1. ผลการดำเนินงานตาม 9 มาตรการ รองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำ ฤดูแล้ง ปี 2564/65
กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ดำเนินการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาล ประจำปี 2565 โดยมีแผนงานทั้งหมด 543 บ่อ ผลการดำเนินงาน ณ วันที่ 29 เมษายน 2565 ได้ดำเนินการแล้วเสร็จเรียบร้อยทั้งหมด ผลประโยชน์ที่ได้รับประกอบด้วยปริมาณน้ำที่คาดว่าจะได้ 20.27 ล้าน ลบ.ม./ปี ประชาชนได้รับประโยชน์ 20,345 ครัวเรือน พื้นที่ 26,200 ไร่
2. แหล่งน้ำทั่วประเทศ
2.1 แหล่งน้ำทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำใช้การ 22,739 ล้าน ลบ.ม. (39%) แบ่งเป็น แหล่งน้ำขนาดใหญ่38 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 17,378 ล้าน ลบ.ม. (36%) ขนาดกลาง 355 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 2,911 ล้าน ลบ.ม. (57%) และขนาดเล็ก 139,894 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 2,450 ล้าน ลบ.ม. (48%) สำหรับอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย ได้แก่ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ และเขื่อนนฤบดินทรจินดา
2.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยฯ และเขื่อนป่าสักฯ) ปริมาณน้ำใช้การ 3,568 ล้าน ลบ.ม. (20%) โดยเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย
3. ผลการจัดสรรน้ำ (สะสมตั้งแต่ 1 พ.ย. 64 ถึงปัจจุบัน)
3.1 อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่สามารถจัดสรรน้ำได้มีจำนวน 35 แห่ง มีปริมาณน้ำใช้การทั้งสิ้น 17,272ล้าน ลบ.ม. (36%) มีแผนการจัดสรรน้ำ 16,678 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 17,840 ล้าน ลบ.ม. (107%)
3.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีแผนการจัดสรรน้ำ 4,700 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 5,427ล้าน ลบ.ม. (115%)
4. คุณภาพน้ำ และแจ้งเตือนน้ำทะเลหนุนสูง
4.1 คุณภาพน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและการเกษตร ในแม่น้ำสายหลักทั่วประเทศ คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ
4.2 ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณป้อมพระจุลจอมเกล้า คาดว่าระดับน้ำจะขึ้นสูงสุด เวลา 18.01 น. ประมาณ 1.28 ม. จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ซึ่งกองอำนวยการน้ำแห่งชาติวิเคราะห์แล้วพบว่ายังไม่มีผลกระทบต่อคุณภาพน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยา
5. การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
สทนช. จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นการจัดทำผังน้ำโขงตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่26-29 เม.ย. 2565 ในพื้นที่ 6 จังหวัด ประกอบด้วย เลย บึงกาฬ อุดรธานี นครพนม มุกดาหาร และสกลนคร เพื่อนำเสนอร่างผังน้ำ รายการประกอบผัง ฉบับร่าง รวมทั้งการใช้ประโยชน์จากผังน้ำ และข้อเสนอแนะต่างๆ โดยมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้าร่วมประชุม ประกอบด้วยคณะกรรมการลุ่มน้ำ หน่วยงานภาครัฐ ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชนและสื่อมวลชน โดยที่ประชุมได้รับทราบและพิจารณาให้ข้อเสนอแนะต่อร่างผังน้ำและร่างรายการประกอบผังน้ำ เพื่อใช้ในการปรับปรุงร่างผังน้ำ ให้เกิดความสมบูรณ์ เพื่อนำไปประกาศใช้ในราชกิจานุเบกษาต่อไป