ศรีสะเกษ ยกขบวนผ้าทอเบญจศรี ขนทัพ OTOP ของดี บุกรายการ “แซ่บพาซ่าส์” ศูนย์รวมความแซ่บ ทางช่อง 3 ออกอากาศ 7 ก.ค.นี้ เวลา บ่าย 1 โมง 55 นาที

วันที่ 4 กรกฎาคม 2565 เวลา 13.00 น. ณ สถานีโทรทัศน์ช่อง 3HD กรุงเทพมหานคร นายวัฒนา พุฒิชาติ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ มอบหมายให้นางสาวชนมณัฐ รอดบุญธรรม รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ นำทีมสำนักงานพัฒนาชุมชน โดยนางสาววริศรา โสภาค พัฒนาการจังหวัดศรีสะเกษ พร้อมด้วยนายคำพอง วรรณวัติ ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน นักวิชาการพัฒนาชุมชนจังหวัด เครือข่ายผู้ผลิตผู้ประกอบการ OTOP นำขบวนสินค้า OTOP อาทิเช่น ผ้าทอเบญจศรี ผ้าทอแบรนด์ศรีสะเกษ กระเทียมโทนดองน้ำผึ้ง ,กระเทียมดำดองน้ำผึ้ง , สติ๊กเกอร์หัวหอม, หอมเจียวปลากรอบ กาแฟโรบัสต้าศรีสะเกษ และทุเรียนภูเขาไฟ ร่วมจัดแสดงเพื่อบันทึกเทปรายการ “แซ่บพาซ่าส์” ณ สถานีโทรทัศน์ช่อง 3HD ซึ่งเป็นรายการที่นำเสนอ ความแซ่บ ไม่ว่าจะเป็น ร้านอร่อย ร้านเด่น ร้านดัง , ที่เที่ยวที่น่าสนใจทั่วประเทศ รวมทั้งนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นต่างๆทั่วไทย ผลงาน โอทอปสินค้าของดีของแต่ละจังหวัด โดยได้ 3 พิธีกรรุ่นใหม่ ‘น้ำฝน พัชรินทร์ , บุช-เลอชาญ’ เซฟหล่อผู้โด่งดังในโซเซียล และ ‘ป๊อปปี้-รัชพงศ์’ หนุ่มหล่อหุ่นดีจากรายการ เดอะเฟสเมน ที่จะมานำเสนอเนื้อหาของรายการ ซึ่งจะออกอากาศในวันที่ 7 ก.ค. 2565 ตั้งแต่เวลา บ่าย 1 โมง 55 นาที อิ่มเอมตลอด 20 นาที กับของดี๊ของสีเกด

ทั้งนี้ นางสาวชนมณัฐ รอดบุญธรรม รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ กล่าวว่า จังหวัดศรีสะเกษ ภายใต้การนำของนายวัฒนา พุฒิชาติ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ได้กำหนดวาระผ้าทอมือ ศรีสะเกษ “ธานีผ้าศรี..แส่ว” ภายใต้แบรนด์ “ผ้าทอเบญจศรี” เป็น 1 ใน 10 วาระขับเคลื่อนจังหวัดศรีสะเกษ ด้วยความโดดเด่น และอัตลักษณ์เฉพาะถิ่นขอจังหวัดศรีสะเกษ ดินแดนที่มีความหลากหลายทางภูมิศาสตร์ และชาติพันธุ์ ได้มีการส่งเสริมสนับสนุนให้มีการนำวัตถุดิบธรรมชาติที่มีในท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ ผ่านกรรมวิธีการย้อม นำอัตลักษณ์ที่สำคัญในหลายๆ ด้านที่เป็นที่รู้จัก เช่น ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษรสเลิศ ไก่ย่างไม้มะดันชวนชิมที่มีชื่อเสียงโด่งดัง พื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ที่สามารถปลูกข้าวหอมมะลิที่มีกลิ่นหอม รสชาติอร่อยที่สุดติดลำดับโลก ต้นลำดวน ต้นไม้ประจำจังหวัด ที่มีอยู่มากมายกว่าสามแสนต้นทั่วจังหวัดศรีสะเกษ จากความโดดเด่นเฉพาะถิ่น ตามลักษณะจังหวัดที่มีความหลากหลายทางภูมิศาสตร์และชาติพันธุ์ ของแต่ละพื้นที่ผนวกกับภูมิปัญญาที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ นำมาต่อยอดและพัฒนาให้เกิดสินค้า OTOP ที่ทำได้ตลอดปี ไม่มีฤดูกาล สร้างงาน สร้างอาชีพและรายได้เพิ่มขึ้นให้แก่ประชาชนในจังหวัด ทั้งเป็นการสืบสาน รักษา ต่อยอดภูมิปัญญาเพื่อพัฒนาและยกระดับผ้าทอพื้นเมืองศรีสะเกษให้สามารถแข่งขันได้ โดยใช้คำว่า “ศรี” นำหน้า ซึ่งมีความหมายว่า มิ่ง, สิริมงคล, ความรุ่งเรือง, และ “ศรี” ที่มาจากคำว่า “ศรีสะเกษ” เกิดเป็น “ผ้าทอมือย้อมสีธรรมชาติอัตลักษณ์ศรีสะเกษ” จำนวน 5 ชนิด ที่แสดงถึงอัตลักษณ์ของจังหวัดศรีสะเกษ ได้แก่ 1) ผ้าศรีมะเกลือ 2) ผ้าศรีลาวา 3) ผ้าศรีกุลา 4) ผ้าศรีมะดัน และ 5) ผ้าศรีลำดวน และเพิ่มมูลค่าผ้าทอเบญจศรี ด้วยการ “แส่ว” ซึ่งเป็นอัตลักษณ์เฉพาะและภูมิปัญญาของชาวจังหวัดศรีสะเกษ

ปัจจุบันมีกลุ่มนักออกแบบรุ่นใหม่นำผ้าทอเบญจศรีมาดีไซน์ใหม่ให้ดูทันสมัยมากขึ้น สร้างอัตลักษณ์ที่ชัดเจนผ่านประวัติความเป็นมา (STORY) และพัฒนารูปแบบ ให้มีความหลากหลาย และมีความทันสมัย เป็นนวัตกรรมใหม่ของชุมชน นั้น เป็นโอกาสของการสร้างกลุ่มลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้น ทำให้เกิดการเชื่อมโยงด้านการตลาดได้อย่างกว้างขวางทั้งในประเทศและต่างประเทศ เกิดการผลิต“ผ้าทอเบญจศรี” ที่มีคุณภาพ ซึ่งเกิดจากความสามัคคีและความร่วมมือร่วมใจของหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนซึ่งทุกหน่วยงานมีความตระหนักและเล็งเห็นคุณค่าของ ความสามัคคีที่จะร่วมกันพัฒนาชุมชนตั้งแต่ระดับฐานราก ส่งเสริมการประกอบอาชีพในระดับครัวเรือน ก่อให้เกิดเป็นรายได้ที่มั่นคงและยั่งยืน ส่งผลให้เศรษฐกิจโดยรวมมีความเติบโตและเจริญก้าวหน้า และท้องถิ่น ยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชน ส่งผลต่อชุมชน ดังนี้

1. ชุมชนสามารถสร้าง อัตลักษณ์ “ผ้าทอเบญจศรี” มีความโดดเด่นและชัดเจน
2. ชุมชนมีจิตสำนึกเกิดการ อนุรักษ์ อาชีพการทอผ้า
3. ชุมชนมีความสามารถในการ เพิ่มมูลค่า และสามารถยกระดับการพัฒนาในด้านคุณภาพและการออกแบบ
4. ชุมชนเกิดความรัก สร้างความสามัคคี ร่วมกันสร้าง อัตลักษณ์ให้กับผ้า“ผ้าทอเบญจศรี” ที่มีความสวยงามและมีประวัติที่มีความน่าสนใจ เป็นผลิตภัณฑ์ประจำจังหวัด

ทำให้ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP สามารถจำหน่ายและมีรายได้จากการจำหน่ายผลิตตภัฯฑ์ OTOP ประเภทผ้าฯ ให้แก่ชาวจังหวัดศรีสะเกษ ในปี พ.ศ. 2565 จำนวน 946,515,221 บาท

นอกจากนี้ มีการต่อยอดนวัตกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ภายใต้โครงการส่งเสริมกระบวนการเครือข่ายองค์ความรู้ (Knowledge- Based OTOP : KBO) จังหวัดศรีสะเกษ และการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) จังหวัดศรีสะเกษ โดยนำเศรษฐทรัพย์ ที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาต่อยอดนวัตกรรม ใช้กระบวนการผลิตที่ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหรือเศรษฐกิจหมุนเวียน (Bio – Circular – Green Economy : BCG) เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 ซึ่งจะนำมาใช้ในปี 2566 – 2570 ส่วนหนึ่งเป็นการลดต้นทุนในการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิภัณฑ์ เราจึงมีผลิตภัณฑ์ที่เกิดการพัฒนาและนวัตกรรม โดยการบูรณาการร่วมกันกับหลายภาคส่วน ดังนี้

1. ผ้าทอเบญจศรีกลิ่นดอกลำดวน (ร่วมกับ สวทช.)
2. ผงย้อมผ้าเบญจศรี (วิทยาลัยเทคนิคศรีสะเกษ)
3 .ผ้าเหยียบลายลูกแก้วศรีสะเกษ ป้องกัน UVA UVB 1008 ป้องกันรังสี “อัลตราไวโอเลต” UPF 50+ ป้องกันมะเร็งผิวหนัง (มหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ)
4. ผ้าจากเปลือกทุเรียน (มหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ)
5. ผ้าจากเปลือกลำดวน (กลุ่มสตรีทอผ้าไหมบ้านหัวช้าง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ)
6. ผ้าจากตันหม่อน (กลุ่มทอผ้าบ้านอะลาง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ)
7. ผ้า ECO PRINT SISAKET การย้อมผ้าจากใบไม้ (โรงเรียนบัวเจริญวิทยา อำเภอน้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษ)

และนอกจาก ผ้าทอเบญจศรี เรายังมีสินค้า สินค้า OTOP เด่นของจังหวัดศรีสะเกษ ที่มีความหลากหลายมากอาทิเช่น กระเทียมโทนดองน้ำผึ้ง กระเทียมดำ หอมเจียวปลากรอบ ที่มีมาตรฐานมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค และพัฒนานวัตกรรม มาเป็นสติ๊กเกอร์หอมแดง ชาหอมแดง ข้าวหอมมะสิสชาติอร่อยมาก น้ำกระชายน้ำผึ้งมะนาว หอมเจียวปลากรอบ กาแฟโรบัสต้า ลูกประคบ น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น ธูปหอม กระเป๋าทำจากเศษผ้าไหม ฯลฯ โดยมีช่องทางในการจำหน่าย ทาง Offline มีจำหน่ายที่ศูนย์ OTOP จังหวัดศรีสะเกษ ทุกวัน จันทร์ – อาทิตย์ เปิดเวลา ๑๘.๓๐ – ๑๗.๐๐ น. หรือต้องการให้สั่งสินค้า Online สามารถติดต่อได้ที่ เพจ OTOP TODAY ศรีสะเกษ และ OTOP TODAY กรมการพัฒนาชุมชน สมดังคำว่า “อะไร ๆ ก็ดีที่ศรีสะเกษ” นางสาวชนมณัฐ รอดบุญธรรม รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ กล่าวทิ้งท้าย

#OTOPTODAYSISAKET #ผ้าทอเบญศรี #ผ้าทอแบรนด์ศรีสะเกษ #ศรีสะเกษธานีผ้าศรีแส่ว #อะไรอะไรก็ดีที่ศรีสะเกษ #CDDSisaket

พัฒนาชุมชนศรีสะเกษ : นครแห่งความสุข
กลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน : ภาพ
กลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน : รายงานข่าว