สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 11 ก.ค. 65 เวลา 7.00 น.

+ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ช่วงวันที่ 11-14 ก.ค. 65 ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้น โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้

+ ปริมาณฝน 24 ชั่วโมง สูงสุดที่ จ.พิษณุโลก (125) จ.ชุมพร (89) และ จ.ลพบุรี (86)

+ แม่น้ำสายหลัก น้ำน้อยถึงปกติ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนแม่น้ำโขง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

+ ปริมาณน้ำ แหล่งน้ำทุกขนาด 43,710 ล้าน ลบ.ม. (53%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38,084 ล้าน ลบ.ม. (53%) เฝ้าระวังน้ำต่ำกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 2 แห่ง บริเวณภาคเหนือ (2 แห่ง) เฝ้าระวังน้ำสูงกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ กิ่วคอหมา กิ่วลม และน้ำพุง

+ พื้นที่เกิดอุทกภัย ในช่วงวันที่ 9-10 ก.ค. 65 ในพื้นที่ จ.ขอนแก่น (อ.เมือง) และ จ.จันทบุรี (อ.แก่งหางแมว) ปัจจุบันระดับน้ำลดลง

+ ประกาศ กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 20/2565 เรื่อง เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก และน้ำท่วมฉับพลัน

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ได้ประเมินสถานการณ์น้ำ และขอให้เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงเพิ่มเติม ในช่วงวันที่ 11 – 15 กรกฎาคม 2565 ดังนี้

 เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก น้ำท่วมขัง บริเวณ จังหวัดพะเยา ลำปาง แพร่ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ เลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย สกลนคร ยโสธร ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด อำนาจเจริญ นครราชสีมา อุบลราชธานี ระนอง ชุมพร สุราษฎร์ธานี พังงา

 เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลัน บริเวณ แม่น้ำน่าน และลำน้ำสาขา แม่น้ำชี แม่น้ำมูล แม่น้ำสงคราม ลำน้ำอูน ลำน้ำยาม และแม่น้ำตาปี

 เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ที่มีปริมาตรน้ำสูงกว่าเกณฑ์ปฏิบัติการอ่างเก็บน้ำกักเก็บสูงสุด (Upper Rule Curve) 2 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำน้ำพุง จังหวัดสกลนคร อ่างเก็บน้ำกิ่วคอหมา จังหวัดลำปาง

 เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง ที่มีปริมาตรน้ำมากกว่าร้อยละ 80 และมีแนวโน้ม เพิ่มสูงขึ้น เสี่ยงน้ำล้นกระทบพื้นที่บริเวณท้ายอ่างเก็บน้ำ บริเวณ ภาคเหนือ (จังหวัดลำปาง น่าน และพะเยา) ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ (จังหวัดเลย สกลนคร ขอนแก่น นครราชสีมา นครพนม มุกดาหาร และอุบลราชธานี) ภาคตะวันออก (จังหวัดตราด) ภาคใต้ (จังหวัดสุราษฎร์ธานี)