6 กรกฎาคม 2565: สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ หรือ สกมช. จัดกิจกรรมงาน Countdown ประมวลแนวทางปฏิบัติและกรอบมาตรฐาน ดานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร สำหรับ หนวยงานของรัฐ หน่วยงานควบคุมหรือกำกับดูแล หนวยงานโครงสรางพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวของ โดยมี นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธานกล่าวเปิดงาน เพื่อเสริมความแกร่งด้านไซเบอร์ให้กับประเทศในปกป้องประชาชน
นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวว่า จะตองมีการ ปรับเปลี่ยนการทำงานเพื่อยกระดับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร ใหกับระบบโครงสรางพื้นฐานสำคัญทาง สารสนเทศ ซึ่งจะสงผลใหคนไทยทุกคนสามารถใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู ไทยแลนด์ 4.0 ได้อยางมั่นคงปลอดภัย
โดยตลอดปีที่ผานมา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม มุงมั่นที่จะยกระดับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอรใหกับประเทศไทย รวมกับ สกมช. มีการเตรียมความพรอมใหกับหนวยงานของรัฐ หนวยงานควบคุมหรือกำกับดูแล หนวยงานโครงสรางพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ และหนวยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวของ ประกอบด้วยกิจกรรมที่สำคัญ
อาทิ การขับเคลื่อนนโยบายและแผนดานความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ การจัดทำกฎหมายลำดับรองที่สำคัญ จำนวน 5 ฉบับ การสงเสริมความรวมมือกับหนวยงานองคกรทั้งภายในประเทศ และระหวางประเทศ ผานกิจกรรมการฝกเพื่อทดสอบขีดความสามารถทางไซเบอรตอหนวยงานโครงสรางพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ และการจัดทำบันทึกความเขาใจ (MOU) ทั้งภายในและระหวางประเทศ จำนวน 3 ฉบับ การเฝาระวังและแกไขปญหาภัยคุกคามทางไซเบอรรวมกับหนวยงานที่เกี่ยวของ จำนวน 229 ครั้ง การพัฒนาบุคลากรหลักสูตรดานความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร ตลอดจนสรางการตระหนักรูใหกับผูปฏิบัติงาน ดานไซเบอรและประชาชนทั่วไป เปนตน
พลเอก ดร.ปรัชญา เฉลิมวัฒน์ เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ กล่าวถึงการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์
1. เพื่อให้หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานควบคุมหรือกำกับดูแล และหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ ได้ทราบถึงแนวทางการดำเนินงานให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกำกับดูแล ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ เรื่อง ประมวลแนวทางปฏิบัติและกรอบมาตรฐานด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์สำหรับหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ พ.ศ. 2564 ซึ่งเป็นข้อกำหนดขั้นต่ำด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 6 กันยายน 2565 ที่จะถึงนี้
2. เพื่อให้หน่วยงานควบคุมหรือกำกับดูแล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ทราบถึงแนวทางในการขึ้นทะเบียนเป็นศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ ให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัย ไซเบอร์แห่งชาติ เรื่อง ลักษณะ หน้าที่และความรับผิดชอบของศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ สำหรับหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสาคัญทางสารสนเทศและภารกิจหรือให้บริการที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2564 ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 23 สิงหาคม 2565
พลอากาศตรี อมร ชมเชย รองเลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ กล่าวเพิ่มเติมว่า ภายในงานได้มีการชี้ให้เห็นถึงแนวทางการดำเนินการของหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ ตามประกาศ กกม. เรื่อง ประมวลแนวทางปฏิบัติและกรอบมาตรฐานด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัย ไซเบอร์ สำหรับหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ พ.ศ. 2564 และแนวทางการดำเนินการของ Sectoral CERT ตามประกาศ กมช. เรื่อง ลักษณะ หน้าที่และความรับผิดชอบของศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์สำหรับหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศและภารกิจหรือให้บริการที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2564
โดยตัวแทนหน่วยงานควบคุมหรือกำกับดูแล ได้แก่ นายภิญโญ ตรีเพชราภรณ์ผู้อำนวยการฝ่ายกำกับและตรวจสอบความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ธปท. นายปณิธาน เขินอำนวย ผู้อำนวยการฝ่ายความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ สพร. นายวิบูลย์ ภัทรพิบูล ผู้ช่วยเลขาธิการ สายเทคโนโลยีดิจิทัล กลต. นายแพทย์ อนันต์ กนกศิลป์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สป.สธ. ตัวแทน Sectoral CERT ได้แก่ ดร. กิตติ โฆษะวิสุทธิ์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์และกรรมการ TB-CERT นายสมาน ทาโคตร ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางคอมพิวเตอร์ด้านโทรคมนาคม TTC-CERT
และผู้เชี่ยวชาญจาก กมช. ได้แก่ อาจารย์ปริญญา หอมเอนก กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ อาจารย์ไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย และได้ทราบเกี่ยวกับเครื่องมือสนับสนุนให้หน่วยงานของรัฐ และหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ สามารถปฏิบัติตามประกาศ กกม. เรื่อง ประมวลแนวทางปฏิบัติและกรอบมาตรฐานฯ ซึ่งจะทำให้หน่วยงานของรัฐ และหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ มีความพร้อมในการปฏิบัติตามกฏหมายลูกดังกล่าวได้อย่างถูกต้อง อันจะเป็นการสร้างความแข็งแกร่งด้านไซเบอร์ให้กับประเทศได้อย่างแน่นอน พลอากาศตรี อมร กล่าวทิ้งท้าย