กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 22 สิงหาคม 2565 ดังนี้

1. ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ

ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 31/2565 ลงวันที่ 21 สิงหาคม 2565 กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ แจ้งเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก และน้ำท่วมฉับพลัน ในช่วงวันที่ 22 – 25 สิงหาคม 2565 โดยมีพื้นที่บริเวณแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขาไหลหลากเข้าท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำเกษตรกรรม พื้นที่ลุ่มต่ำริมลำน้ำ และพื้นที่ชุมชน ดังนี้

1.ลุ่มน้ำป่าสัก เฝ้าระวังระดับน้ำล้นตลิ่งแม่น้ำป่าสัก บริเวณจังหวัดเพชรบูรณ์ คาดการณ์ระดับน้ำจะสูงกว่าตลิ่งบริเวณที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำป่าสักประมาณ 0.60 เมตร

2. ลุ่มน้ำชี เฝ้าระวังระดับน้ำล้นตลิ่ง บริเวณจังหวัดอุบลราชธานี และชัยภูมิ

3. ลุ่มน้ำมูล เฝ้าระวังระดับน้ำล้นตลิ่ง แม่น้ำมูล จังหวัดอุบลราชธานี

2. สถานการณ์อุทกภัย

จากหย่อมความกดอากาศต่ำปกคุลมประเทศเมียนมาและประเทศลาวตอนบนประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง และการระบายน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา อาจส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากน้ำท่วมขัง น้ำล้นตลิ่ง ในระหว่างวันที่ 15 – 21 สิงหาคม 2565 เกิดสถานการณ์ในพื้นที่ 19 จ. ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์ 9 จังหวัด (อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ขอนแก่น ชัยภูมิ และอุบลราชธานี) ดังนี้

จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและอ่างทอง มีพื้นที่น้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตรลุ่มต่ำรวม 7 อำเภอ ได้แก่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (อำเภอบางบาล บางปะหัน เสนา ผักไห่ และท่าเรือ) และ จังหวัดอ่างทอง (อำเภอป่าโมกและวิเศษชัยชาญ) ปัจจุบันกรมชลประทานได้ระบายน้ำจากเขื่อนเจ้าพระยา 1,500 ลบ.ม/วินาที

จังหวัดสุพรรณบุรี มีพื้นที่น้ำท่วม 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภออู่ทอง อำเภอเมือง อำเภอสองพี่น้อง และอำเภอบางปลาม้า คาดการณ์ว่าระดับน้ำในคลองโผงเผงและแม่น้ำน้อยจะลดลงตามปริมาณการระบายน้ำที่เขื่อนเจ้าพระยา

จังหวัดปราจีนบุรี มีพื้นที่น้ำน้ำท่วม 1 อำเภอ ได้แก่ อำเภอกบินทร์บุรี ปัจจุบันคลองพระปรงและแม่น้ำปราจีนบุรียังคงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น

จังหวัดสระแก้ว มีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณจังหวัดสระแก้ว ส่งผลให้เกิดน้ำล้นตลิ่ง ปัจจุบันระดับยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

จังหวัดฉะเชิงเทรา มีพื้นที่น้ำน้ำท่วม 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอพนมสารคาม และวัง ปัจจุบันระดับน้ำในคลองระบายน้ำยังทรงตัว หากไม่มีปริมาณฝนตกหนักเพิ่มเติม คาดว่าระดับน้ำจะเริ่มลดระดับลง

จังหวัดขอนแก่น มีพื้นที่น้ำท่วม 1 อำเภอ ได้แก่ อำเภอมัญจาคีรี คาดว่า ภายใน 3-5 วัน หากไม่มีฝนตกลงมาเพิ่มสถานการณ์จะเข้าสู่ปกติ

จังหวัดชัยภูมิ มีพื้นที่น้ำน้ำท่วม 1 อำเภอ ได้แก่ อำเภอมัญจาคีรี พื้นที่น้ำท่วมประมาณ 600 ไร่ ระดับน้ำในพื้นที่น้ำท่วมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น คาดว่าสถานการณ์ จะกลับเข้าสู่สภาวะปกติภายใน 1-2 วัน

จังหวัดอุบลราชธานี มีพื้นที่น้ำน้ำท่วม 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอวารินชำราบ อำเภอนาจะหลวย อำเภอเดชอุดม อำเภอนาเยีย อำเภอน้ำยืน และอำเภอเมือง คาดว่าสถานการณ์ จะกลับเข้าสู่สภาวะปกติภายใน 3-4 วัน