ศรีสะเกษ ขานรับนโยบาย ท่านปลัดมท. ลงพื้นที่ขับเคลื่อน วาระผ้าทอมือ ศรีสะเกษ ธานีผ้าศรี..แส่ว

ศรีสะเกษ ขานรับนโยบาย ท่านปลัดมท. ลงพื้นที่ขับเคลื่อน วาระผ้าทอมือ ศรีสะเกษ ธานีผ้าศรี..แส่ว บูรณาการทำงานร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการจัดหาชุดลูกเสือ เนตรนารี แก้ปัญหาความขัดสน ช่วยเหลือเด็กยากจน

วันที่ 30 มิถุนายน 2565 เวลา 13.30 น. ณ กลุ่ม OTOP วิสาหกิจชุมชนบ้านน้อยนาเจริญ หมู่ที่ 14 ตำบลสำโรงปราสาท อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ

นายวัฒนา พุฒิชาติ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ มอบหมายให้นางสาวชนมณัฐ รอดบุญธรรม รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ เป็นประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาคณะทำงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ผ้าอัตลักษณ์จังหวัดศรีสะเกษ พร้อมคณะ ลงพื้นที่ติดตามการขับเคลื่อน วาระผ้าทอมือ “ธานีผ้าศรี…แส่ว” ครั้งที่ 2/65 เพื่อบูรณาการความร่วมมือของทุกภาคีเครือข่าย และติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ สู่เส้นทางการพัฒนาที่ยั่งยืน ส่งเสริมและยกระดับผ้าทอจังหวัดศรีสะเกษให้มีมูลค่าเพิ่ม มีการพัฒนารูปแบบลวดลายที่ทันสมัย ตรงความต้องการของตลาด และเข้าถึงกลุ่มลูกค้าผู้บริโภคได้มากยิ่งขึ้น

โดยมี นางศิริพรรณ อันชื่น อุตสาหกรรมจังหวัดศรีสะเกษ ผู้แทนพาณิชย์จังหวัดศรีสะเกษ ผู้อทนท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ ผู้แทนสนง.พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัด ผู้แทนผู้แทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ผู้แทนผอ.ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯศรีสะเกษ ผู้จัดการบริษัทประชารัฐรักสามัคคี กลุ่มผู้ผลิตผู้ประกอบการ OTOP ภาคีเครือข่ายการพัฒนาฯ จังหวัด/อำเภอ เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ โดยมีนายวิทยา ไชยเดชกำจร นายอำเภอปรางค์กู่ นายประดิษฐ์ ชาญเชี่ยว นายกอบต.สำโรงปราสาท พร้อมหัวหน้าส่วนราชการอำเภอปรางค์กู่ ร่วมให้การต้อนรับ

ในการนี้ นางสาววริศรา โสภาค พัฒนาการจังหวัดศรีสะเกษ พร้อมผู้อำนวยการกลุ่มงานฯ พัฒนาการอำเภอฯ จำนวน 22 อำเภอ พร้อมด้วยนักวิชาการพัฒนาชุมชนจังหวัด/อำเภอปรางค์กู่ และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านน้อยนาเจริญ นำโดย นางวนิดา ระยับศรี นำเสนอข้อมูลความเป็นมาของกลุ่ม ว่ามีความโดดเด่น และเป็นอัตลักษณ์เรื่องผ้าย้อมสีธรรมชาติ มีเทคนิคารทอยกดอกที่หลากหลาย รวมถึงเป็นการรวมตัวทำกิจกรรมของสมาชิกทุกช่วงวัย สามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชน ได้อย่างต่อเนื่องส่งผลให้เศรษฐกิจฐานรากชุมชนเข้มแข็งได้อย่างแท้จริง

นอกจากนี้ยังได้พัฒนาฝีมือของสมาชิกกลุ่มอย่างสม่ำเสมอสามารถคว้ารางวัลการประกวดผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรี ในระดับประเทศ ประเภทเทคนิคสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นความภาคภูมิใจสูงสุดของกลุ่ม ในการ สืบสานอนุรักษ์ผ้าไทย ชูผ้าอัตลักษณ์เบญจศรี “ผ้าศรีลาวา ผ้าศรีกุลา ผ้าศรีมะดัน ผ้าศรีลำดวน และผ้าศรีมะเกลือ” ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากสร้างรายได้กระจายสู่ชุมชน

นอกจากนี้มีการเดินแบบผ้าทอเบญจศรี ผ้าเทคนิคเชิงสร้างสรรค์ ผลงานของกลุ่มโดยสมาชิกกลุ่ม OTOP วิสาหกิจชุมชนบ้านน้อยนาเจริญ และทีมสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอปรางค์กู่ นำโดย นายเอกชัย ว่องไว พัฒนาการอำเภอปรางค์กู่

ในการนี้คณะกรรมการที่ปรึกษา คณะทำงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ผ้าอัตลักษณ์จังหวัดศรีสะเกษ ได้เพิ่มเติมประเด็นเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาทั้งในด้านตัวมาตรฐานผลิตภัณฑ์ การตลาด การออกแบบดีไซน์ เทคโนโลยี นวัตกรรม รวมถึงการประชาสัมพันธ์สื่อสารสร้างการรับรู้แก่บุคคลภายนอก และการถ่ายทอดองค์ความรู้ของสมาชิกในกลุ่มให้กับ กลุ่ม OTOP กลุ่มอื่นๆ ให้มีฝีมือพัฒนา ต่อยอด สินค้าภูมิปัญญาของชาวจังหวัดศรีสะเกษให้เป็นที่ต้องการของตลาด มีรูปแบบสีสันที่ทันสมัย มีมาตรฐานสามารถแข่งขันได้

ทั้งนี้ นางสาววริศรา โสภาค พัฒนาการจังหวัดศรีสะเกษ กล่าวว่า จากข้อสั่งการของท่านสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2565 รวมถึงนโยบายของรัฐบาลในการช่วยเหลือผู้เดือดร้อนทั้งประเทศอยู่แล้ว ผ่าน ศจพ. จังหวัด , ศจพ.อำเภอ ท่านห่วงใยเด็กยากจนที่ผู้ปกครองมีมีปัญหาเรื่องจัดหาเครื่องแบบชุดลูกเสือ เนตรนารี กิจกรรมในวันนี้นอกจากเป็นการลงพื้นที่ขับเคลื่อนงานวาระผ้าทอมือ ยังถือเป็นการร่วมมือกันในการหาช่องทางสนับสนุนผ้าทอมือ เพื่อตัดชุดเครื่องแบบชุดลูกเสือ เนตรนารี ให้กับเด็กยากจนที่ผู้ปกครองมีปัญหาเรื่องจัดหาเครื่องแบบฯ ซึ่งทางกลุ่ม OTOP วิสาหกิจชุมชนบ้านน้อยนาเจริญ และเครือข่าย OTOP จังหวัดศรีสะเกษ ได้ประชุมตกลงหารือในการร่วมสมทบผ้าสีกากี ในการตัดชุดเครื่องแบบดังกล่าว

ท้ายที่สุด นางสาวชนมณัฐ รอดบุญธรรม รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ได้กล่าวทิ้งท้ายว่า ท่านสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ท่านห่วงใยเด็กยากจนที่ผู้ปกครองมีมีปัญหาเรื่องจัดหาเครื่องแบบชุดลูกเสือ เนตรนารี ซึ่งท่านเชื่อมั่นว่าวิชาลูกเสือ เนตรนารี เป็นเรื่องดีที่เด็กทุกคนควรได้เรียน โดยมีเครื่องแบบสวมใสเพื่อเสริมแรงบวกให้เด็กมีจิตวิญญาณของการเป็นลูกเสือ เนตรนารี เพิ่มมากขึ้น จึงเป็นหน้าที่ของคนไทยที่จิตเป็นกุศลจะได้ช่วยเหลือกัน เพื่อแก้ปัญหาความขัดสน ดังคำว่า

พัฒนาชุมชนศรีสะเกษ : นครแห่งความสุข
กลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน : รายงาน