สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 13 พ.ค. 65

+ ประเทศไทยมีฝนตกต่อเนื่องกับมีฝนตกหนักบางแห่ง

+ ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักบริเวณ จ.จันทบุรี (129 มม.) จ.หนองคาย (116 มม.) และ จ.เชียงราย (108 มม.)

+ แม่น้ำสายหลัก น้ำน้อยถึงปกติ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนแม่น้ำโขง มีมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

+ ปริมาณน้ำ แหล่งน้ำทุกขนาด 45,694 ล้าน ลบ.ม. (56%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 39,883 ล้าน ลบ.ม. (56%) เฝ้าระวังน้ำน้อย บริเวณภาคเหนือ (3 แห่ง) ภาคตะวันออก (1 แห่ง)

+ กรมอุตุนิยมวิทยาประกาศ เข้าสู่ฤดูฝนอย่างเป็นทางการ ตั้งแต่วันที่ 13 พ.ค. 65 เป็นต้นไป เนื่องจากมีฝนตกชุกและต่อเนื่องครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ ประกอบกับลมที่พัดปกคลุมประเทศไทยที่ได้เปลี่ยนทิศเป็นลมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งพัดนำความชื้นจากทะเลอันดามันเข้ามาปกคลุมประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง และลมชั้นบนได้เปลี่ยนทิศเป็นลมตะวันออกเฉียงเหนือ โดยคาดว่าปริมาณฝนรวมของทั้งประเทศในช่วงฤดูฝนปีนี้จะมากกว่าค่าปกติเล็กน้อย (ประมาณร้อยละ 3) แต่จะน้อยกว่าปี 2564 (ปริมาณฝนรวมของทั้งประเทศในช่วงฤดูฝนปี 2564 มากกว่าค่าปกติร้อยละ 8)

โดยในช่วงตั้งแต่กลางเดือน มิ.ย. – กลางเดือน ก.ค. จะเกิดสภาวะฝนทิ้งช่วง ส่งผลให้ปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อยอาจทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำในด้านการเกษตรในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่แล้งซ้ำซากนอกเขตชลประทาน และในช่วงเดือน ส.ค. และ ก.ย. เป็นช่วงที่มีฝนตกชุกหนาแน่นที่สุด และมีโอกาสสูงที่จะมีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนผ่านบริเวณประเทศไทยประมาณ 1–2 ลูก ซึ่งจะส่งผลให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ และก่อให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก รวมทั้งน้ำลันตลิ่งได้ในหลายพื้นที่ สำหรับฤดูฝนของประเทศไทยตอนบนจะสิ้นสุดประมาณกลางเดือน ต.ค. ส่วนภาคใต้จะมีฝนตกต่อไปถึงกลางเดือน ม.ค.

ทั้งนี้ กอนช. ได้เตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ตาม 13 มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2565 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำฝนฤดูฝน โดยมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามมาตรการต่อไป