องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ สถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย และบริษัท ทรู คอปเปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) คัดเลือก 4 นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ยอดเยี่ยมระดับประเทศ ใน “โครงการทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย ประจำปี 2564” (Young Thai Science Ambassador 2021) ครั้งที่ 17 เพื่อสร้างนักสื่อสารด้านวิทยาศาสตร์ในระดับอุดมศึกษา พร้อมก้าวเข้าสู่การเป็นนักสื่อสารวิทยาศาสตร์สู่สังคมที่พร้อมผลักดันสังคมวิทยาศาสตร์ของประเทศให้เข้มแข็งต่อไป
ดร.ชนินทร วรรรวิจิตร รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ กล่าวว่า “องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ สถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย และบริษัท ทรู คอปเปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) จัดประกวดนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ระดับประเทศ ใน “โครงการทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย ประจำปี 2564″ (Young Thai Science Ambassador 2021) ครั้งที่ 17 หัวข้อ “สุขที่กาย ด้วยความเข้าใจ – Better Health”
เพื่อสื่อสารความเข้าใจเรื่องสุขภาพที่ดีและไม่ดี จะเกิดผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมที่เรากำลังเผชิญอยู่ได้อย่างไร และสามารถดูแลสุขภาพให้ดีขึ้นในภาวะเช่นนี้ได้อย่างไร ซึ่งถือเป็นโครงการเพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาบุคลากรด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์ในระดับอุดมศึกษาให้มีความรู้ ความสามารถ ในการถ่ายทอดองค์ความรู้และเรื่องราววิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมสู่สังคม เพื่อสร้างนักสื่อสารด้านวิทยาศาสตร์ในการผลักดันสังคมวิทยาศาสตร์ในประเทศให้เข้มแข็งมากยิ่งขึ้น”
ในปีนี้ รางวัลนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ยอดเยี่ยม จำนวน 4 รางวัล พร้อมการเป็นตัวแทนประเทศไทยในการร่วมกิจกรรมด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์ ณ ประเทศเยอรมนี (เดือนมีนาคม 2566) ได้แก่
1.นางสาวเนรันตร์ชลา สุขะพละ ชื่อผลงาน ผู้ป่วยซึมเศร้าจะมาเล่าให้ฟัง-ที่ว่าซึมเศร้า เพราะอะไรเล่า ถึงเศร้ากันนะ
2.นายภูวนนท์ ชัยชนะอุดมกุล ชื่อผลงาน รู้วิทย์ซักนิด ชีวิตแจ่มใส – เราจะฉีดวัคซีนไปทำไม ไม่ฉีดได้หรือเปล่า?
3.นายณัฐดนัย คำหลวง ชื่อผลงาน สิ่งแวดล้อมใน 5 นาที – น้ำทะเลเป็นกรด เพราะควันหมูปิ้งจริงหรือ
4.นางสาวสุขิตา ภูชะธง ชื่อผลงาน Everyday วิทย์ Nature-ให้พื้นที่สีเขียวได้เยียวยาคุณ
รางวัลนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ดีเด่น จำนวน 6 รางวัล พร้อมรับทุนการศึกษาคนละ 5,000 บาท ได้แก่
1.นางสาวพรไพลิน หอมสมบัติ ชื่อผลงาน Math Fortune Teller-พรุ่งนี้สถานการณ์โควิดจะเป็นอย่างไร
2.นางสาวชลิตา แทนเอี่ยม ชื่อผลงาน Blue Light Bloom Night-อันตรายกว่าที่คิดถ้ายังใกล้ชิดwithแสงสีฟ้า
3.นายฉัตรปกรณ์ อ่อนโพธิ์แก้ว ชื่อผลงาน ความเครียดต้องแก้ – อเล็กซ่าสาวน้อย ผู้เครียดในเรื่องเรียน
4.นางสาวอภิชญา ปริศนานันทกุล ชื่อผลงาน ในนามีข้าว…ข้าวอะไรหนอ-ข้าวน้องใหม่ ก่ำเจ้า มช.107
5.นายญาณิศ ลุนพรม ชื่อผลงาน What’s wrong with you?-PM2.5 ภัยเงียบที่คุณ(อาจ)ไม่รู้ตัว
6.นางสาวกมลทิพย์ โล่ภิญโญสิริ ชื่อผลงาน รู้ทัน Climate change – ภัยร้ายที่มากับภาวะโลกร้อน
รางวัลนักสื่อสารวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ จำนวน 7 รางวัล พร้อมรับสิทธิเป็นสมาชิก อพวช. (ประเภทครอบครัว) ฟรี 1 ปี ได้แก่
1.นางสาวอารียา สีหะวงศ์ ชื่อผลงาน ไม่ไหวก็ไม่เป็นไรนะ-ซึมเศร้าเข้าใจได้
2.นายพีรณัฐ อุณหะนันทน์ ชื่อผลงาน ฅนออฟฟิศ-การไม่ปวดหลังเป็นลาภอันประเสริฐ
3.นายฮาริส เกิดภักดี ชื่อผลงาน โลกสวยด้วยมือเค้า – ทิ้งแมสก์ผิดโลกเปลี่ยน
4.นายภานุวัฒน์ พลแหลม ชื่อผลงาน เรื่องเครียดติดตลก-ตอนลุงเขียวสายแรก
5.นางสาวโรสซา แบ็ลละ สายหยก ตัน ชื่อผลงาน BadDaily podcast-Leaf Behind
6.นางสาวอารยา ผาลัง ชื่อผลงาน Start a Good day-ทำไมการนอนถึงสำคัญ?
7.นางสาวกวินธิดา ปิ่นทอง ชื่อผลงาน health wealth-Malnutrition
ดร.ชนินทร ฯ กล่าวทิ้งท้ายว่า “ขอแสดงความยินดีกับผู้ที่ได้รับรางวัลนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ดีเด่น และนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ยอดเยี่ยม ทั้ง 10 ท่าน และขอชื่นชมเยาวชนนักสื่อสารวิทย์รุ่นใหม่ทุกท่านที่มุ่งมั่นในการพัฒนาตนเองในด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์อันเป็นวัตถุประสงค์หลักของโครงการฯ นี้ เพื่อพัฒนาไปเป็นทรัพยากรบุคคลที่เป็นกำลังสำคัญของชาติ โดยนำความรู้ที่ได้รับไปค้นคว้าต่อยอดและพัฒนาตนเองให้เป็นบุคลากรด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์ เพื่อสร้างประโยชน์สูงสุดต่อสังคมและประเทศชาติต่อไป”