+แม่น้ำสายหลัก น้ำน้อยถึงปกติ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนแม่น้ำโขง น้ำน้อยถึงปกติ มีลดลง
+ ปริมาณน้ำ แหล่งน้ำทุกขนาด 46,660 ล้าน ลบ.ม. (57%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 40,869 ล้าน ลบ.ม. (57%) เฝ้าระวังน้ำน้อย จำนวน 4 แห่ง บริเวณภาคเหนือ (3 แห่ง) ภาคตะวันตก (1 แห่ง) เฝ้าระวังน้ำมาก จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ อ่างฯ ป่าสักชลสิทธิ์
+ กอนช. ติตตามหน่วยงานดำเนินการเตรียมความพร้อมตาม 13 มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2565 ดังนี้
กรมทรัพยากรน้ำ เร่งดำเนินการตามมาตรการที่ 4 ซ่อมแซม ปรับปรุงอาคารชลศาสตร์/ระบบระบายน้ำสถานีโทรมาตรให้พร้อมใช้งาน โดยดำเนินการติดตามตรวจสอบ ซ่อมแซมปรับปรุงบำรุงรักษาสถานีเตือนภัยล่วงหน้าน้ำท่วมฉับพลัน-ดินถล่ม (Early Warning) ดังนี้
– ในเขตพื้นที่ จ.น่านและแพร่ จำนวน 17 สถานี
– ในเขตพื้นที่ จ.นครสวรรค์ อุทัยธานี และเพชรบูรณ์ จำนวน 16 สถานี
กรมเจ้าท่า เร่งดำเนินการตามมาตรการที่ 6 ขุดลอกคูคลองและกำจัดผักตบชวา ดังนี้
ปฏิบัติงานขุดลอกร่องน้ำ เพื่อเพิ่มพื้นที่กักเก็บน้ำ และเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำช่วงฤดูน้ำหลาก
– แม่น้ำแม่มอก ต.ไทยชนะศึก อ.ทุ่งเสลี่ยม จ.สุโขทัย ระยะทาง 5,000 เมตร
– แม่น้ำเจ้าพระยา ต.น้ำทรง อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ ระยะทาง 900 เมตร ประชาชนในพื้นที่ได้รับประโยชน์ 120 ครัวเรือน พื้นที่ทางการเกษตร 2,500 ไร่
– แม่น้ำเจ้าพระยา ต.ประศุก อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี 1,350 เมตร
– น้ำนาทับและน้ำสะกอม อ.จะนะ จ.สงขลา ระยะทาง 1,300 เมตร
ปฏิบัติงานกำจัดผักตบชวา วัชพืชและสิ่งกีดขวางทางน้ำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการไหลของน้ำดังนี้
– แม่น้ำปิง เทศบาลเมืองกำแพงเพชร อ.เมือง จ.กำแพงเพชร ปริมาณ 45,000 ตัน ปัจจุบันผลการดำเนินงาน 11.43%
– แม่น้ำน้อย แม่น้ำเจ้าพระยา จ.พระนครศรีอยุธยา จำนวน 178,000 ตัน ปัจจุบันผลการดำเนินงาน 51.94%