+ ประเทศไทยมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้
+ ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักบริเวณ จ.น่าน (100 มม.) จ.นครศรีธรรมราช (66 มม.)และ จ.จันทบุรี (42 มม.)
+ พื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก- ดินถล่ม ในช่วง 1-2 วันนี้ บริเวณ จ.น่าน ชัยภูมิ ขอนแก่น ตราด ระนอง และนครศรีธรรมราช
+ แม่น้ำสายหลัก น้ำน้อยถึงปกติ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนแม่น้ำโขง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
+ ปริมาณน้ำ แหล่งน้ำทุกขนาด 44,805 ล้าน ลบ.ม. (54%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38,966 ล้าน ลบ.ม. (54%) เฝ้าระวังน้ำน้อย บริเวณภาคเหนือ (3 แห่ง)
+ กอนช. ติดตามสถานการณ์น้ำเนื่องจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน ส่งผลให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ ในช่วงวันที่ 10–14 ก.ค. 65 ทำให้แม่น้ำสายหลักและอ่างเก็บน้ำมีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น
ปัจจุบัน (วันที่ 18 ก.ค. 65) อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำ 41,832 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 55% ของความจุอ่างฯ สามารถรับน้ำได้อีก 34,253 ล้าน ลบ.ม. ในขณะที่ 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยฯ และเขื่อนป่าสักฯ) มีปริมาณน้ำ 9,792 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 39% ของความจุอ่างฯ สามารถรับน้ำได้อีก 15,079 ล้าน ลบ.ม. ทั้งนี้ ในช่วงวันที่ 20 – 24 ก.ค.65 นี้ ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้นโดยจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางพื้นที่ กอนช. จึงขอเน้นย้ำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตาม 13 มาตรการรับมือฤดูฝนปี 2565 อย่างเคร่งครัด
+ ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เป็นประธานการประชุมหารือแนวทางการดำเนินโครงการศึกษาการผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเลเพื่อแก้ไขปัญหาความเสี่ยงของการขาดแคลนน้ำในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก โดยมีผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ เพื่อรับทราบผลการดำเนินโครงการศึกษาการผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเลฯ พร้อมพิจารณาลำดับแผนการดำเนินโครงการฯ และแนวทางการขับเคลื่อนโครงการฯ ตามที่ กนช. เห็นชอบเมื่อวันที่ 14 มี.ค. 65