ศรีสะเกษ เดินหน้าขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง แปลงนโยบายสู่การปฏิบัติ ขจัดความยากจน

ศรีสะเกษ เดินหน้าขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง แปลงนโยบายสู่การปฏิบัติ ขจัดความยากจน แก้ไขปัญหาความขัดสน “มิติการเข้าถึงสวัสดิการภาครัฐ” ช่วยเหลือครัวเรือนเป้าหมาย ให้ “พอเพียง ยั่งยืน”

วันที่ 28 มิถุนายน 2565 เวลา 13.00 น. ณ ห้องประชุมสระกำแพงใหญ่ ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดศรีสะเกษ

นายวัฒนา พุฒิชาติ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ มอบหมายให้นายสำรวย เกษกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ/หัวหน้าคณะทำงานขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง “มิติการเข้าถึงสวัสดิการภาครัฐ” จัดประชุมคณะทำงานฯ เพื่อขับเคลื่อนงานขจัดความยากจน แก้ไขปัญหาความขัดสน “มิติการเข้าถึงสวัสดิการภาครัฐ” ซึ่งได้รับการช่วยเหลือในเบื้องต้น ให้ “อยู่รอด” เพื่อขับเคลื่อนงานในลำดับต่อไป ให้ “พอเพียง ยั่งยืน” โดยก่อนเข้าสู่วาระการประชุม

นายสำรวย เกษกุล เปิดเผยว่า จากประเด็นสาระสำคัญในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา มีแนวทางการดำเนินงานขับเคลื่อนงานขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง บนฐานข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยเน้นย้ำ ให้ทุกหน่วยงานบูรณาการทำงานตามแนวทางแก้ไขและพัฒนาฯ ตาม 5 มิติความขัดสน รวมถึงประเด็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการดำเนินงานของ ศจพ.ทุกระดับผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อสื่อสารสร้างการรับรู้ให้ประชาชนในการขับเคลื่อนงานตามนโยบายของรัฐบาล

ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานบันทึกข้อมูลในระบบ TPMAP จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งมีการขับเคลื่อนการดำเนินการช่วยเหลือในพื้นที่ 22 อำเภอ และดำเนินการบันทึกข้อมูลการช่วยเหลือเบื้องต้น ให้ “อยู่รอด” ครบ 100% แล้ว ส่วนกลยุทธ์ในการขับเคลื่อนงานในลำดับต่อไป มีแนวทางดังนี้

1. จังหวัดศรีสะเกษ ได้จัดตั้ง WAR Room ศูนย์ปฏิบัติการขจัดความยากจนคนศรีสะเกษ โดยใช้ห้องประชุมศรีลาวา ของสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ ชั้น 2 ศาลากลางจังหวัด

2. ข้อมูลครัวเรือนยากจนรายมิติที่สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ ส่งต่อให้คณะทำงานฯ แก้ไขปัญหาความขัดสน “มิติการเข้าถึงสวัสดิการภาครัฐ” ให้รายงานการช่วยเหลือฯ เพื่อสรุปข้อมูลการดำเนินงานในภาพรวมทุกมิติต่อไป

3. กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ ให้บูรณาการการทำงานร่วมกันทุกระดับ โดยมีท่านนายอำเภอ เป็นหัวเรือใหญ่ในพื้นที่ มี ปลัดอำเภอ พัฒนาการอำเภอ พัฒนากร ผู้นำจิตอาสาภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ช่วยประชาสัมพันธ์ทางสิ่อ Socail Media ทุกช่องทาง ทุกวัน ทั้งนี้สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด จะรวบรวมและคัดข่าวจากอำเภอ ส่งต่อให้ผู้บริหาร เพื่อรายงานตามลำดับ

ส่วนการจัดทำสื่อ clip ประชาสัมพันธ์ จัดทำเป็น 2 ส่วน

1) ให้ทุกอำเภอดำเนินการจัดทำ Show Case การแก้ไขปัญหาใน 5 มิติ

2) จังหวัด สรุปทำ clip ที่เป็น case best practice ก่อน/หลังดำเนินการ และสัมภาษณ์ความรู้สึกของครัวเรือนที่ได้รับความช่วยเหลือ โดยจัดส่ง clip ทุกเช้าวันจันทร์ และส่งให้ประชาสัมพันธ์จังหวัด ทำข่าวเพื่อเผยแพร่ในช่องทางอื่น ๆ ด้วย

4. กำหนดแผนการลงพื้นที่ติดตามงานในพื้นที่อำเภอ เพื่อให้การขับเคลื่อนงานเกิดประโยชน์สูงสุดต่อครัวเรือนเป้าหมาย ฯ

5. ต้องจัดหาเจ้าภาพในการรับผิดชอบกิจกรรมที่แก้ไขให้ชัดเจน

ท้ายที่สุด นายสำรวย เกษกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ กล่าวว่า ภายใต้อำนวยการท่านวัฒนา พุฒิชาต ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ กล่าวชื่นชมการขับเคลื่อนงานในห้วงระยะที่ผ่านมา ซึ่งเห็นการทำงานร่วมกันทุกภาคส่วน เชื่อมกันทุกมิติ ทั้ง 5 มิติเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดสน บูรณาการแผนงาน จัดทำเมนูการให้ความช่วยเหลือครัวเรือนเป้าหมาย ให้ “อยู่รอด พอเพียง ยั่งยืน”

ทั้งนี้ เน้นย้ำ “ทุกคนมีศักยภาพ พัฒนาได้” ทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครือข่ายในพื้นที่ ให้ร่วมมือกันทำงาน ทุกระดับ ทั้งสงเคราะห์ และที่สำคัญ “พัฒนา” จากสิ่งที่มีอยู่เป็นทุนเดิม จึงเกิดการขับเคลื่อนงานที่จะผลักดันครัวเรือนเปราะบางเข้าสู่ห่วงโซ่คุณภาพ ให้สามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน

“คนเมืองศรี ฮักแพงแบ่งปัน สุขเสมอกันที่…ศรีสะเกษ”

พัฒนาชุมชนศรีสะเกษ : นครแห่งความสุข

กลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน : รายงาน