สรุปดัชนีเศรษฐกิจการค้า เดือนมีนาคมและไตรมาสที่ 1 ปี 2565

นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทย เดือนมีนาคม 2565 เท่ากับ 104.79 (ปี 2562 = 100) สำหรับ อัตราเงินเฟ้อทั่วไป อยู่ที่ร้อยละ 5.73 (YoY) เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สาเหตุหลักมาจากสินค้าและบริการในประเทศปรับราคาสูงขึ้นตามต้นทุน ทั้งราคาพลังงาน วัตถุดิบที่นำเข้า และค่าขนส่ง ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ และพันธมิตร ที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจหลายประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาได้รับผลกระทบที่รุนแรงเพราะต้นทุนทางเศรษฐกิจมีความเปราะบาง สำหรับสินค้า ในกลุ่มอาหารสดปรับสูงขึ้นกว่าปีที่แล้วไม่มาก ขณะที่ข้าวสาร ผลไม้สด ค่าเช่าบ้าน เสื้อผ้าและรองเท้า ราคาปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง และเมื่อพิจารณาดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือนนี้ เทียบกับเดือนที่ผ่านมา สูงขึ้นเพียงร้อยละ 0.66 (MoM) เป็นการสูงขึ้นในอัตราที่ชะลอตัว โดยสินค้าบางรายการราคาปรับลดลง

ปัจจัยที่ทำให้เงินเฟ้อทั่วไปในเดือนมีนาคมอยู่ที่ร้อยละ 5.73 (YoY) ยังคงเป็นราคาสินค้าในกลุ่มพลังงาน ที่สูงขึ้นร้อยละ 32.43 (YoY) โดยเฉพาะน้ำมันเชื้อเพลิงสูงขึ้นร้อยละ 31.43 และค่ากระแสไฟฟ้าสูงขึ้นร้อยละ 39.95ซึ่งเป็นไปตามราคาพลังงานในตลาดโลก สินค้าประเภทอาหาร ได้แก่ เนื้อสัตว์ (สุกร ไก่สด) ไข่ไก่ ผักสดบางชนิด เครื่องประกอบอาหาร และอาหารปรุงสำเร็จ ปรับสูงขึ้นตามต้นทุนการผลิตและวัตถุดิบ รวมทั้งฐานราคาในเดือนเดียวกันของปีก่อนอยู่ในระดับต่ำมีส่วนทำให้เงินเฟ้อในเดือนนี้สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังมีสินค้าที่จำเป็นอีกหลายรายการ อาทิ ข้าวสาร ผลไม้สด ค่าเช่าบ้าน เสื้อผ้าและรองเท้า ราคาปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง

ดัชนีราคาผู้บริโภค เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2565 สูงขึ้นร้อยละ 0.66 (MoM) เป็นการสูงขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 (เดือนก่อนหน้าสูงขึ้นร้อยละ 1.06) จากการสูงขึ้นของราคาเชื้อเพลิงเป็นสำคัญ นอกจากนี้ เนื้อสุกร ปลาและสัตว์น้ำ ข้าวสาร และนมและผลิตภัณฑ์นม รวมถึงของใช้ส่วนบุคคล ราคาปรับลดลงเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา

ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภค ไตรมาสที่ 1 ปี 2565 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 4.75 (YoY) และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า สูงขึ้นร้อยละ 1.91 (QoQ)

 

สำหรับดัชนีราคาผู้ผลิต เดือนมีนาคม 2565 สูงขึ้นร้อยละ 11.4 (YoY) ตามต้นทุนการผลิตและราคาวัตถุดิบที่ปรับสูงขึ้นตามราคาตลาดโลก โดยเฉพาะสินค้าในกลุ่มปิโตรเลียม และก๊าซธรรมชาติและสินค้าที่เกี่ยวเนื่อง (เคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี) รวมถึงผลิตภัณฑ์อาหารและสินค้าเกษตรสำคัญ ตามความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง สูงขึ้นร้อยละ 8.6 (YoY) เป็นการสูงขึ้นในทุกหมวดสินค้าตามต้นทุนการผลิตและวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตวัสดุก่อสร้าง (น้ำมัน เหล็ก ถ่านหิน อลูมิเนียม) ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวม ปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 43.8 จากระดับ 44.6 ในเดือนก่อนหน้า โดยมีปัจจัยลบจากราคาพลังงานและสินค้าอุปโภคบริโภคสูงขึ้น รวมทั้งจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม มาตรการช่วยเหลือที่ภาครัฐทยอยออกมาเพิ่มเติม และราคาสินค้าเกษตรสำคัญ
ที่เพิ่มสูงขึ้น จะเป็นปัจจัยบวกต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภคในระยะต่อไป

กระทรวงพาณิชย์มีการปรับคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อปี 2565 เป็นระหว่างร้อยละ 4.0 – 5.0 (ค่ากลางที่ร้อยละ 4.5) จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ในเดือนธันวาคม 2564 ระหว่างร้อยละ 0.7 – 2.4 (ค่ากลางที่ร้อยละ 1.5) และหากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญจะมีการทบทวนอีกครั้ง ทั้งนี้ มาตรการของภาครัฐ ทั้งการกำกับดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็น การพยุงราคาพลังงาน และการอุดหนุนค่าสาธารณูปโภค รวมถึงสถานการณ์โควิด-19 จะเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อเงินเฟ้อของไทย

ดัชนีราคาผู้บริโภค เดือนมีนาคม  2565  

ดัชนีราคาผู้บริโภค เดือนมีนาคม 2565 เท่ากับ 104.79 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหรืออัตราเงินเฟ้อทั่วไป อยู่ที่ร้อยละ 5.73 (YoY) สาเหตุหลักยังคงเป็นราคาสินค้าในกลุ่มพลังงาน ที่สูงขึ้นร้อยละ 32.43 (YoY) โดยเฉพาะน้ำมันเชื้อเพลิงและค่ากระแสไฟฟ้าที่สูงขึ้นร้อยละ 31.43 และร้อยละ 39.95 ตามลำดับ ซึ่งเป็นไปตามราคาพลังงานในตลาดโลก สินค้าประเภทอาหาร ทั้งเนื้อสัตว์ (เนื้อสุกร ไก่สด) ไข่ไก่ ผักสด เครื่องประกอบอาหาร อาหารสำเร็จรูป ปรับสูงขึ้นตามต้นทุนการผลิตและวัตถุดิบ รวมทั้งฐานราคาในเดือนเดียวกันของปีก่อนอยู่ในระดับต่ำมีส่วนทำให้เงินเฟ้อ     สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังมีสินค้าที่จำเป็นอีกหลายรายการ อาทิ ข้าวสาร ผลไม้สด ค่าเช่าบ้าน เสื้อผ้าและรองเท้า ราคาปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ สินค้าในกลุ่มเนื้อสัตว์ และเครื่องประกอบอาหาร ราคาสูงขึ้นไม่มากเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว  โดยมีรายละเอียดการเคลื่อนไหว ดังนี้

หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 4.56 ได้แก่

  กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ สูงขึ้นร้อยละ 5.74 (เนื้อสุกร ไก่สด กุ้งขาว)

  กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นม สูงขึ้นร้อยละ 6.08 (ไข่ไก่ นมสด นมถั่วเหลือง)

  กลุ่มผักสด สูงขึ้นร้อยละ 9.96 (มะนาว ผักคะน้า ผักกาดขาว พริกสด)

  กลุ่มเครื่องประกอบอาหาร สูงขึ้นร้อยละ 8.16 (น้ำมันพืช ซีอิ๊ว กะปิ)

  กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 1.54 (กาแฟ/ชา (ร้อน/เย็น) กาแฟผงสำเร็จรูป น้ำปั่นผลไม้/ผัก)

  กลุ่มอาหารบริโภคในบ้าน สูงขึ้นร้อยละ 6.28 ( กับข้าวสำเร็จรูป ข้าวแกง/ข้าวกล่อง ก๋วยเตี๋ยว)

  กลุ่มอาหารบริโภคนอกบ้าน สูงขึ้นร้อยละ 6.15 (อาหารเช้า อาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง) อาหารเย็น (อาหารตามสั่ง))

–   ขณะที่ กลุ่มข้าวแป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้ง ลดลงร้อยละ 4.15 (ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว)

  กลุ่มผลไม้สด ลดลงร้อยละ 3.27 (ส้มเขียวหวาน ฝรั่ง กล้วยหอม)

หมวดสินค้าอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 6.56 ได้แก่

  หมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร สูงขึ้นร้อยละ 11.29 (น้ำมันเชื้อเพลิง ค่าโดยสารสาธารณะ)

  หมวดเคหสถาน สูงขึ้นร้อยละ 5.71 (ค่ากระแสไฟฟ้า ค่าน้ำประปา ผงซักฟอก)

  หมวดการตรวจรักษา และบริการส่วนบุคคล สูงขึ้นร้อยละ 0.52 (แชมพู ยาแก้ปวดลดไข้ ค่าแต่งผมชาย)

  หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 2.18 (บุหรี่ เบียร์ สุรา)

–   ขณะที่ หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า ลดลงร้อยละ 0.18 (กางเกงขายาวบุรุษ เสื้อยืดสตรีและบุรุษ)

  หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯ ลดลงร้อยละ 0.89 (ค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมการศึกษา)

เงินเฟ้อพื้นฐาน เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกแล้ว สูงขึ้นที่ร้อยละ 2.00 (YoY)

ดัชนีราคาผู้บริโภค เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2565 สูงขึ้นร้อยละ 0.66 (MoM) ไตรมาสที่ 1 ปี 2565 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 4.75 (YoY) เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า สูงขึ้นร้อยละ 1.91(QoQ)

ดัชนีราคาผู้ผลิต เดือนมีนาคม  2565  

ดัชนีราคาผู้ผลิต เดือนมีนาคม 2565 สูงขึ้นร้อยละ 11.4 (YoY) จากร้อยละ 9.4 ในเดือนก่อนหน้า เป็นการสูงขึ้นในทุกหมวดสินค้า ตามต้นทุนการผลิตและราคาวัตถุดิบที่ปรับสูงขึ้นตามราคาตลาดโลก โดยเฉพาะราคาสินค้าในกลุ่มปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ และสินค้าที่เกี่ยวเนื่อง (เคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี) ซึ่งเป็นไปตามทิศทางราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับความต้องการใช้ในภาคอุตสาหกรรมที่มีอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง สูงขึ้นร้อยละ 69.1 และหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 10.4 นอกจากนี้ หมวดผลิตภัณฑ์เกษตรกรรมและการประมง สูงขึ้นร้อยละ 4.3 เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย ขณะที่ความต้องการของภาคอุตสาหกรรมยังคงเพิ่มสูงขึ้น เมื่อพิจารณาเครื่องชี้วัดที่เกี่ยวข้อง พบว่า กำลังการผลิตและดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม  ปรับตัวสูงขึ้นเช่นเดียวกับดัชนีราคาผู้ผลิต โดยมีรายละเอียดการเคลื่อนไหว ดังนี้

หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง สูงขึ้นร้อยละ 69.1 (ก๊าซธรรมชาติ น้ำมันปิโตรเลียมดิบ กลุ่มแร่ (สังกะสี ดีบุก แร่เหล็ก))

หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 10.4 ได้แก่

กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม (น้ำมันดีเซล น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91, 95 น้ำมันเครื่องบิน น้ำมันเตา ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG))

กลุ่มเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี (เม็ดพลาสติก โซดาไฟ ปุ๋ยเคมีผสม กรดเกลือ คลอรีน)

กลุ่มผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอื่น ๆ (ทองคำ เครื่องประดับเทียม)

กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหาร (ไก่สด เนื้อสุกร น้ำมันปาล์ม มันเส้น มันอัดเม็ด แป้งมันสำปะหลัง ปลาทูน่ากระป๋อง น้ำสับปะรด เนื้อปลาสดแช่แข็ง)

กลุ่มผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ (อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล (ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์))

กลุ่มโลหะขั้นมูลฐาน (เหล็กแผ่น ท่อเหล็ก เหล็กเส้น เหล็กฉาก ลวดแรงดึงสูง)

กลุ่มผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก (ยางแท่ง ถุงพลาสติก ท่อพลาสติก แผ่นฟิล์มพลาสติก)

กลุ่มยานยนต์ ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ (รถยนต์นั่ง รถบรรทุก ตัวถังรถยนต์ ชิ้นส่วนและอุปกรณ์สำหรับรถยนต์)

หมวดผลิตภัณฑ์เกษตรกรรมและการประมง สูงขึ้นร้อยละ 4.3 ได้แก่

กลุ่มไม้ยืนต้น (ผลปาล์มสด ยางพารา)

กลุ่มพืชล้มลุก (อ้อย หัวมันสำปะหลังสด ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์)

กลุ่มพืชผัก (ต้นหอม ผักคะน้า กะหล่ำปลี ผักชี มะเขือ พริกสด ข้าวโพดฝักอ่อน ผักกวางตุ้ง หน่อไม้ฝรั่ง)

กลุ่มสัตว์ (สุกรมีชีวิต ไก่มีชีวิต ไข่ไก่ ไข่เป็ด)

กลุ่มผลิตภัณฑ์จากการประมง (ปลาหมึกกล้วย กุ้งแวนนาไม กุ้งทะเล)

สินค้าที่ราคาปรับตัวลดลง ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเปลือกเหนียว ผลไม้ (สับปะรด ลำไย กล้วยน้ำว้า กล้วยไข่ ส้มเขียวหวาน)

ดัชนีราคาผู้ผลิต เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2565 สูงขึ้นร้อยละ 3.1 (MoM) ไตรมาสที่ 1 ปี 2565 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 9.8 (YoY) เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า สูงขึ้นร้อยละ 3.6 (QoQ)

ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง เดือนมีนาคม  2565  

ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง เดือนมีนาคม 2565 สูงขึ้นร้อยละ 8.6 (YoY) เป็นการสูงขึ้นในทุกหมวดสินค้า
ตามต้นทุนการผลิตและวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตวัสดุก่อสร้างซึ่งปรับตัวสูงขึ้นตามราคาในตลาดโลก (น้ำมัน เหล็ก ถ่านหิน และอลูมิเนียม) อาทิ หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก สูงขึ้นร้อยละ 19.8 ตามด้วยหมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ สูงขึ้นร้อยละ 7.0 หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต สูงขึ้นร้อยละ 6.0 ตามลำดับ สอดคล้องกับเครื่องชี้วัดเศรษฐกิจอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งยอดการจัดเก็บภาษีธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ และยอดจำหน่ายปูนซีเมนต์ที่ขยายตัวสูงขึ้น โดยมีรายละเอียดการเคลื่อนไหว ดังนี้

หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก สูงขึ้นร้อยละ 19.8 (เหล็กเส้นกลมผิวเรียบ-ผิวข้ออ้อย เหล็กแผ่นเรียบดำ เหล็กตัวซี ชีทไพล์เหล็ก)

หมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ สูงขึ้นร้อยละ 7.0 (อลูมิเนียม ยางมะตอย หินดินทราย)

หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต สูงขึ้นร้อยละ 6.0 (ชีทไพล์คอนกรีต ผนังคอนกรีตสำเร็จรูป เสาเข็มคอนกรีต)

หมวดซีเมนต์ สูงขึ้นร้อยละ 5.6 (ปูนซีเมนต์ผสม ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ปูนฉาบสำเร็จรูป)

หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา สูงขึ้นร้อยละ 4.6 (ท่อร้อยสายไฟและสายโทรศัพท์ PVC สายไฟฟ้า VCT ประตูน้ำ ท่อ PVC ถังเก็บน้ำสแตนเลส)

หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ สูงขึ้นร้อยละ 4.4 (แผ่นไม้อัด ไม้แบบ ไม้คาน ไม้โครงคร่าว ไม้พื้น ไม้ฝา)

หมวดกระเบื้อง สูงขึ้นร้อยละ 4.1 (กระเบื้องยาง PVC ปูพื้น กระเบื้องแกรนิต กระเบื้องลอนคู่)

หมวดวัสดุฉาบผิว สูงขึ้นร้อยละ 1.1 (สีรองพื้นโลหะ ซิลิโคน)

หมวดสุขภัณฑ์ สูงขึ้นร้อยละ 0.1 (ฝักบัวอาบน้ำ ราวแขวนผ้าติดผนัง กระจกเงา ที่ใส่กระดาษชำระ ฉากกั้นห้องอาบน้ำสำเร็จรูป)

ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2565 สูงขึ้นร้อยละ 2.2 (MoM) ไตรมาสที่ 1 ปี 2565 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 7.2 (YoY) เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า สูงขึ้นร้อยละ 1.8 (QoQ)

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือนมีนาคม  2565

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวม เดือนมีนาคม 2565 ปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 43.8 จากระดับ 44.6 ในเดือนก่อนหน้า ปรับลดลงทั้งดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบันและในอนาคต โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบัน ปรับตัวลดลงจากระดับ 35.1 มาอยู่ที่ระดับ 34.5 และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคต (3 เดือนข้างหน้า) ปรับลดลงจากระดับ 50.9 มาอยู่ที่ระดับ 50.0 ทั้งนี้ มีปัจจัยลบจากความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย–ยูเครน ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม จากมาตรการต่าง ๆ ของภาครัฐ ทั้งโครงการคนละครึ่ง โครงการยิ่งใช้ ยิ่งได้ และมาตรการช่วยเหลือด้านพลังงานที่ทยอยออกมา(การช่วยเหลือผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐในการซื้อก๊าซหุงต้ม การช่วยเหลือค่าพลังงานให้กับผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์รับจ้างและผู้ขับขี่แท็กซี่มิเตอร์ การตรึงราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล) ราคาสินค้าเกษตรสำคัญปรับตัวเพิ่มขึ้น และมูลค่าการส่งออกที่ยังคงมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง ยังคงเป็นปัจจัยบวกที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภค

ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภค พบว่า

ด้านเศรษฐกิจไทย ส่งผลต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภคมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 33.63

ด้านภัยพิบัติ/โรคระบาด คิดเป็นร้อยละ 25.62

ด้านมาตรการของภาครัฐ คิดเป็นร้อยละ 10.30

ด้านราคาน้ำมันเชื้อเพลิง คิดเป็นร้อยละ 9.13

ด้านเศรษฐกิจโลก คิดเป็นร้อยละ 8.18

ด้านราคาสินค้าเกษตร คิดเป็นร้อยละ 4.68

ด้านการเมือง คิดเป็นร้อยละ 4.43

ด้านสังคม/ความมั่นคง คิดเป็นร้อยละ 3.37

ด้านอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 0.65

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค จำแนกรายภาค พบว่า ลดลงเกือบทุกภูมิภาค โดยมีรายละเอียดดังนี้

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปรับตัวลดลงมากที่สุดจากระดับ 47.2 มาอยู่ที่ระดับ 3

ภาคกลาง ปรับตัวลดลงจากระดับ 43.6 มาอยู่ที่ระดับ 0

ภาคเหนือ ปรับตัวลดลง จากระดับ 43.7 มาอยู่ที่ระดับ 9

ภาคใต้ ปรับตัวลดลง จากระดับ 45.2 มาอยู่ที่ระดับ 4

ขณะที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ปรับตัวเพิ่มขึ้น จากระดับ 38.6 มาอยู่ที่ระดับ 0

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค จำแนกอาชีพ พบว่า

กลุ่มพนักงานเอกชน ปรับตัวลดลงจากระดับ 41.6 มาอยู่ที่ระดับ 41.4

กลุ่มรับจ้างอิสระ จากระดับ 42.4 มาอยู่ที่ระดับ 41.6

กลุ่มเกษตรกร ปรับตัวลดลงจากระดับ 46.3 มาอยู่ที่ระดับ 45.5

กลุ่มผู้ประกอบการ ปรับตัวลดลงจากระดับ 45.8 มาอยู่ที่ระดับ 43.7

กลุ่มพนักงานของรัฐ ปรับตัวลดลงจากระดับ 51.3 มาอยู่ที่ระดับ 50.7

ขณะที่กลุ่มนักศึกษา ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 39.5 มาอยู่ที่ระดับ 41.0

กลุ่มไม่ได้ทำงาน/บำนาญ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 40.9 มาอยู่ที่ระดับ 42.9

เมื่อพิจารณาจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้า จากระดับ 46.0 มาอยู่ที่ระดับ 42.0

หมายเหตุ

 1.  สำรวจข้อมูลจากผู้บริโภคจำนวน 8,697 คน ในทุกอำเภอทั่วประเทศ (884 อำเภอ/เขต) แยกเป็น 7 กลุ่มอาชีพ ตามโครงสร้างอาชีพประชากรในแต่ละภาค โดยได้รับความร่วมมือจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร  (ธ.ก.ส.) และสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ

2.การอ่านค่าดัชนี : ระดับค่าของดัชนีมีค่าอยู่ระหว่าง 0–100 หากค่าของดัชนีมีค่าตั้งแต่ระดับ 50 ขึ้นไป หมายถึง ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจ (อยู่ในช่วงเชื่อมั่น) และหากค่าดัชนีต่ำกว่า 50 หมายถึง ผู้บริโภคมีความไม่เชื่อมั่นต่อ