ความก้าวหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายใต้ กับ สะพานรถไฟแบบขึง แห่งแรกในไทย

เพราะทุกก้าวของการเดินทางมีความหมาย เราจึงเร่งเดินหน้าพัฒนาโครงข่ายรถไฟทางไกลเพื่อรองรับการปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งจากถนนสู่การขนส่งระบบราง จากทางเดี่ยว สู่ทางคู่ ภาระกิจสำคัญของการรถไฟแห่งประเทศไทย โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ระยะเร่งด่วน 7 เส้นทางประกอบด้วย

ช่วงลพบุรี – ปากน้ำโพ

ช่วงชุมทางฉะเชิงเทรา – ชุมทางคลองสิบเก้า – ชุมทางแก่งคอย

ช่วงมาบกะเบา – ชุมทางถนนจิระ

ช่วงชุมทางถนนจิระ – ขอนแก่น

ช่วงนครปฐม – หัวหิน

ช่วงหัวหิน – ประจวบคีรีขันธ์

ช่วงประจวบคีรีขันธ์ – ชุมพร

ปัจจุบันได้ก่อสร้างแล้วเสร็จ จำนวน 2 เส้นทาง ได้แก่ ช่วงชุมทางฉะเชิงเทรา – ชุมทางคลองสิบเก้า – ชุมทางแก่งคอย และช่ วงชุมทางถนนจิระ – ขอนแก่น และยังคงเหลืออีก 5 เส้นทางที่อยู่ในระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง โดยโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ระยะเร่งด่วนในเส้นทางสายใต้ จำนวน 3 เส้นทาง

ในช่วงที่ 1 ช่วงนครปฐม – หัวหิน ระยะทาง 169 กิโลเมตร แบ่งเป็น 2 สัญญา

สัญญาที่ 1 ช่วงนครปฐม – หนองปลาไหล ระยะทาง 93 กิโลเมตร

สัญญาที่ 2 ช่วงหนองปลาไหล – หัวหิน ระยะทาง 76 กิโลเมตร

อีกงานก่อสร้างที่เป็นหนึ่งในการพัฒนาทางคู่ใน สัญญาที่ 1 ช่วงนครปฐม – หนองปลาไหล มีงานก่อสร้างโครงสร้างขนาดใหญ่พิเศษ คือ การก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำแม่กลอง ในพื้นที่ อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี สะพานข้ามแม่น้ำแม่กลอง นั้นเดิมเป็นสะพานเหล็กที่มีเสาตอม่อ 2 ต้นอยู่ในแม่น้ำแม่กลอง ต่อมาเมื่อมีการก่อสร้างทางคู่ในช่วงนครปฐม หัวหิน

การสำรวจพื้นที่ร่วมกับจังหวัดราชบุรี และกรมสรรพาวุธ กองทัพเรือ พบว่ามีระเบิดในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 จมอยู่ในแม่น้ำแม่กลอง จำนวน 7 ลูก สมัยกองทัพญี่ปุ่น ได้ยกพลขึ้นบก เพื่อใช้ประเทศไทยเป็นทางผ่านเข้ายึดพม่า ในขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ทิ้งระเบิด เพื่อตัดเส้นทางกองทัพญี่ปุ่น โดยหนึ่งในจุดหมายคือสะพานรถไฟจุฬาลงกรณ์ เมื่อสะพานเสียหายกองทัพญี่ปุ่นจึงสร้างทางรถไฟใหม่ขึ้นมาใหม่ โดยใช้ไม้ซุงมาทำตอม่อชั่วคราว ส่วนพื้นและราวสะพานใช้ไม้สัก

หลังการก่อสร้างเสร็จเรียบร้อย ญี่ปุ่นจึงนำหัวรถจักรของรถไฟไทย มาทดสอบวิ่ง ผลปรากฏว่าตอม่อชั่วคราวนั้น ไม่สามารถทานน้ำหนักได้ สะพานจึงหักลงส่งผลให้หัวรถจักรจมลงสู่แม่น้ำแม่กลองในบริเวณใต้สะพานจุฬาลงกรณ์ ตั้งแต่นั้นจนถึงปัจจุบัน

เหตุนี้การรถไฟแห่งประเทศไทยตระหนักถึงผลกระทบต่างๆที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่ โดยเฉพาะประชาชนในพื้นที่ จากรูปแบบงานก่อสร้างสะพานที่มีเสาตอม่อ จึงได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบงานก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำแม่กลอง เพื่อไม่ให้มีตอม่อในแม่น้ำ เป็นแบบสะพานคานขึง (Extradosed Bridge) ก่อสร้างคู่ขนานกับสะพานจุฬาลงกรณ์ และสะพานธนะรัชต์ มีความยาวทั้งสิ้น 340 เมตร แบ่งเป็น 3 ช่วงสะพาน โดยช่วงสะพานที่ข้ามแม่น้ำแม่กลอง ช่วงที่มีความยาวมากที่สุดคือ 160 เมตร และมีความสูง 16 เมตร เป็นแบบผสมคานคอนกรีตสมดุล (Balance Cantilever )

รูปแบบสะพานมีการใช้สายเคเบิลร้อยเข้ากับเสาหลักโดยตรง ด้วยเทคนิคทางวิศวกรรม เพื่อขึงช่วยรับน้ำหนัก (Tension cable) ทำให้ลดจำนวนตอม่อที่รองรับน้ำหนักลงได้ ถือได้ว่าเป็นสะพานรถไฟที่ใช้คานขึงแห่งแรกของประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันงานก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำแม่กลองเกือบเสร็จสมบูรณ์แล้ว และได้จัดพิธีเทคอนกรีตเชื่อมต่อสะพานช่วงสุดท้ายบรรจบสะพานข้ามแม่น้ำแม่กลอง โดยคาดว่าสะพานขึงแห่งนี้จะก่อสร้างแล้วเสร็จ ปลายปี 2565 และสามารถเปิดใช้การเดินรถได้ ปลายปี 2566

สะพานแห่งนี้จะถือเป็นแลนด์มาร์คใหม่ที่สำคัญ ของจังหวัดราชบุรีสามารถส่งเสริมให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญและการจัดกิจกรรมอื่นๆของจังหวัด โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ภารกิจสำคัญเพื่อยกระดับการเดินทาง เพิ่มศักยภาพการให้บริการขนส่งระบบราง ลดต้นทุนการขนส่งระบบโลจิสต์ติก เพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าทางรถไฟ ลดระยะเวลาในการเดินทาง พัฒนาคุณภาพชีวิต ประหยัดพลังงานเชื้อเพลิง ลดปัญหามลพิษต่อสิ่งแวดล้อม เชื่อมโยงเครือข่ายการบริหารจัดการระบบขนส่งมวลชน สินค้าและบริการ ทั้งในพื้นที่ชนบท เมือง และประเทศเพื่อนบ้านอย่างมีประสิทธิภาพ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง อย่างยั่งยืน

 

Youtube การรถไฟแห่งประเทศไทย OFFICIAL (red arrow right)https://youtu.be/fqPA7jpYSrc

Facebook ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย (red arrow right)https://facebook.com/430098112481519

Facebook Bang Sue Grand Station สถานีกลางบางซื่อ(red arrow right)https://facebook.com/598531461706911

INSTAGRAM SRT OFFICIAL (red arrow right)https://www.instagram.com/reel/Cg_wgyvp5pi/?igshid=YmMyMTA2M2Y=

Twitter SRT OFFICIAL @PR_SRT (red arrow right)https://twitter.com/pr_srt/status/1556597496205680640?s=21&t=PFSK8FXyCrJhhRfio9Auzw

TIKTOK @PR_SRT (red arrow right)https://vt.tiktok.com/ZSRMxFF8G/?k=1