+ ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง และมีฝนตกหนักบางพื้นที่บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก
+ ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา จ.บึงกาฬ (120 มม.) จ.อุตรดิตถ์ (115 มม.) และ จ.นราธิวาส (95 มม.)
+ แม่น้ำสายหลัก น้ำน้อยถึงปกติ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นส่วนแม่น้ำโขง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
+ ปริมาณน้ำ แหล่งน้ำทุกขนาด 46,149 ล้าน ลบ.ม. (56%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 40,142 ล้าน ลบ.ม. (56%) เฝ้าระวังน้ำน้อย บริเวณภาคเหนือ (3 แห่ง)
กอนช.ติดตามสถานการณ์น้ำและการเตรียมความพร้อมรับมือในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา และน้ำทะเลหนุนสูงในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
• กรมชลประทาน รายงานสถานการณ์น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อวันที่ 30 ก.ค. 65 เวลา 06.00 น. ที่สถานี C.2 อ.เมืองนครสวรรค์ จ.นครสวรรค์ มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 993 ลบ.ม./วินาที ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง 6.08 ม. แนวโน้มลดลง และได้ควบคุมปริมาณน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยา ที่สถานี C.13 อ.สรรพยา จ.ชัยนาท ในอัตรา 850 ลบ.ม./วินาที โดยได้ทยอยปรับลดการระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยาเหลือประมาณ 850 ลบ.ม./วินาที ตั้งแต่วันที่ 29 ก.ค. 65 ซึ่งจะส่งผลให้ระดับน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยาลดลงในระยะต่อไป ทั้งนี้กรมชลประทานจะบริหารจัดการน้ำโดยควบคุมปริมาณการระบายน้ำผ่านท้ายเขื่อนเจ้าพระยา ให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม สอดคล้องกับสถานการณ์ฝนที่ตกลงมา และให้ประชาชนติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำจากหน่วยงานราชการอย่างใกล้ชิด
• กรุงเทพมหานคร เตรียมระบบระบายน้ำ 2 ส่วน ประกอบด้วยระบบคลองและระบบอุโมงค์ระบายน้ำ เป็นทางด่วนน้ำที่อยู่ในระดับ-30 ม. พร้อมอาคารรับน้ำ ทั้งฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตก สามารถรับน้ำได้ประมาณ 200 ลบ.ม./วินาที กรุงเทพมหานครระบายน้ำทั้งสองฝั่งเกือบ 2,000 ลบ.ม./วินาที โดยต้องดึงน้ำผ่านคลองย่อยไปยังคลองหลักจนถึงประตูระบายน้ำ ซึ่งกั้นที่แม่น้ำเจ้าพระยาแล้วต้องสูบระบายออก และได้เพิ่มประสิทธิภาพของปั๊มรวมทั้งขอความร่วมมือประชาชนไม่ทิ้งขยะลงในแม่น้ำลำคลอง ซึ่งกรุงเทพมหานครจะดำเนินการปรับปรุงประสิทธิภาพคลอง ปรับปรุงประตูน้ำ ปรับปรุงระบบปั๊ม ปรับปรุงการลอกคลอง การเก็บขยะ และสร้างอุโมงค์ เพื่อให้ระบบระบายน้ำสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ