สถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 1 พ.ค. 65

+แม่น้ำสายหลัก น้ำน้อยถึงปกติ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนแม่น้ำโขง น้ำน้อยถึงปกติ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
+ ปริมาณน้ำ แหล่งน้ำทุกขนาด 46,778 ล้าน ลบ.ม. (57%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 40,983 ล้าน ลบ.ม. (57%) เฝ้าระวังน้ำน้อย จำนวน 4 แห่ง บริเวณภาคเหนือ (3 แห่ง) ภาคตะวันตก (1 แห่ง)

กอนช. ติตตามหน่วยงานดำเนินการเตรียมความพร้อมตาม 13 มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2565 ดังนี้
 มาตรการที่ 3 ทบทวน ปรับปรุงเกณฑ์บริหารจัดการน้ำuในแหล่งน้ำขนาดใหญ่-กลาง และเขื่อนระบายน้ำ โดย สทนช. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผ่านการประชุมคณะอนุกรรมการจัดทำหลักเกณฑ์และมาตรฐานการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 21 เม.ย. 65
 มาตรการที่ 6 ขุดลอกคูคลองและกำจัดผักตบชวา ดังนี้

– กรมชลประทาน ร่วมกับจังหวัดลพบุรี ดำเนินการขุดลอกแม่น้ำ แม่น้ำบางขาม ต.มหาสอน อ.บ้านหมี่ ต.บางขาม อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี ระยะทาง 10 กิโลเมตร พื้นที่รับประโยชน์ 40,000 ไร่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำของแม่น้ำบางขามในช่วงฤดูน้ำหลาก รวมทั้งเพิ่มปริมาณเก็บกักน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง

– กรมเจ้าท่า ปฏิบัติงานขุดลอก เพื่อเพิ่มพื้นที่กักเก็บน้ำ และเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำช่วงฤดูน้ำหลาก ดังนี้
 แม่น้ำคำ ต.จันจว้า อ.แม่จัน จ.เชียงราย ระยะทาง 3,050 เมตร ประชาชนในพื้นที่ได้รับประโยชน์ 339 ครัวเรือน พื้นที่การเกษตร 17,800 ไร่
 แม่น้ำปัว ต.แงง และุต.เจดีย์ชัย อ.ปัว จ.น่าน ระยะทาง 1,800 เมตร ประชาชนในพื้นที่ได้รับประโยชน์ 550 ครัวเรือน พื้นที่การเกษตรประมาณ 1,300 ไร่
 คลองลุงช่วง ต.บ้านใหม่สามัคคี อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี ระยะทาง 1,650 เมตร
 คลองบางม่วง (ร่องใน) ต.บางม่วง อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา ระยะทาง 1,300 เมตร
 น้ำปูลากาปะและน้ำปูลาวาจิ อ.เมือง จ.นราธิวาส ระยะทางตามแผน 1,800 เมตร