ่วลม แม่มอกบึงบอระเพ็ด ทับเสลา อุบลรัตน์ ลำตะคอง ลำพระเพลิง มูลบน บางพระ และหนองปลาไหล รวมทั้งอ่างฯ ขนาดเล็กและขนาดกลางที่มีปริมาตรน้ำมากกว่าร้อยละ 80 และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เสี่ยงน้ำล้นกระทบพื้นที่ด้านท้ายน้ำทั่วประเทศ

+ กอนช. ติดตามการดำเนินงานในการบริหารจัดการน้ำ เพื่อเร่งแก้ไขสถานการณ์น้ำในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ ดังนี้

• กอนช. โดยนายบุญสม ชลพิทักษ์วงศ์ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการน้ำแห่งชาติ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ร่วมกับผู้แทนสำนักงานชลประทานที่ 7 ขึ้นเฮลิคอปเตอร์กรมฝนหลวงและการบินเกษตร สำรวจ ติดตามสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำและพื้นที่ลุ่มต่ำในพื้นที่ลุ่มน้ำชี-มูล โดยพบว่าพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำบริเวณ จ.ร้อยเอ็ด และมหาสารคาม ยังมีพื้นที่น้ำท่วม 2 ฝั่งลำน้ำชี ซึ่งกรมชลประทานจะเร่งรัดดำเนินการสูบน้ำออกจากพื้นที่น้ำท่วมขังเพื่อให้ไม่กระทบกับพื้นเกษตรต่อไป พร้อมกันนี้ ได้พิจารณาแนวทางการเร่งรัดการบริหารจัดการน้ำในแหล่งน้ำต่าง ๆ รวมถึงประตูระบายน้ำ ทั้งการเร่งระบายน้ำและแผนการเก็บกักน้ำในพื้นที่แก้มลิงที่มีศักยภาพ

• กรมชลประทาน ลงพื้นที่บริเวณสถานีสูบน้ำประเวศบุรีรมย์ เขตลาดกระบัง กทม. ในพื้นที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาชลหารพิจิตร เพื่อติดตามการบริหารจัดการน้ำ หลังมีฝนตกติดต่อกันหลายวัน ส่งผลให้มีน้ำท่วมขังพื้นที่ลุ่มต่ำหลายแห่งกรมชลประทาน ได้เร่งระบายน้ำในคลองประเวศบุรีรมย์ผ่านประตูระบายน้ำและสถานีสูบน้ำท่าถั่ว อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา ลงสู่แม่น้ำบางปะกง ก่อนระบายออกสู่อ่าวไทยอย่างต่อเนื่อง ด้านคลองพระองค์ไชยานุชิต มีแผนติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำเพื่อเพิ่มศักยภาพการระบายน้ำให้ระบายออกสู่ทะเลอ่าวไทยให้เร็วที่สุด ลดผลกระทบชุมชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ลุ่มต่ำตลอดแนวสองฝั่งคลองประเวศบุรีรมย์