กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 12 สิงหาคม 2565 ดังนี้

1. ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ

1.1 ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 26/2565 ลงวันที่ 10 สิงหาคม 2565 กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ แจ้งเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก และน้ำท่วมฉับพลัน ในช่วงวันที่ 11 – 17 สิงหาคม 2565 เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลากน้ำท่วมขัง บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันและระดับน้ำล้นตลิ่ง บริเวณแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขา ของแม่น้ำกก แม่น้ำวัง แม่น้ำยม แม่น้ำน่าน แม่น้ำแควน้อยแม่น้ำป่าสัก แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำเลย แม่น้ำชี แม่น้ำมูล แม่น้ำบางปะกง และแม่น้ำตราด

และเฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาตรน้ำสูงกว่าเกณฑ์ปฏิบัติการอ่างเก็บน้ำกักเก็บสูงสุด (Upper Rule Curve) 9 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำแม่งัดสมบูรณ์ชล กิ่วลม กิ่วคอหมา บึงบอระเพ็ด น้ำพุง อุบลรัตน์ บางพระ หนองปลาไหล และป่าสักชลสิทธิ์ รวมทั้งอ่างเก็บน้ำขนาดกลางที่มีปริมาตรน้ำมากกว่าร้อยละ 80 และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เสี่ยงน้ำล้นกระทบพื้นที่บริเวณท้ายอ่างเก็บน้ำทั่วประเทศ

1.2 ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 27/2565 ลงวันที่ 11 สิงหาคม 2565

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติแจ้งเฝ้าระวังผลกระทบจากระดับน้ำเปลี่ยนแปลงในแม่น้ำโขง กองอำนวยการน้ำแห่งชาติได้ติดตามสถานการณ์น้ำแม่น้ำโขง พบว่าระดับน้ำในแม่น้ำโขงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในช่วงวันที่ 13 – 18 สิงหาคม 2565 บริเวณสถานีเชียงแสน จังหวัดเชียงราย สถานีเชียงคาน จังหวัดเลย สถานีหนองคาย จังหวัดหนองคาย สถานีนครพนม จังหวัดนครพนม และตั้งแต่สถานีมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร จนถึง สถานีโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ขอให้ผู้ที่อาศัยในพื้นที่บริเวณดังกล่าว ติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด และเตรียมการเฝ้าระวังผลกระทบที่ีอาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำในแม่น้ำโขง

2. สถานการณ์อุทกภัย

จังหวัดสุโขทัย เกิดน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ ทำให้มีพื้นที่น้ำท่วม 1 อำเภอ ได้แก่ ต.น้ำพุ อ.คีรีมาศ ปัจจุบันระดับน้ำในพื้นที่ลดลง และเข้าสู่สถานการณ์ปกติภายใน 1-2 วัน

จังหวัดพิจิตร เกิดฝนตกหนักในพื้นที่ ทำให้มีพื้นที่น้ำท่วม 3 อำเภอ ได้แก่ อ.ดงเจริญ อ.สากเหล็กและอ.วังพรายพูน ปัจจุบันระดับน้ำในพื้นที่ลดลง และเข้าสู่สถานการณ์ปกติภายใน 1-2 วัน

จังหวัดพิษณุโลก มีพื้นที่น้ำท่วม 2 อำเภอ ได้แก่ อ.เนินมะปราง และ อ. นครไทย ปัจจุบันระดับน้ำในพื้นที่ลดลง และเข้าสู่สถานการณ์ปกติภายใน 1-2 วัน

จังหวัดเพชรบูรณ์ มีพื้นที่นํ้าท่วม 1 อำเภอ ได้แก่ อ.หล่มสัก โดยที่สถานี S.3 แม่น้ำป่าสักมีระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง 0.04 ม.รทก. และมีแนวโน้มลดลง

จังหวัดสุพรรณบุรี มีพื้นที่น้ำท่วม 3 อำเภอ ได้แก่ อ.อู่ทอง อ.เมือง และอ.บางปลาม้า ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมขังการเกษตรลุ่มต่ำ คาดการณ์ว่าไม่เกิน 7 – 14 วัน หากไม่มีฝนตกจะกลับสู่ภาวะปกติ

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีพื้นที่น้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตรลุ่มต่ำ 5 อำเภอ ได้แก่ อ.บางบาล อ.เสนา อ.บางปะหัน อ.ผักไห่ และจังหวัดอ่างทอง ได้แก่ อ.ป่าโมก ปัจจุบันปริมาณฝนในพื้นที่ลดลง การระบายน้ำจากท้ายเขื่อนเจ้าพระยามีแนวโน้มทรงตัว โดยปัจจุบันเขื่อนเจ้าพระยามีการระบายน้ำอยู่ที่ 886 ลบ.ม/วินาที

จังหวัดเลย มีพื้นที่นํ้าท่วม 1 อำเภอ ได้แก่ อ.ด้านซ้าย โดยมีระดับน้ำในลำน้ำหมันต่ำกว่าท้องสะพาน 15 ซม. ระดับน้ำในลำน้ำหมันมีแนวโน้มลดลงชั่วโมงละ 2 ซม. แต่น้ำยังคงท่วมในพื้นที่ลุ่มต่ำ10 – 20 ซม. คาดว่า 1- 2 วัน หากไม่มีฝนตกจะกลับสู่ภาวะปกติ