วันที่ 25 เมษายน 2562 ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ SACICT ภายใต้การนำของ นางอัมพวัน พิชาลัย ผู้อำนวยการฯ มีนโยบายในการส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างให้ชุมชนหัตถกรรม ซึ่งเป็นชุมชนที่รวบรวมแหล่งภูมิปัญญางานศิลปหัตถกรรม และมีผู้มีองค์ความรู้จากครูและทายาทฯ เป็นผู้ถ่ายทอดภูมิปัญญาที่เป็นอัตลักษณ์ โดยเปิดกว้างให้กับคนที่สนใจและขยายสู่สังคมวงกว้างได้เข้าไปเรียนรู้และท่องเที่ยวในชุมชน ทั้งนี้นอกจากชุมชนหัตถกรรมไทยแล้ว SACICT ยังขยายความร่วมมือไปสู่ชุมชนในต่างประเทศ เพื่อประยุกต์ model ของชุมชนในต่างประเทศมาปรับปรุงและต่อยอดชุมชนหัตถกรรมของไทยให้เกิดการพัฒนา
SACICT ได้ลงพื้นที่ศึกษาแหล่งเชื่อมโยงชุมชมหัตถกรรมในไต้หวัน ณ เมือง Ruifeung และเมือง Yilan ประเทศไต้หวัน โดยได้เยี่ยมชุมชนหัตถกรรม (Shui Nan Dong) ที่ดัดแปลงโรงภาพยนตร์เก่าตั้งแต่ยุคสมัยญี่ปุ่นขุดเหมืองทองปิดการใช้งานในปี 1987 โดยรักษาไว้ปัจจุบันเป็นจัดแสดงผลงานศิลปินในชุมชน ผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นที่ทำจากไม้ในประเทศจากเมืองต่างๆ มาแปรรูปเป็นของใช้ สินค้าแต่ละชิ้นมีการเล่าเรื่องที่น่าสนใจ อาทิ กระดิ่งไม้ ตัวแทนชุมชนเล่าว่า “อดีตหัวหน้าครอบครัวต้องทำงานในเหมืองที่เสี่ยงอันตราย ตอนเช้าผู้เป็นพ่อจะพกกระดิ่งติดตัวไปด้วย คนในครอบครัวจะคอยฟังเสียงกระดิ่งถ้าตกเย็นได้ยินเสียงกระดิ่งดังมา แสดงว่าคนอันเป็นที่รักกลับบ้านมาอย่างปลอดภัย” นอกจากนี้กระทรวงวัฒนธรรมของไต้หวันได้เสนอแนะแนวทางการพัฒนาชุมชนคือ 1) เป็นหัตถกรรมกลุ่มสูงอายุยุค 70 ที่สร้างสรรค์งานหัตถกรรม ให้สามารถเล่าเรื่องราวให้น่าสนใจ โดยใช้ระยะเวลาสั้นๆ 2) สนับสนุนคนกลุ่มหนุ่มสาว(คนรุ่นใหม่)กลับมาพัฒนาสินค้าในชุมชนให้สามารถนำสินค้าของชุมชนไปจำหน่วยที่อื่นๆ นอกชุมชนสร้างรายได้กลับมาชุมชน 3) การใช้สถานที่ก่อสร้างเก่าๆที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว มาปรับปรุงให้เป็นที่จัดแสดงองค์ความรู้และงานด้านศิลปะเพิ่มมากขึ้นในแต่ละที่ ในการนี้ตัวแทนของ SACICT ยังได้ศึกษาการบริหารจัดการของพิพิธภัณฑ์เหมืองทองคำ และได้เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์หลานหยางด้วย
เมื่อ SACICT ได้ลงพื้นที่ศึกษาข้อมูลของชุมชนหัตถกรรมไต้หวัน พบว่า
1.การพัฒนาชุมชนหัตถกรรมโดยเชื่อมโยงงานหัตถกรรมวิถีชุมชนแบบดั้งเดิมโดยการเล่าเรื่องที่น่าสนใจจากข้อมูลประวัติศาสตร์ สภาพแวดล้อมภายในชุมชน บริบทของชุมชนทุกมิติ
2.ก่อนการสร้างรายได้ชุมชนในระยะยาวนั้นที่มั่นคงนั้น มีความจำเป็นให้ชุมชนมีส่วนร่วม และภาคภูมิใจในชุมชนก่อน ตลอดจนโยบายของภาครัฐทิศทางการพัฒนาระยะยาวที่จัดเจนในการรายได้สร้างกับชุมชน
3.การพัฒนาเครื่องมือ Platform สำหรับชุมชนเป็นสิ่งที่จำเป็นในการถ่ายข้อมูลองค์ความรู้ต่างๆ โดยมีหน่วยงานเข้าไปสนับสนุนในระยะแรก และชุมชนเองสามารถดำเนินการเองได้ในระยะยาว
4.การนำเสนอพิพิธภัณฑ์ต่างๆ โดยใช้การเล่าเรื่องที่น่าสนใจที่สามารถสัมผัสความรู้สึก การเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย การจัดสรรพื้นที่ชัดเจนเป็นสัดส่วน การออกแบบสื่อต่างๆที่น่าสนใจ ตลอดจนเจ้าหน้าที่เดินนำชม ที่สามารถการเล่าเรื่องได้น่าสนใจ