ศรีสะเกษ โชว์ Best Practice “คู่บุญ โคก หนอง นา พา แก้จน” ในที่ประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์อํานวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืน

ศรีสะเกษ โชว์ Best Practice “คู่บุญ โคก หนอง นา พา แก้จน” ในที่ประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์อํานวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจังหวัดศรีสะเกษ (คจพ.จ.) ครั้งที่ 3/2565

วันที่ 11 กรกฎาคม 2565 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมศรีพฤทเธศวร ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดศรีสะเกษ นายวัฒนา พุฒิชาติ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ เป็นประธานการประชุม คณะกรรมการบริหารศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนฯ (คจพ.จ.ศรีสะเกษ) ครั้งที่ 3/2565 โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการระดับจังหวัด นายอำเภอ พัฒนาการอำเภอ คณะทำงานขจัดความยากจนฯ ทั้ง 5 มิติ เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมเพื่อติดตามความก้าวหน้าขจัดความยากจนฯ คณะทำงานฯทั้ง 5 มิติ จาก 22 อำเภอ รวมถึงสาระสำคัญในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา ซึ่งมีแนวทางการดำเนินงานขับเคลื่อนงานขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการแก้ไขปัญหาหนี้สินครัวเรือน

ทั้งนี้ นางสาววริศรา โสภาค พัฒนาการจังหวัดศรีสะเกษ/เลขานุการ คจพ.จ.ศรีสะเกษ ได้กล่าวสรุปรายงานผลการดำเนินงานช่วยเหลือ ครัวเรือนเป้าหมาย ทั้งครัวเรือนเดิม และที่สำรวจพบเพิ่มเติม จำนวน 17,119 ครัวเรือน ซึ่งดำเนินการตามแผนฏิบัติการฯ การให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น ให้ “อยู่รอด” ครบ 100% และบันทึกในระบบ TPMAP ครบเรียบร้อยแล้ว ในลำดับต่อไปเป็นขั้นตอนการขับเคลื่อนงานให้ครัวเรือนเป้าหมายฯ ในขั้นพอเพียง ในการพัฒนาความคิด พัฒนาอาชีพ เพื่อผลักดันครัวเรือนเปราะบางเข้าสู่ห่วงโซ่คุณภาพ ให้สามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน ทั้งนี้ในการขับเคลื่อนงานขจัดความยากจน ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ เป็นการนำเสนอผลการดำเนินงาน ทั้ง 5 มิติ และสรุปผลการดำเนินงานโดยวีดิทัศน์ ดังนี้

1) คณะทำงานฯ มิติสุขภาพ โดย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ

2) คณะทำงานฯ มิติความเป็นอยู่ โดย สนง.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดศรีสะเกษ

3) คณะทำงานฯ มิติการศึกษา โดย สนง. ศึกษาธิการจังหวัดศรีสะเกษ

4) คณะทำงานฯ มิติรายได้ โดยสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ

5) คณะทำงานฯ มิติการเข้าถึงบริการภาครัฐ โดย สนง.ส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ

ทั้งนี้จากข้อเสนอแนะในการขับเคลื่อนกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ ซึ่งในระดับพื้นที่มีท่านนายอำเภอ เป็นหัวเรือใหญ่ โดยมี ปลัดอำเภอ พัฒนาการอำเภอ พัฒนากร ผู้นำจิตอาสาภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ช่วยประชาสัมพันธ์ทางสิ่อ Socail Media ทุกช่องทาง ทุกวัน ทั้งนี้สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด ได้รวบรวม และประชาสัมพันธ์ทางสื่อช่องทางต่างๆ เป็นประจำทุกวันจันทร์ ภายใต้การนำของ นายวัฒนา พุฒิชาติ ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ให้แนวทางการขับเคลื่อนงานการให้ความช่วยเหลือ ให้ครัวเรือนเป้าหมาย เมื่อ “อยู่รอด” และ ให้ “พอเพียง ยั่งยืน”

โดยกำหนด “คู่บุญ โคก หนอง นา พา แก้จน” ให้ ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน ในพื้นที่ และครัวเรือนโคก หนอง นา พช. และใช้พื้นที่ศูนย์เรียนรู้ต้นแบบฯ การน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นพี่เลี้ยง “ครัวเรือนเป้าหมายฯ” มาปรับใช้จนเป็นวิถี ให้สามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน วันนี้ เป็นการโชว์ผลงาน Best Practice “คู่บุญ โคก หนอง นา พา แก้จน” อำเภอราษีไศล

ครัวเรือนต้นแบบ โคก หนอง นา พช. นางหนูเวียง สายชมภู หมู่ที่ 12 ตำบลสร้างปี่ อำเภอราษีไศล ที่จัดสรรพื้นที่ให้ครัวเรือนในพื้นที่เข้ามาศึกษาเรียนรู้ และจัดสรรพื้นที่ให้ครัวเรือนเป้าหมาย TPMAP จำนวน 2 ครัวเรือนใช้พื้นที่เพาะปลูก พืชผักสวนครัว เลี้ยงสัตว์ สร้างความมั่นคงทางอาหาร ยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยการสร้างสัมมาชีพชุมชน ปรับกระบวนทัศน์การพัฒนาตนเองตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นตัวอย่างการขับเคลื่อนงาน และการประชาสัมพันธ์ ที่ดี รับชมได้ทาง ศจพ.จ.ศรีสะเกษ ขับเคลื่อนพัฒนาคุณภาพชีวิตครัวเรือนTPMAP EP.2 I คู่บุญ แก้จนด้วยโคกหนองนา พช. ราษีไศล

ทั้งนี้ นายวัฒนา พุฒชาติ ได้กล่าวทิ้งท้ายว่า การขับเคลื่อนงานในห้วงระยะที่ผ่านมา เห็นการทำงานร่วมกันทุกภาคส่วน เชื่อมกันทุกมิติ ทั้ง 5 มิติเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดสน บูรณาการแผนงาน จัดทำเมนูการให้ความช่วยเหลือครัวเรือนเป้าหมาย ให้ “อยู่รอด พอเพียง ยั่งยืน” ย้ำ “ทุกคนมีศักยภาพ พัฒนาได้” ทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครือข่ายในพื้นที่ ให้ร่วมมือกันทำงาน ทั้งสงเคราะห์ และที่สำคัญ “พัฒนา” จากสิ่งที่มีอยู่เป็นทุนเดิม จึงเกิดการขับเคลื่อนงานที่จะผลักดันครัวเรือนเปราะบางเข้าสู่ห่วงโซ่คุณภาพ ให้สามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน

“คนเมืองศรี ฮักแพงแบ่งปัน สุขเสมอกันที่ศรีสะเกษ”

พัฒนาชุมชนศรีสะเกษ : นครแห่งความสุข
กลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน : รายงาน