อพวช. จัดงานมอบรางวัลโครงการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ประจำปี 2565 ครั้งที่ 7

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยมหิดล สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และบริษัท จีดีเอช ห้าห้าเก้า จำกัด จัดงานมอบรางวัลโครงการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ประจำปี 2565 ครั้งที่ 7 เพื่อสร้างโอกาสให้เยาวชนและประชาชนได้แสดงความสามารถด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์ผ่านงานเขียนเรื่องสั้น และแสดงพลังในการสื่อสารวิทยาศาสตร์ผ่านนิยายวิทยาศาสตร์ ที่จะเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดและเผยแพร่เรื่องราวความรู้จินตนาการแห่งความเป็นวิทยาศาสตร์อันจะเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสังคมฐานความรู้ให้กับประเทศไทย ทั้งนี้ ผลงาน16 เรื่องสั้นที่ได้รับรางวัล จะถูกจัดพิมพ์เป็นหนังสือรวมเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ เรื่อง “ปริศนาสุดท้ายของคำทำนาย” สู่สาธารณชนต่อไป

ศ.ดร.ม.ร.ว.ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์ ประธานโครงการฯ กล่าวว่า “โครงการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ เกิดจากความร่วมมือกันระหว่าง 5 หน่วยงาน โดย องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยมหิดล สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และบริษัท จีดีเอช ห้าห้าเก้า จำกัด เพื่อสร้างโอกาสให้เยาวชนและประชาชนได้แสดงความสามารถด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์ผ่านงานเขียนเรื่องสั้น และได้เห็นถึงศักยภาพในการสื่อสารวิทยาศาสตร์ผ่านนิยายวิทยาศาสตร์ ที่จะเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดและเผยแพร่เรื่องราวความรู้จินตนาการแห่งความเป็นวิทยาศาสตร์อันจะเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสังคมฐานความรู้ให้กับประเทศไทย

ซึ่ง โครงการฯ นี้ ได้รับความสนใจจากเหล่านักเขียนและผู้สนใจเข้าร่วมในโครงการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี แสดงให้เห็นว่าสังคมไทยเริ่มเข้าถึงเรื่องราววิทยาศาสตร์มากขึ้น ที่จะทำให้วิทยาศาสตร์อยู่ใกล้กับสาธารณชนมากขึ้น ซึ่งเท่ากับเป็นการสร้างทุนทางวิทยาศาสตร์ให้กับสังคมไทยมากขึ้นตามไปด้วย”

ดร.กรรณิการ์ เฉิน รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กล่าวว่า “อพวช. เล็งเห็นความสำคัญด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์มาอย่างต่อเนื่อง จึงได้จัดทำโครงการการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ขึ้น เพื่อเป็นเวทีให้ทั้งเยาวชนและประชาชนได้ฝึกฝนพัฒนาทักษะด้านงานเขียนวิทยาศาสตร์ เพื่อถ่ายทอดและสื่อสารวิทยาศาสตร์ที่จะช่วยสร้างทัศนคติและเจตคติด้านวิทยาศาสตร์ให้กับผู้คนในสังคม ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาสังคมให้เป็นสังคมวิทยาศาสตร์หรือสังคมฐานความรู้และสร้างความมั่นคงให้เกิดขึ้น

ซึ่งปีนี้มีผู้สมัครและส่งผลงานเข้าร่วมโครงการฯ ทั้งหมดถึง 196 ผลงาน และมีผลงานเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ที่มีความหลากหลายและสนุกสนาน โดยสามารถชนะใจกรรมการถึง 16 เรื่อง และจะถูกจัดพิมพ์เป็นหนังสือรวมเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ เรื่อง “ปริศนาสุดท้ายของคำทำนาย” โดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์ ทาง อพวช. ขอแสดงความยินดีกับทุกท่านที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้ ซึ่งหวังว่าการสื่อสารองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ที่มีความซับซ้อนในเชิงเนื้อหาและมีความหลากหลายผ่านงานเขียนเรื่องสั้นจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการรณรงค์ปลูกฝังและสร้างแรงบันดาลใจให้กับเยาวชน และประชาชนให้หันมาสนใจเรื่องราววิทยาศาสตร์ และสร้างผลงานด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์ในรูปแบบงานเขียนมากขึ้น พร้อมให้โอกาสกับนักเขียนเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์หน้าใหม่ให้เกิดขึ้นในสังคมไทย ที่จะเป็นบันไดสำคัญขั้นหนึ่งในการร่วมสร้างสังคมวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาชาติอย่างยั่งยืนต่อไป”

สำหรับผลรางวัลโครงการฯ มีดังต่อไปนี้

-รางวัลเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ รุ่นเยาวชน

รางวัลชนะเลิศ ได้รับทุนส่งเสริมการสร้างสรรค์ผลงาน 20,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศและเกียรติบัตร ได้แก่ ผลงานเรื่อง โอบกอดคุณไว้ในทรงจำอันอวลหอม โดย โอบจันทร์ (นามปากกา)

รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ได้รับทุนส่งเสริมการสร้างสรรค์ผลงาน 15,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศและเกียรติบัตร ได้แก่

-ผลงานเรื่อง ภรรยา โดย นางสาวอินท์นรี มิ่งขวัญ

– ผลงานเรื่อง เมมโมรี่ โดย นางสาวปัณณธร มุลตองคะ

รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้รับทุนส่งเสริมการสร้างสรรค์ผลงาน 10,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศและเกียรติบัตร ได้แก่

-ผลงานเรื่อง HUMAN LAB โดย ดิตถ์จรัส (นามปากกา)

รางวัลชมเชย ได้รับทุนส่งเสริมการสร้างสรรค์ผลงาน 3,000 บาท และเกียรติบัตร

-ผลงานเรื่อง ไม่จำเป็น โดย นางสาวฐิติอาภา ขำคม

-ผลงานเรื่อง พรมแดนสุดท้าย โดย นายเดชดนัย จันทร์เรือง

– รางวัลเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ รุ่นประชาชนทั่วไป

รางวัลชนะเลิศ ได้รับทุนส่งเสริมการสร้างสรรค์ผลงาน 30,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศและเกียรติบัตร ได้แก่

-ผลงานเรื่อง นักเขียนปริศนา กับปลาบินล่องหน โดย นายยศวุฒิ เอียดสังข์

รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ได้รับทุนส่งเสริมการสร้างสรรค์ผลงาน 25,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศและเกียรติบัตร ได้แก่

-ผลงานเรื่อง ดัชนีควรตาย โดย นายไพรัตน์ ยิ้มวิลัย

รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้รับทุนส่งเสริมการสร้างสรรค์ผลงาน 20,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศและเกียรติบัตร ได้แก่

-ผลงานเรื่อง  วิทยาศาสตร์ของคำทำนาย โดย นายรณวัฒน์ จันทร์จารุวงศ์

รางวัลชมเชย ได้รับทุนส่งเสริมการสร้างสรรค์ผลงาน 3,000 บาท และเกียรติบัตร

-ผลงานเรื่อง National Selection : ทฤษฎีไม่มีจริง โดย รตี รติธรณ (นามปากกา)

-ผลงานเรื่อง สองผู้ยิ่งใหญ่ โดย กนกศักดิ์ เรือนทอง

– รางวัลเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์สำหรับเด็กวัยรุ่น อายุ 12-18 ปี

รางวัลชนะเลิศ ได้รับทุนส่งเสริมการสร้างสรรค์ผลงาน 30,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศและเกียรติบัตร ได้แก่ ผลงานเรื่อง ใครบางคนถูกทิ้งไว้เบื้องหลัง โดย รตี รติธรณ (นามปากกา)

รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ได้รับทุนส่งเสริมการสร้างสรรค์ผลงาน 25,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศและเกียรติบัตร ได้แก่

-ผลงานเรื่อง ทาสทิพย์ โดย  กัณฑกร (นามปากกา)

รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้รับทุนส่งเสริมการสร้างสรรค์ผลงาน 20,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศและเกียรติบัตร ได้แก่

-ผลงานเรื่อง ครอบครัวสมบูรณ์แบบหอมเหมือนดอกการ์ดิเนีย โดย นายศิริวัฒน์ มะลิแย้ม

รางวัลชมเชย ได้รับทุนส่งเสริมการสร้างสรรค์ผลงาน 3,000 บาท และเกียรติบัตร

-ผลงานเรื่อง ชินโกสึกิ ช่องว่างของ 25 ปี โดย นายศรัณย์ พ.จานุพิบูล

-ผลงานเรื่อง Noah plus โดย อินทร อรพัน (นามปากกา)

ทั้งนี้ ผลงาน16 เรื่องสั้น จะถูกจัดพิมพ์เป็นหนังสือรวมเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ เรื่อง “ปริศนาสุดท้ายของคำทำนาย” สู่สาธารณชนต่อไป