+ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักส่วนภาคใต้ฝนตกหนักมากบางพื้นที่
+ ปริมาณฝน 24 ชั่วโมง สูงสุดที่ จ.แพร่ (185) จ.พระนครศรีอยุธยา (147) และ จ.กาญจนบุรี (78)
+ แม่น้ำสายหลัก น้ำน้อยถึงปกติ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนแม่น้ำโขง มีมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
+ ปริมาณน้ำ แหล่งน้ำทุกขนาด 45,411 ล้าน ลบ.ม. (55%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 39,588 ล้าน ลบ.ม. (55%) เฝ้าระวังน้ำน้อย จำนวน 4 แห่ง บริเวณภาคเหนือ (3 แห่ง) ภาคตะวันตก (1 แห่ง)
+ เฝ้าระวังดินถล่มและน้ำป่าไหลหลาก บริเวณ จังหวัดแพร่ (อ.เมืองฯ เด่นชัย วังชิ้น และร้องกวาง) อุตรดิตถ์ (อ.ท่าปลา) นครราชสีมา (อ.วังน้ำเขียว และด่านขุนทด) ศรีสะเกษ (อ.ภูสิงห์ และขุนหาญ) อุบลราชธานี (อ.บุณฑริก นาจะหลวย น้ำขุ่น และน้ำยืน) และปราจีนบุรี (อ.นาดี)
+ กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ติตตามสถานการณ์น้ำในแม่น้ำโขงมีแนวโน้มลดลง
กอนช. ได้ติดตามสถานการณ์ในแม่น้ำโขง ตั้งแต่วันที่ 16-17 พฤษภาคม 2565 ระดับน้ำที่สถานีจิ่งหง (ประเทศจีน) ลดลงสะสม ประมาณ 1.03 ม. (วันที่ 16 พฤษภาคม 2565 ลดลง 0.61 ม. และวันที่ 17 พฤษภาคม 2565 ลดลง 0.42 ม.) (หรือมีอัตราการระบายน้ำลดลงสะสม 880 ลบ.ม./วินาที) และได้คาดการณ์ประเมินระดับน้ำในแม่น้ำโขงจากสถานการณ์ดังกล่าว พบว่า
สถานีเชียงแสน จ.เชียงราย ตั้งแต่วันที่ 17- 19 พฤษภาคม 2565 ระดับน้ำลดลงสะสมประมาณ 0.6 – 0.8 ม.
สถานีเชียงคาน จ.เลย ลงมาถึง สถานีโขงเจียม จ.อุบลราชธานี ในช่วงวันที่ 20 – 23 พฤษภาคม 2565 ระดับน้ำลดลงสะสมประมาณ0.5 – 0.6 ม.
กอนช. ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและจังหวัดริมน้ำโขงประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำในแม่น้ำโขงและแจ้งเตือนให้ประชาชนที่สัญจรทางน้ำและประกอบกิจกรรมในบริเวณแม่น้ำโขง รวมทั้งผู้ที่อาศัยอยู่บริเวณริมแม่น้ำโขง 8 จังหวัด ได้ติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกลัชิด และเตรียมการเฝ้าระวังผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น จากการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำในแม่น้ำโขงในช่วงเวลาดังกล่าว