1. ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ
1.1 ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 23/2565 ลงวันที่ 28 กรกฎาคม 2565 กองอำนวยการน้ำแห่งชาติแจ้งเฝ้าระวังผลกระทบ จากระดับน้ำเปลี่ยนแปลงในแม่น้ำโขง พบว่าระดับน้ำที่สถานีจิ่งหง สาธารณรัฐประชาชนจีนในช่วงวันที่ 27 – 28 กรกฎาคม 2565 เพิ่มขึ้น
1.25 เมตร ประกอบกับคาดการณ์จะมีฝนตกเพิ่มบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำ โขงตอนล่าง ซึ่งส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำโขงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในช่วงวันที่ 31 กรกฎาคม – 8 สิงหาคม2565 ทั้งนี้ โดยกองอำนวยการน้ำ แห่งชาติ ได้ติดตามสถานการณ์น้ำในแม่น้ำโขง พบจังหวัดที่ได้รับผลกระทบ ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี
1.2 ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 24/2565 ลงวันที่ 1 สิงหาคม 2565 กองอำนวยการน้ำแห่งชาติแจ้งเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก และน้ำท่วมฉับพลัน ในช่วงวันที่ 2 – 10 สิงหาคม 2565 เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยง น้ำหลาก น้ำท่วมขัง บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้น อย่างฉับพลัน บริเวณแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขา ของแม่น้ำกก วัง ยม น่าน แควน้อย ป่าสัก เจ้าพระยา เลย ชี มูล บางประกง และตราด
และเฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาตรน้ำสูงกว่าเกณฑ์ปฏิบัติการอ่างเก็บน้ำกักเก็บสูงสุด (Upper Rule Curve) 6 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำแม่งัดสมบูรณ์ชล กิ่วลม กิ่วคอหมา น้ำพุง อุบลรัตน์ และป่าสักชลสิทธิ์ รวมทั้งอ่างเก็บน้ำขนาดกลางที่มีปริมาตรน้ำมากกว่าร้อยละ 80 และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เสี่ยงน้ำล้นกระทบพื้นที่บริเวณท้ายอ่างเก็บน้ำทั่วประเทศ
2. ผลการดำเนินงานตามมาตรการรองรับ ฤดูฝน ปี 2565
กรุงเทพมหานคร จัดเจ้าหน้าที่เข้าดำเนินการเร่งลดระดับน้ำในคลอง เพื่อเตรียมพร้อมรับมือฝนที่ตกลงมาในพื้นที่ 50 สำนักงานเขต พร้อมทั้งทำการเดินเครื่องสูบน้ำตามสถานีต่างๆ เพื่อเป็นการพร่องน้ำ ลดระดับน้ำในคูคลองเพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วมขังในพื้นที่กรุงเทพมหานครต่อไป
3. สภาพอากาศ
การคาดการณ์สภาพอากาศในช่วงวันที่ 8 – 9 ส.ค. 65 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณประเทศประเทศ เวียดนามตอนบนประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้
4. การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้จัดการประชุมภาคีการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย ณ รอยัล พารากอน ฮอลล์ ศูนย์การค้าสยามพารากอน
โดย พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ ประธานกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ ได้เน้นย้ำเรื่องปัญหาสภาพภูมิอากาศไม่ได้เป็นเพียงปัญหาของใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นปัญหาของคนทั้งโลก ที่ต้องเตรียมรับมืออย่างเร่งด่วน ซึ่งการรับมือกับปัญหาดังกล่าวต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยการประชุม TCAC ในวันนี้เป็นอีกหนึ่งกลไกสำคัญ ที่จะเชื่อมโยง นโยบายระหว่างประเทศไปสู่ระดับพื้นที่ได้อย่างเป็นรูปธรรม ทำให้ทุกภาคส่วนมีความเข้าใจมากยิ่งขึ้น