พช.ศรีสะเกษ ชู สพอ.ภูสิงห์ โชว์กึ๋น! ในเวทีการประกวดระดับเขตตรวจราชการฯ เป็นหน่วยงานต้นแบบการจัดการองค์ความรู้ดีเด่น

พช.ศรีสะเกษ ชู สพอ.ภูสิงห์ โชว์กึ๋น! ในเวทีการประกวดระดับเขตตรวจราชการฯ เป็นหน่วยงานต้นแบบการจัดการองค์ความรู้ดีเด่นประเภทสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอแห่งการเรียนรู้

วันที่ 21 กรกฎาคม 2565 เวลา 09.00 น.

นายสรสาสน์ สีเพ็ง ผู้ตรวจราชการกรมการพัฒนาชุมชน เป็นประธานในการประกวดคัดเลือกองค์ความรู้ดีเด่นระดับหน่วยงาน ประเภทสุดยอดสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอแห่งการเรียนรู้ ระดับเขตตรวจราชการ ประจำปี 2565 โดยมี นางสาวธนพรขจิตเวทย์ ผู้อำนวยการกลุ่มงานกลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน นายสรรณ์ญา กระสังข์ พัฒนาการอำเภอภูสิงห์ พร้อมด้วยนักวิชาการพัฒนาชุมชนจังหวัดและนักวิชาการพัฒนาชุมชนอำเภอภูสิงห์ เข้าร่วมการประวดฯ ณ ห้องประชุมศรีลาวา ชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดศรีสะเกษ

ในการนี้ นางสาววริศรา โสภาค พัฒนาการจังหวัดศรีสะเกษ มอบหมายให้ นางสาวธนพร ขจิตเวทย์ ผู้อำนวยการกลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน ให้การต้อนรับ นายสรสาสน์ สีเพ็ง ผู้ตรวจราชการกรมการพัฒนาชุมชน เขตตรวจราชการที่ 14 (กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2) นายพีฏาวุธ นาโควงค์ นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฯและผู้แทนผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนอุบลราชธานี และนายภูไท ศรีเสน นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ ผู้ช่วยผู้ตรวจราชการกรมการพัฒนาชุมชน ในฐานะคณะกรรมการประกวดหน่วยงานต้นแบบการจัดการองค์ความรู้ดีเด่น ประเภทสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอแห่งการเรียนรู้ ระดับเขตตรวจราชการ ประจำปี 2565

กรมการพัฒนาชุมชน ได้กำหนดการดำเนินโครงการจัดการความรู้งานพัฒนาชุมชน ปีงบประมาณ พ.ศ.2565 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมบุคลากรในการเป็นนักจัดการความรู้ในงานพัฒนาชุมชนมืออาชีพ สร้างเครือข่ายนักจัดการความรู้งานพัฒนาชุมชน ส่งเสริมให้เกิดกระบวนการจัดการความรู้ และจัดเก็บองค์ความรู้ระดับพื้นที่

รวมทั้งเพิ่มช่องทางการเรียนรู้และพัฒนาคลังความรู้ในงานพัฒนาชุมชน ให้บุคลากรของกรมการพัฒนาชุมชนและผู้นำชุมชน สามารถนำองค์ความรู้ไปปรับใช้ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยดำเนินกิจกรรมการประกวดองค์ความรู้ดีเด่น (KM Challenge) ประจำปี 2565 เพื่อยกย่องและเชิดชูเกียรติบุคคลและหน่วยงานที่มีผลงานการพัฒนาองค์ความรู้ดีเด่น จำนวน 3 ประเภท ได้แก่

1) การประกวด KM Challenge ระดับบุคคล ประเภทองค์ความรู้ดีเด่น (เรื่องเล่าเร้าพลัง)

2) การประกวด KM Challenge ระดับหน่วยงาน ประเภทสุดยอดสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอแห่งการเรียนรู้

3) การประกวด KM Challenge ระดับหน่วยงาน (สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด) ประเภทสุดยอด Prototype “ต้นแบบการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ ระดับประเทศ”

สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ จึงได้จัดกิจกรรมการประกวด KM Challenge 2022 โดยการคัดเลือกองค์ความรู้ดีเด่นระดับหน่วยงาน ประเภทสุดยอดสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอแห่งการเรียนรู้ ระดับจังหวัด จำนวน 1 แห่ง และให้สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอที่ชนะเลิศเป็นตัวแทนจังหวัดศรีสะเกษ เข้าสู่การคัดเลือกในระดับเขตตรวจราชการ

ซึ่งจังหวัดศรีสะเกษ ได้ดำเนินการคัดเลือกองค์ความรู้ดีเด่นระดับหน่วยงาน ประเภทสุดยอดสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอแห่งการเรียนรู้ เสร็จเรียบร้อยแล้ว ปรากฏผลการคัดเลือกองค์ความรู้ดีเด่น ระดับหน่วยงาน ประเภทสุดยอดสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอแห่งการเรียนรู้ ระดับจังหวัด ประจำปี 2565 ดังนี้

ชนะเลิศ ได้แก่ สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอภูสิงห์

รองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอศิลาลาด

รองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอพยุห์

รองชนะเลิศอันดับ 3 ได้แก่ สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเบญจลักษ์

ทั้งนี้ นายสรสาสน์ สีเพ็ง ผู้ตรวจราชการกรมการพัฒนาชุมชน ได้กล่าวถึงแนวคิดและหลักการในการสร้างกระบวนการเรียนรู้ในองค์กรของกรมการพัฒนาชุมชน ที่บ่งชี้งถึงการนำกระบวนการเรียนรู้มาสร้างการเปลี่ยนแปลงในการพัฒนาคน พัฒนางานและพัฒนาองค์กร และได้ชี้แจงถึงแนวทางการประกวดตามเกณฑ์ของกรมการพัฒนาชุมชน และได้ให้สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอภูสิงห์

โดย นายสรรณ์ญา กระสังข์ พัฒนาการอำเภอภูสิงห์ นำเสนอถึงกระบวนการการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ ซึ่งได้มีการวางทิศการในการขับเคลื่อนองค์กรด้วยการสร้างวัฒนธรรมองค์กรในการพัฒนากระบวนเรียนรู้ไปด้วยกัน แบ่งปัน ในการสร้างสรรค์ชุมชน โดยมีการวางเป้าหมายการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาคน พัฒนางาน และพัฒนาองค์กร มีการวางแนวทางการพัฒนาองค์ความรู้ด้วยเครื่องมือ 3 อย่าง ประกอบด้วย ชุมชนนักปฏิบัติ (CoP) การวางแผนก่อนปฏิบัติงาน (BAR) และทบทวนหลังปฏิบัติงาน (AAR) เกิดเป็นกระบวนการสร้างการเรียนรู้ 4 กระบวนงาน ประกอบด้วย

1.การกำหนดเป้าหมาย

2.การแลกเปลี่ยนเรียนรู้

3.การเขียนชุดความรู้

4.การพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ มีการวิเคราะห์คนในองค์กรในด้านความรู้ ทักษะ และทัศนคติต่อองค์กร รวมทั้งวิเคราะห์ศักยภาพขององค์กร โดยเฟ้นหาจุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และอุปสรรคในการขับเคลื่อนงาน จาการวิเคราะห์ศักยภาพของคนในองค์กรและองค์กร

จึงได้มีกระบวนการพัฒนาองค์กรใน 6 มิติ เกิดเป็น “โมเดลภูสิงห์เสวนา” และสร้างกระบวนการเรียนรู้ในองค์กรอย่างต่อเนื่องจนเกิดการเปลี่ยนแปลงในการพัฒนาคน พัฒนางานและพัฒนาองค์กรในด้านเครือข่าย เกิดความร่วมมือจากทุกภาคส่วน และสามารถเป็นต้นแบบในการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ได้อย่างแท้จริง

พัฒนาชุมชนศรีสะเกษ : นครแห่งความสุข
กลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน : รายงาน