สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 21 ก.ค. 65

+ ประเทศไทยตอนบนมีฝนเพิ่มขึ้น มีฝนตกหนักมากบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้

+ ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา จ.พังงา (175 มม.) กรุงเทพมหานคร (165 มม.) และ จ.ฉะเชิงเทรา (160 มม.)

+ แม่น้ำสายหลัก น้ำน้อยถึงปกติ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นส่วนแม่น้ำโขง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

+ ปริมาณน้ำ แหล่งน้ำทุกขนาด 44,925 ล้าน ลบ.ม. (55%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 39,077 ล้าน ลบ.ม. (55%) เฝ้าระวังน้ำน้อย บริเวณภาคเหนือ (3 แห่ง) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (1 แห่ง)

+ พื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก- ดินถล่ม ในช่วง 1-2 วันนี้ บริเวณ จ.แพร่ น่าน ลำปาง พิษณุโลก อุทัยธานี เพชรบูรณ์ ลพบุรี เลย นครราชสีมา ชัยภูมิ ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระแก้ว ระยอง ตราด และพังงา

+ สทนช. ลงพื้นที่ถ่ายทอดองค์ความรู้สู่คณะกรรมการลุ่มน้ำ 22 ลุ่มน้ำ ผสานความร่วมมือทุกภาคส่วน สู่ความมั่นคงน้ำของประเทศตามที่ พ.ร.บ. ทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 กำหนดให้คณะกรรมการลุ่มน้ำมีหน้าที่ในการบริหารทรัพยากรน้ำในเขตลุ่มน้ำตามพระราชกฤษฎีกากำหนดลุ่มน้ำ 22 ลุ่มน้ำ โดยได้ดำเนินการคัดเลือกและสรรหากรรมการลุ่มน้ำครบถ้วนทั้ง 22 ลุ่มน้ำเรียบร้อยแล้ว

ดังนั้น เพื่อเป็นการถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจ และข้อมูลที่จำเป็นต่อการขับเคลื่อนการบริหารทรัพยากรน้ำ ให้แก่คณะกรรมการลุ่มน้ำสทนช. ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกับคณะกรรมการลุ่มน้ำทั้ง 22 ลุ่มน้ำทั่วประเทศ มุ่งถ่ายทอดองค์ความรู้ในการบริหารทรัพยากรน้ำ เปิดเวทีแลกเปลี่ยนความเห็นและรับฟังสภาพปัญหา พร้อมวางเป้าหมายสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายจากทุกภาคส่วน

โดยมีประเด็นสำคัญ ได้แก่

1) บทบาทหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการลุ่มน้ำ ตาม พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561

2) แนวทางการมีส่วนร่วมในการบริหารทรัพยากรน้ำ

3) แนวทางการจัดทำแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำท่วม น้ำแล้ง

4) แนวทางจัดทำแผนแม่บทลุ่มน้ำที่เหมาะสม รวมทั้งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงานร่วมกันระหว่างคณะกรรมการลุ่มน้ำและสทนช.

โดยปัจจุบันได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้วในพื้นที่ลุ่มน้ำในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ ลุ่มน้ำโขงตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จ.หนองคาย ลุ่มน้ำชีณ จ.ขอนแก่น ลุ่มน้ำมูล ณ จ.นครราชสีมา และจะมีการลงพื้นที่ในลุ่มน้ำอื่น ๆ จนครบทั้ง 22 ลุ่มน้ำทั่วประเทศ ให้เสร็จสิ้นภายในปี 2565