แพทย์ระบาดวิทยา ผลงานประจักษ์ชัด…แต่เป็น หมอที่โลกลืม

งานระบาดวิทยา…เป็นงานที่มีความสำคัญ ช่วยในการป้องกันควบคุมโรค โดยเฉพาะโรคติดต่อที่อันตรายและทำให้อัตราการเสียชีวิตสูง ในระยะหลังงานด้านระบาดวิทยาของกระทรวงสาธารณสุข นอกจากจะเกี่ยวข้องกับการเจ็บป่วยและการเสียชีวิตแล้ว ยังเกี่ยวเนื่องไปถึงเรื่องความมั่นคง และความสูญเสียทางเศรษฐกิจของประเทศด้วย

 

นายแพทย์ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข เล่าถึง แพทย์เฉพาะทางด้านระบาดวิทยาว่า เป็นกลุ่มแพทย์ที่จบแล้วไปฝึกอบรมเพิ่มเติมภาษาทางวงการแพทย์เรียกว่าเป็นแพทย์ประจำบ้าน Residency Training) ส่วนใหญ่คนที่เข้ามาเรียนระบาดวิทยาจะต้องจบแพทย์ 3 ปี…กลับไปทำงานใช้ทุนเรียบร้อยแล้วก็เข้ามาศึกษาต่อ ซึ่งการเรียนเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยาจะใช้ระยะเวลาเวลา 3 ปี เท่ากับการเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาอื่น ๆ โดย 2 ปีแรกจะฝึกงานอยู่ที่สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เพราะว่าหลักสูตรนี้เป็นแบบ On the job training เรียนรู้ไปพร้อมกับการปฏิบัติงานโดยมีอาจารย์เป็นคนคอยให้คำแนะนำส่วนปีที่ 3 จะสามารถไปเรียนต่อปริญญาโทภายในประเทศหรือต่างประเทศก็ได้ เนื่องจากสาขานี้เป็นสาขาที่ขาดแคลนพิเศษ

สำหรับการทำงานของแพทย์ระบาดวิทยา เมื่อเรียนจบสามารถเข้าทำงานที่กรมควบคุมโรค กรมการแพทย์ หรือ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ก็ได้ เพราะหน่วยงานส่วนกลางยังขาดแคลนแพทยส์ าขานีอ้ ยู่เปน็ จำนวนมาก แต่ถ้าไปอยู่ต่างจังหวัดก็สามารถไปทำงานที่โรงพยาบาล หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดก็ได้ โดยในช่ววง 2 – 3 ปีที่ผ่านมาเพิ่งจะมีพระราชบัญญัติ โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ซึ่งกำหนดให้ทุกอำเภอจะต้อง มีหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อสามารถที่จะสอบสวนโรคระบาดได้ ไม่ว่าจะเป็น…โรคไข้เลือดออกระบาด อาหารเป็นพิษโรคระบาด รวมไปถึงโรคติดต่ออันตรายต่าง ๆ เช่น โรคไข้หวัดนก อีโบลา เมอร์ส เป็นต้น ซึ่งถือเป็นเรื่องดีที่ประชาชนจะได้ประโยชน์…จากแต่ก่อนหากเกิดโรคติดต่ออันตราย จะต้องรอทางส่วนกลางลงพื้นที่ไปจัดการแก้ปัญหาให้ แต่ในปัจจุบันทางจังหวัดสามารถดำเนินการหรือจัดการได้ด้วยตัวเอง…ทำให้สามารถควบคุมและป้องกันการแพร่กระจายของโรคติดต่อได้รวดเร็วขึ้น

ตามมาตรฐานกำหนดว่า ในจังหวัดหนึ่ง ๆ จะต้องมีหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่ออย่างน้อยอำเภอละ 1 ทีมทำให้มีความต้องการแพทย์ระบาดวิทยาเพิ่มมากขึ้น แต่เนื่องจากแพทย์สาขานี้…เมื่อจบไปแล้วไม่สามารถไปทำคลินิกได้ ความเชี่ยวชาญของแพทย์สาขานี้…สร้างได้แค่เงินเดือน จึงไม่ค่อยมีคนสนใจมาเรียน ยิ่งทำให้ขาดแคลนเยอะมาก ตามมาตรฐานโลกจะต้องมีแพทย์สาขานี้ 1 คน ต่อประชากร 200,000 คน จากข้อมูลประชากรของประเทศไทยประมาณ 60 – 70 ล้านคน ก็จำเป็นจะต้องมีแพทย์สาขาระบาดวิทยาประมาณ 300 – 350 คน แต่ตอนนี้มีแพทย์ที่ทำงานอยู่จริงไม่ถึง 100 คน จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่กระทรวงสาธารณสุขต้องผลิตแพทย์เฉพาะทางระบาดวิทยาเพิ่มอีกกว่า 200 คน ซึ่งตอนนี้เราผลิตได้ปีละ 10 คน…จึงยังไม่เพียงพอ นายแพทย์ธนรักษ์ กล่าว

พร้อมบอกถึงความสำคัญของแพทย์ระบาดวิทยาว่า ถ้าเทียบเวลาเจ็บป่วยมีภาวะฉุกเฉิน…เราไปห้องฉุกเฉินในโรงพยาบาลต่าง ๆ ก็จะมีแพทย์เวชกิจฉุกเฉินอยู่ แต่ถ้าเป็นเรื่องงานระบาดวิทยาของประเทศ เมื่อมีโรคระบาดใหญ่ ๆ ก็มีห้องฉุกเฉินชื่อว่าศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (Emergency Operation Center– EOC)” ดยมีแพทย์ประจำห้อง คือ แพทย์ระบาดวิทยาปฏิบัติงานอยู่ประจำไม่ว่าจะกรณี…มีผู้เสียชีวิตต้องสงสัยว่าป่วยโรคอีโบลา หรืออย่างเหตุการณ์เมื่อกว่า 10 ปีก่อนที่มีกลุ่มนักท่องเที่ยวเสียชีวิตที่จ.เชียงใหม่ ทางทีมแพทย์ระบาดวิทยาก็ต้องเข้าไปสืบสวนหาสาเหตุซึ่งหลายกรณีนับเป็นเรื่องเกี่ยวกับความมั่นคงของชาติด้วยและนอกจากแพทย์สาขานี้จะจัดการกับภาวะฉุกเฉินและโรคติดต่อได้ดีแล้ว ยังสามารถนำวิชาระบาดวิทยามาใช้จัดการแผนงานในการควบคุมโรคได้ทุกโรคทั้งโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อเช่น ปัญหาอุบัติเหตุ หรือ โรคไม่ติดต่อต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับพฤติกรรมของบุคคล ดังนั้น กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขเราจึงมีแพทย์ระบาดวิทยาที่มีความสามารถ และเชี่ยวชาญ ในการวิเคราะห์สถานการณ์ ป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุ รวมถึงโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

สำหรับการจัดการโรคติดต่อที่เป็นอันตราย มักใช้กรอบแนวคิดของการจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข ที่ประกอบด้วยการป้องกันและลดผลกระทบเพื่อเตรียมความพร้อมรองรับภาวะวิกฤต การตอบโต้ภาวะวิกฤต และการฟื้นฟูหลังเกิดภาวะวิกฤตโดยการป้องกันนั้นสามารถดำเนินการได้หลายอย่าง เช่น การจัดการด่านตรวจคนเข้าเมืองไม่ให้ผู้ป่วยเดินทางเข้าประเทศ แต่จะควบคุมได้ยากและมีโอกาสเสี่ยงสูง เพราะฉะนั้นจึงต้องเตรียมระบบอื่น ๆ ให้ดีที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่ง คือ การป้องกันโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล”“กรณีโรคเมอรส์ ระบาดที่เกาหลีใต้ เสียหายยับเยิน เพราะว่าคนไข้แพร่เชื้อโรคในโรงพยาบาล ถ้าเราไปนั่งติดกับคนไข้ที่เป็นโรคเมอร์สเขาไอ 2 – 3 ที ก็ติดแล้ว ที่เกาหลีใต้คนไข้ที่ติดโรคเมอร์ส จากคนไข้คนแรก และทุก ๆ คนที่เป็นเมอร์สก็ติดเชื้อมาจากผู้ป่วยที่โรงพยาบาลทั้งหมดเลย เพราะฉะนั้นแหล่งแพร่โรคที่สำคัญที่สุดอยู่ในโรงพยาบาล ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ติดเชื้อ หมอตาย หมอป่วย พยาบาลป่วย รวมทั้งคนไข้เตียงข้าง ๆ ก็อาจแพร่เชื้อได้ด้วย ดังนั้น เมื่อเวลาเราพูดถึงโรคติดต่ออันตราย หรือโรคระบาดแล้ว สิ่งหนึ่งที่เราให้ความสำคัญ คือ จะต้องเน้นการป้องกันโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล” นายแพทย์ธนรักษ์กล่าว

ขณะเดียวกันสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม คือ การเตรียมความ โดยจัดทำแผนยุทธศาสตร์ แผนปฏิบัติการ และมีการฝึกซ้อมแผนรับมือในหลายลักษณะ ตั้งแต่ภาคทฤษฎีไปจนถึงการจำลองสถานการณ์ เช่น การฝึกซ้อมรับมือกรณีเหตุการณ์ที่มีผู้เสียชีวิตบนเครื่องบิน โดยไม่รู้สาเหตุ ต้องดูว่าจะมีการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยหรือรอผู้เสียชีวิตออกจากเครื่องบินอย่างไรให้เรียบร้อยรัดกุม ซึ่งการฝึกซ้อมในสถานการณ์จริงอาจไม่ได้ดำเนินการบ่อยครั้งนัก เนื่องจากค่าใช้จ่ายสูงมาก อย่างไรก็ตามหลักสำคัญในการจัดการภาวะฉุกเฉิน ถ้าเปรียบเทียบเป็นมวย…ก็จะต้องชนะน็อคในยกแรก เท่านั้น

หลักคิดของทีมงานระบาดวิทยา คือ ถ้าเราจะสู้กับเขา เราต้องชนะตั้งแต่ยกแรก จะต้องไม่แพ้ในยกแรก เพราะยกแรกสำคัญที่สุด ถ้าเราแพ้เมื่อไหร่แปลว่าจะต้องมีคนไข้มากกว่า 1 คนแล้วยิ่งคนไข้ยิ่งมาก…ยิ่งควบคุมยาก เพราะฉะนั้นหลักการของการจัดการภาวะฉุกเฉินอย่างเดียว คือ ไม่มีชนะคะแนน ต้องชนะน็อคแล้วต้องชนะน็อคยกที่หนึ่งด้วย…ไม่มียกสอง

  

“พวกเราทำงานต่อสู้กับโรคระบาดหรือโรคติดต่อ…เราต้อง Aggressive…คนจะไมช่ อบพวกเรา ถ้าจำเหตุการณ์โรคเมอร์สระบาดได้ ช่วงนั้นหลายคนก็ไม่เข้าใจว่าทำไม่ต้องจะให้เขามาอยู่โรงพยาบาล ทั้ง ๆ ที่เขาไม่ได้สัมผัสคนไข้เลย…เขาแค่เดินเฉี่ยวเรา Aggressive…เราควบคุมคนกลุ่มนี้มากักตัวที่โรงพยาบาลหมดเพราะเราถือว่ากันไว้ดีกว่า..หลักการของเราจะอยู่อย่างนี้ ถ้ามีเหตุการณ์ขึ้นมาเราจะมีทีมงานที่รุดเข้าไปสอบสวนโรคในทันทีซึ่งเราอาจจะมีจำนวนบุคลากรไม่มากนัก แต่ทีมของเราผมยืนยันว่าเป็นทีมฝีมือระดับโรค หัวหน้าทีมที่เราเลือก หรือแม้แต่ผู้ที่ปฏิบัติงานในตอนนี้มีฝีมือและมีความสามารถระดับโลกจริง ๆ” นายแพทย์ธนรักษ์เผย และกล่าว ผมยืนยันว่าทีมงานระบาดวิทยา กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข ของเรามีศักยภาพสูง ถึงแม้จำนวนทีมเราจะน้อยก็ตาม แต่เราสามารถจัดการควบคุมโรคเมอร์สได้จนเป็นที่ประจักษ์ใครเห็นผลงานเราก็มักจะชื่นชมและแม้แต่ที่มีงานขององค์การอนามัยโลกที่มาประเมินสมรรถนะของประเทศสมาชิกเมื่อปลายเดือนมิถุนายน..ก็ชื่นชมประเทศเรา วันแรกที่เข้ามากัน  หลายคนเขาบอกผมว่าสิ่งที่เขาตั้งใจมาดูคือประเทศไทยเป็นประเทศเล็ก ๆ ยากจน แต่สามารถจัดการกับโรคเมอร์สได้อย่างไร ในขณะที่เกาหลีใต้ยับเยินเพราะมีผู้ป่วย 1 รายแต่แพร่เชื้อติดต่อไปยังผู้อื่นี อก 100 กว่าคน ทำให้เกอดความสูญเสียทางเศรษฐกิจเป็นแสนล้านวอน ส่วนประเทศไทยเรามีผู้ป่วย 2 ราย สามารถหยุดได้ตั้งแต่ครั้งแรกและทุกครั้งไป…ก็เป็นสถิติที่ดี ซึ่งตรงนี้เป็นผลงานเด่นของทีมระบาดวิทยา…ที่ไม่ใช่แค่แพทย์หรือหัวหน้าทีม แต่ยังมีลูกน้อง ลูกมือ และผู้ปฏิบัติงานระบาดวิทยา…ทุกคนมีความสำคัญเท่า ๆ กัน

นอกจากนี้ แพทย์ระบาดวิทยาหลายคนได้รับรางวัลศิษย์เก่าดีเด่นจากสถาบันต่างๆ ซึ่งรางวัลเหล่านี้เปรียบเสมือนกับ“เหรียญกล้าหาญ”ที่ควรมอบให้ยามที่ผู้ทำคุณประโยชน์ยังมีชีวิตอยู่ เป็นขวัญกำลังใจในการทำงานต่อไป และน่าจะเป็นหนึ่งในหลาย ๆ วิธี เพื่อการแก้ปัญหาความขาดแคลนของแพทย์ระบาดวิทยา ปีนี้ถือเป็นปีแรกในช่วงหลายปีที่ผ่านมาที่เราได้แพทย์มาเข้ารับการฝึกครบตามจำนวนที่ต้องการ เรื่องนี้มีคนช่วยกันหลายคนตั้งแต่ นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข(ในขณะนั้น) ที่แสดงบทบาทความเป็นผู้นำ ที่สูงมาก ตั้งแต่สมัยที่ท่านเป็นอธิบดีกรมควบคุมโรค ทีมสาธารณสุขจังหวัด ทีมผู้ตรวจราชการ ตลอดจนศิษย์เก่าของเราที่เชิญชวนน้องๆ เข้ามาฝึกอบรมหรือศึกษาต่อเป็นแพทย์เฉพาะทางด้านระบาดวิทยานี้ ถ้าเราช่วยกันอย่างนี้มีแพทย์ฝึกหัดเข้ามาปีละ10 คน ต่อเนื่อง ประมาณ 3 – 4 ปี เราก็น่าจะผลิตแพทย์ระบาดวิทยาได้มากขึ้น ซึ่งเราต้องเพิ่มให้ได้ปีละ 20 คน ในอีก 5 – 10 ปีข้างหน้า แพทย์ระบาดวิทยาจึงจะเพียงพอกับความต้องการ พวกเราต้องช่วยกันคนละไม้คนละมือ ด้วยการบอกเล่าถึงความสำคัญของแพทย์เฉพาะทางสาขานี้ รวมถึงแก้ปัญหาเรื่องแรงจูงใจ ผลตอบแทน และการเติบโตทางตำแหน่งหน้าที่การงานให้เหมาะสมและเท่าเทียมกับแพทย์สาขาอื่น ๆ นายแพทย์ธนรักษ์เน้นยํ้า

ก่อนจะกล่าวทิ้งท้าย งานระบาดวิทยาเป็นงานที่มีความสำคัญ ช่วยในการป้องกันควบคุมโรค โดยเฉพาะโรคติดต่ออันตรายต่าง ๆ ในระยะหลังงานระบาดวิทยานอกจากจะเกี่ยวข้องกับการเจ็บป่วย การเสียชีวิตแล้ว ยังเกี่ยวพันไปถึงเรื่องความมั่นคง และความสูญเสียทางเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย ทุกวันนี้แพทย์เฉพาะทางระบาดวิทยาเรายังขาดอีกมากเรา ต้องการแรงจูงใจ ต้องการอไรหลาย ๆ อย่างมาสนับสนุน เพื่อให้เรามีจำนวนแพทย์ระบาดวิทยาเพียงพอกับความต้องการของประเทศจริง ๆ