สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 16 ก.ค. 65 เวลา 7.00 น.

+ ประเทศไทยมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก
+ ปริมาณฝน 24 ชั่วโมง สูงสุดที่ จ.น่าน (91) จ.ตราด (71) และ จ.อุบลราชธานี (67)
+ แม่น้ำสายหลัก น้ำน้อยถึงปกติ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนแม่น้ำโขง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
+ ปริมาณน้ำ แหล่งน้ำทุกขนาด 44,390 ล้าน ลบ.ม. (54%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38,605 ล้าน ลบ.ม. (54%) เฝ้าระวังน้ำต่ำกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 2 แห่ง บริเวณภาคเหนือ (2 แห่ง) เฝ้าระวังน้ำสูงกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ กิ่วคอหมา กิ่วลม และน้ำพุง
+ พื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก- ดินถล่ม ในช่วงวันที่ 15 – 17 ก.ค. 65 บริเวณจ.เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง น่าน ตาก พะเยา อุตรดิตถ์พิษณุโลก เพชรบูรณ์ กาญจนบุรี เลย ชัยภูมิ นครราชสีมา ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ระยอง จันทบุรี ตราด ระนอง ชุมพรสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พังงา กระบี่ และตรัง

กอนช.ติดตามหน่วยงานเร่งช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ประสบอุทกภัยใน จังหวัดร้อยเอ็ด เพชรบูรณ์ และอุบลราชธานีโดยหน่วยงานได้ดำเนินการในพื้นที่ประสบอุทกภัย ได้แก่

 จ.ร้อยเอ็ด อ.โพนทอง บริเวณพื้นที่ บ้านหนองบุ่ง ค.โคกกกม่วง พื้นที่ประมาณ 60 ไร่ และที่ อ.เสลภูมิ บริเวณพื้นที่ บ้านหนองผักตบ ต.เหล่าน้อย บ้านนาทม ต.ภูเงิน พื้นที่ประมาณ 300 ไร่ กรมชลประทานดำเนินการเตรียมพร้อมเครื่องสูบน้ำ 25 เครื่อง กระสอบบรรจุทราย 12,000 กระสอบ และเครื่องจักร เครื่องมืออื่นๆ พร้อมบุคลากรเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง โดยเฉพาะบริเวณตลอดแนวพนังกั้นลำน้ำยัง

 จ.เพชรบูรณ์ ฝนที่ตกหนักในพื้นที่ อ.หล่มสัก ส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำป่าสักเพิ่มสูงขึ้น และมีน้ำเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน และพื้นที่การเกษตรบริเวณพื้นที่หมู่ 1,2,5,7,8,9,11 ต.สักหลง โครงการชลประทานเพชรบูรณ์ สนับสนุนเครื่องสูบน้ำ 8 นิ้ว จำนวน 2 เครื่อง ช่วยเหลือในพื้นที่ดังกล่าว

 จ.อุบลราชธานี เกิดฝนตกหนักทำให้น้ำท่วมถนนในเขตเทศบาลนคร อ.เมืองฯ น้ำท่วมขังพื้นผิวการจราจรหลายเส้นทาง ความเสียหายอยู่ระหว่างสำรวจ ไม่มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตโดย สนง.ปภ.จ. อำเภอ อปท. อปพร. อาสาสมัคร จิตอาสา มูลนิธิ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าสำรวจความเสียหายและให้การช่วยเหลือในเบื้องต้นแล้ว ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายแล้ว

ทั้งนี้ กอนช.ได้สั่งให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด พร้อมบริหารจัดการน้ำตามศักยภาพ และประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนสถานการณ์น้ำให้ประชาชนรับทราบอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับประชาชนให้ได้มากที่สุด