สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 1 ก.ค. 65

+ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนเพิ่มขึ้นกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง และมีฝนตกหนักบางพื้นที่

+ พายุ “ชบา” คาดว่าจะเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งประเทศจีนตอนใต้ ในช่วงวันที่ 2-3 ก.ค. 65 โดยพายุนี้ไม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อประเทศไทย

+ ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักบริเวณ จ.ตราด (153 มม.) จ.เชียงราย (148 มม.) และ จ.พังงา (86 มม.)

+ แม่น้ำสายหลัก น้ำน้อยถึงปกติ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนแม่น้ำโขง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

+ ปริมาณน้ำ แหล่งน้ำทุกขนาด 44,035 ล้าน ลบ.ม. (54%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38,378 ล้าน ลบ.ม. (54%) เฝ้าระวังน้ำน้อย บริเวณภาคเหนือ (3 แห่ง)

+ กอนช. ประกาศฉบับที่ 18/2565 เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลากและน้ำท่วมฉับพลัน เนื่องจากร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมา ประเทศลาวตอนบนและประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน และอ่าวไทยมีกำลังแรง ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก

ทั้งนี้ กอนช. ได้ประเมินสถานการณ์น้ำจากฝนคาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยาและสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) พบว่าจะมีปริมาณฝนตกสะสมต่อเนื่อง ประกอบกับสถานการณ์น้ำในลำน้ำและแหล่งน้ำธรรมชาติบางพื้นที่ที่ฝนตกหนักอยู่ในเกณฑ์น้ำมากอาจส่งผลให้เกิดน้ำหลาก น้ำท่วมฉับพลัน ในช่วงวันที่ 1 – 8 ก.ค. 65 ดังนี้

 เฝ้าระวังน้ำหลาก น้ำท่วมขัง บริเวณ ภาคเหนือ จ.แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน ลำปาง อุตรดิตถ์ ตาก พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.เลย หนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี หนองบัวลำภู สกลนคร นครพนม ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี ภาคกลาง จ.อุทัยธานี กาญจนบุรี ราชบุรี กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก จ.ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ภาคใต้ จ.ระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่

 เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลัน บริเวณ แม่น้ำแม่สาย จ.เชียงราย ลำน้ำสายหลักและสาขาในพื้นที่ จ.แม่ฮ่องสอน และ จ.ตาก

 เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาตรน้ำสูงกว่าเกณฑ์ปฏิบัติการอ่างเก็บน้ำกักเก็บสูงสุด 2 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำกิ่วลม และอ่างเก็บน้ำกิ่วคอหมา จ.ลำปาง และอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง ที่มีปริมาณน้ำมากกว่า 80% และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเสี่ยงน้ำล้นกระทบพื้นที่บริเวณท้ายอ่างเก็บน้ำ บริเวณ ภาคเหนือ จ.ลำปาง น่าน และพะเยา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.เลย สกลนคร ขอนแก่น มหาสารคาม นครพนม มุกดาหาร และอุบลราชธานี ภาคกลาง จ.กาญจนบุรี และราชบุรี ภาคตะวันออก จ.ชลบุรี และตราด ภาคใต้ จ.กระบี่