กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 3 กรกฎาคม 2565 ดังนี้
1. ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ
ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 18/2565 ลงวันที่ 30 มิถุนายน 2565 กองอำนวยการน้ำแห่งชาติแจ้งเฝ้าระวังน้ำหลาก และน้ำท่วมฉับพลัน ในช่วงวันที่ 1 – 8 กรกฎาคม 2565 เฝ้าระวังน้ำหลาก น้ำท่วมขังบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลัน บริเวณ แม่น้ำแม่สาย จ.เชียงราย และลำน้ำสายหลักและสาขาในพื้นที่ จ.แม่ฮ่องสอน และตาก และเฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ที่มีปริมาตรสูงกว่าเกณฑ์ปฏิบัติการ ได้แก่ อ่างเก็บน้ำกิ่วลม และอ่างเก็บน้ำกิ่วคอหมา จ.ลำปาง และอ่างเก็บน้ำขนาดกลางที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80 มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เสี่ยงน้ำล้นกระทบพื้นที่บริเวณท้ายอ่างเก็บน้ำบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้
2. ผลการดำเนินงานตามมาตรการรองรับ ฤดูฝน ปี 2565
กรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่ติดตามงานก่อสร้างรางระบายน้ำลำกระโดงสาธารณะ ความยาวทั้งสิ้น 605 เมตร โดยโครงการจะเริ่มจากถนนบรมราชชนนี สิ้นสุดบริเวณวัดสมรโกฎิ ด้านปลายเชื่อมต่อกับคลองบางระมาด ปัจจุบันดำเนินการแล้วเสร็จ 197 เมตร คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในวันที่ 15 กันยายน 2565
3. สภาพอากาศ
การคาดการณ์สภาพอากาศในช่วงวันที่ 3 – 4 ก.ค. 65 ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมา ภาคเหนือตอนบน และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่พายุไต้ฝุ่น “ชบา”ที่ปกคลุมบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบนประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรง และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ฝั่งตะวันตกโดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ใน ภาคตะวันออกส่วนในช่วงวันที่ 3 – 8 ก.ค. 65 ร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านประเทศเมียนมา ตอนบนของภาคเหนือ และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยยังคงมีกำลังค่อนข้างแรง ทำให้ประเทศไทย
มีฝนตกต่อเนื่อง โดยมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกและภาคใต้ฝั่งตะวันตก
4. สถานการณ์อุทกภัย
สถานการณ์อุทกภัยในระหว่างวันที่ 29 มิ.ย. – 2 ก.ค. 65 จากสถานการณ์ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทยและอ่าวไทยเริ่มมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งทำให้เกิดสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 4 จ. (เชียงราย แม่ฮ่องสอน พะเยา น่าน)15 อ. 37 ต. 148 ม. สถานการณ์คลี่คลายแล้วทุกจังหวัดอยู่ระหว่างการฟื้นฟู