“กรมการแพทย์แผนไทยฯ” บูรณาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เน้นเน็ตเวิร์กเข้มแข็ง พัฒนาองค์ความรู้ใช้จริงทำจริง

ภาพรวมของธุรกิจของไทยที่มีรายได้หลักมาจากการท่องเที่ยว โดยเฉพาะการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ที่สามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศ ซึ่งแน่นอนว่าหลังจากที่อยู่ในช่วงวิกฤตโควิด-19 ทุกอย่างหยุดชะงัก แต่หลังจากสถานการณ์การระบาดเริ่มจะคลี่คลาย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก มีพันธกิจ ร่วมบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตลาดด้านสุขภาพเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเข้ามาในไทย โดยเน้นย้ำการนำองค์ความรู้ไปใช้กับการท่องเที่ยวเชิงสุภาพให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ดร.ภญ. มณฑกา ธีรชัยสกุล ผู้อำนวยการกองสมุนไพรเพื่อเศรษฐกิจ เปิดเผยว่า กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ได้รับหน้าที่ความรับผิดชอบขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสมุนไพรเพื่อเศรษฐกิจที่เป็นภาพรวมของประเทศ ทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ในแง่ของปลายน้ำ ตลาดที่สำคัญมากในขั้นต่อไปมีอยู่ 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนของตลาดที่เป็นเรื่องของอาหารและตลาดที่เป็นเวลเนสท์การมีสุขภาพดี เรื่องเวลเนสท์ไปกับตลาดท่องเที่ยว เพราะฉะนั้นบทบาทของกรมการแพทย์แผนไทยฯ สนับสนุนองค์ความรู้ที่จะนำไปใช้กับเวลเนสท์ทำให้คนสุขภาพดีไปท่องเที่ยวเชิงวิถีสุขภาพตามภูมิปัญญาไทยและสมุนไพรไทยซึ่งเป็นส่วนของคอนเทนต์

ในส่วนที่สองกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เข้าไปช่วยยกระดับพื้นที่แหล่งท่องเที่ยว จากการสำรวจพื้นที่ส่งเสริมบริการสร้างอาชีพรายได้ จึงเล็งเห็นว่าปัจจัยสำคัญสำหรับแหล่งท่องเที่ยวนั้นต้องรู้จักตัวเอง ล่าสุดสิ่งที่ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ทำงานร่วมกับ กรมการท่องเที่ยวคือการพัฒนาเกณฑ์การประเมินแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพด้านการแพทย์แผนไทย ด้านภูมิปัญญาและสมุนไพรไทย

ซึ่งขณะนี้กระจายเกณฑ์ไปสู่จังหวัดนำร่อง 20 จังหวัดเพื่อให้การท่องเที่ยวจังหวัด และ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแต่ละจังหวัด สำรวจแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งอาจจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวโด่งดังอยู่แล้วแต่ไม่ทราบมีศักยภาพด้านนี้ หรือเป็นแหล่งแหล่งเที่ยว เปิดให้บริการแล้วแต่ไม่มีกรอบความคิดเรื่องบริการการท่องเที่ยว แต่ต้องการให้บริการนักท่องเที่ยว เข้าสู่กระบวนการ

ทั้งหมดนี้เป็นภารกิจหลักที่ทางกรมได้ดำเนินการในปีที่ผ่านมา หลังจากเริ่มทำได้รับความสนใจจากแหล่งท่องเที่ยวประเมินตัวเองกลับมาให้กับทางกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ข้อดีที่เกิดขึ้นหลังจากประเมิน คือ หนึ่งกลุ่มที่ไม่มีความพร้อมจะรู้ตัวเองและสามารถคิดต่อว่าลงทุนอีกหรือไม่หรือผันตัวเองประกอบอาชีพอื่น กลุ่มนี้มีชัดเจนมาก กลุ่มที่สองผ่านได้ระดับดีแต่ไม่ดีเลิศ รู้ตัวอยากจะไปต่อ

“สำหรับการท่องเที่ยวมีมุมมองว่าเป็นอาชีพของชุมชนพัฒนารายได้การสร้างองค์ความรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างภูมิปัญญาไทยกับสมุนไพร หากมีการส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพภูมิปัญญาไทย สมุนไพรไทย สิ่งแรกมีความสามารถในการดูแลและป้องกันชุมชนของตัวเอง ถ้าเกิดสังคมแบบนี้จะช่วยซัพพอร์ตสุขภาพ

ถ้าประเทศไทยอยากเป็นศูนย์กลางแห่งเวลเนสท์ คือ การมีสุขภาพ จิตวิญญาณและอารมณ์ที่ดี ตัวชี้วัดอันดับแรกคือการไม่เป็นโรคไม่ต้องกินยา ในท้ายที่สุดการทำเรื่องการท่องเที่ยวของเวลเนสท์ไม่ได้มองแค่เรื่องการประกอบอาชีพธรรมดา แต่สัมพันธ์กับวัฒนธรรมท้องถิ่นและภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่น ขณะเดียวสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการดูแลสุขภาพ”

ดร.มณฑกา กล่าวเพิ่มเติมว่า การทำประเมินกระจายไปทั่วภูมิภาคใช้ฐานข้อมูลเมืองสมุนไพรผสานรวมกับจังหวัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวหลัก จึงมองว่าแต่ละจังหวัดมีศักยภาพเฉลี่ยกัน แต่ที่เด่นชัดในเรื่องภูมิปัญญาคือทางภาคอีสาน ภูมิปัญญาหมอชาวบ้านมีจำนวนมาก ภาคกลางลักษณะผลิตภัณฑ์ สถานท่องเที่ยวอาจเป็นวัฒนธรรม แต่ทางอีสานเป็นภูมิปัญญาที่สัมพันธ์กับการใช้ชีวิต เป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชน ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและท่องเที่ยวภูมิปัญญาสมุนไพร

“ประเทศไทยมีด้านดีหลายมิติแต่ต้องสื่อสารให้เป็น มีเครือข่ายที่แข็งแรง การชูการท่องเที่ยว เชิงสุขภาพ ควรมีกลยุทธ์ที่หากระแสที่คนยอมรับ สร้างภาพจำให้ชัดเจนซึ่งเมืองไทยมีความหลากหลาย ทำพร้อมๆ กันทั้งจังหวัดให้เป็นที่ประจักษ์ สำหรับเมืองไทยการท่องเที่ยวที่เป็นรายได้หลักมาจากนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเพื่อทำหัตถการ เช่น การทำฟัน การผ่าตัดแปลงเพศและการทำ IVF จะเป็นไฮไลท์ของประเทศ

นักท่องเที่ยวมีจุดประสงค์ที่ชัดเจน แต่การท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติยังไม่เป็นที่ประจักษ์ แต่ต้องมีการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมในแหล่งท่องเที่ยวที่ส่งผลความเสื่อมโทรมในอนาคต ถ้าดูแลสิ่งแวดล้อมไม่ดีประเทศไทยอาจต้องสูญเสียการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ ระบบโลจิสต์ติกต้องลงทุนควรมีการปรับปรุงให้เชื่อมโยงและความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว ทั้งหมดเป็นปัจจัยสำคัญ” ดร.ภญ มณฑกา กล่าวปิดท้าย

ประชาชนที่สนใจสามารถร่วมงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติฯ ครั้งที่ 19 ระหว่างวันที่ 6-10 กรกฎาคม 2565 เวลา 10.00-20.00 น. ณ ศูนย์การแสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองานี ฮอล์11-12 พบกับ กิจกรรมต่างๆ อาทิ โซนจัดแสดงสินค้าและจำหน่ายผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยที่มีมาตรฐาน การแจกต้นพันธุ์สมุนไพร หายาก ตลาดนัดความรู้ เป็นต้น

สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก โทร. 0-2149-5649, Facebook Fanpage มหกรรมสมุนไพรแห่งชาติหรือ Website: https://natherbexpo.dtam.moph.go.th

……………………………………………7 กรกฎาคม 2565……………………………………………..