สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 6 มิ.ย. 65

+ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ โดยมีฝนตกหนักบางแห่ง

+ ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักบริเวณ จ.นครนายก (85 มม.) จ.ตราด (61 มม.) และ จ.สงขลา (54 มม.)

+ พื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก ดินถล่ม ในช่วง 1-2 วันนี้ บริเวณพื้นที่ จ.เพชรบูรณ์ และสตูล

+แม่น้ำสายหลัก น้ำน้อยถึงปกติ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนแม่น้ำโขง มีมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

+ ปริมาณน้ำ แหล่งน้ำทุกขนาด 46,089 ล้าน ลบ.ม. (56%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 40,197 ล้าน ลบ.ม. (56%) เฝ้าระวังน้ำน้อย บริเวณภาคเหนือ (2 แห่ง)

+ วันที่  6 มิ.ย. 65 พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) และผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) เป็นประธานการแถลงผลงานการบริหารจัดการน้ำฤดูแล้ง ปี 2564/65 และการเตรียมรับมือฤดูฝน ปี 2565 โดยมีผู้แทนทุกหน่วยงานด้านน้ำเข้าร่วม ณ ห้องแคทลียา โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพฯเนื่องจากการบูรณาการแก้ไขปัญหาในช่วงฤดูแล้งปี 64/65 ผ่านมา ส่งผลให้ประเทศไทยไม่มีการประกาศภัยแล้ง ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ปฏิบัติการตามมาตรการและแผนเชิงรุกเพื่อรับมือภัยแล้งที่วางไว้อย่างเคร่งครัด สามารถลดและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนจากสถานการณ์ภัยแล้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สำหรับการบริหารจัดการน้ำฤดูฝน ปี 65 ที่มีปริมาณน้ำต้นทุนของแหล่งน้ำทั่วประเทศ (ณ วันที่ 1 พ.ค.65) รวม 46,660 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็น 57% (ปริมาณน้ำต้นทุนมากกว่าปี 64) ซึ่ง กอนช. ได้ดำเนินการตามมาตรการที่ 1 (13 มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2565) โดยคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมรายเดือน ตั้งแต่เดือน พ.ค.–ธ.ค. 65 ที่มีข้อมูลระบุรายพื้นที่ระดับจังหวัด อำเภอ และตำบล เพื่อให้หน่วยงานได้เตรียมพร้อมแผนปฏิบัติในเชิงพื้นที่ได้อย่างตรงจุด ป้องกันผลกระทบในช่วงฤดูฝน รวมถึงการใช้แผนที่ฝน one map ติดตามสภาพฝนรายภาคในระยะ 3 เดือนนี้อย่างใกล้ชิด รวมถึงเพื่อเป็นข้อมูลให้หน่วยงานที่รับผิดชอบการบริหารจัดการน้ำในเขื่อนนำไปวางแผนเก็บกักน้ำหรือระบายน้ำเกิดความสมดุลมากที่สุด