สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 4 เม.ย. 65

+ ประเทศไทยตอนบน อุณหภูมิสูงขึ้น แต่ยังคงมีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง

+ ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักมากถึงหนักมากบริเวณ จ.พัทลุง (112 มม.) จ.ชุมพร (86 มม.) และ
จ.นครศรีธรรมราช (83 มม.)

+ ปริมาณน้ำใช้การแหล่งน้ำทั้งประเทศทุกขนาด 26,507 ล้าน ลบ.ม. (46%) ขนาดใหญ่ 20,687 ล้าน ลบ.ม. (43%) เฝ้าระวังน้ำน้อยในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ จำนวน 3 แห่ง (เขื่อนแม่งัด ภูมิพล และ สิริกิติ์)

+ คุณภาพน้ำ เพื่อการอุปโภคบริโภค และการเกษตร ณ จุดเฝ้าระวัง ในแม่น้ำสายหลัก แม่น้ำเจ้าพระยา ท่าจีน บางปะกง แม่กลอง อยู่ในเกณฑ์ปกติ ปริมาณออกซิเจนละลายในแม่น้ำ ที่ท่าจีน ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน

+ พื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก ดินถล่ม ในช่วง 1-2 วันนี้ บริเวณ จ.ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช

+ กอนช. ติดตามการพัฒนาลุ่มน้ำยมตอนล่าง เพื่อแก้ไขปัญหาและเพิ่มความมั่นคงด้านน้ำ ในพื้นที่ จ.พิษณุโลก และพิจิตร

โดย กรมชลประทาน ได้กำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาอุทกภัยและการขาดแคลนน้ำของประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ของลุ่มน้ำยมตอนล่าง โดยการก่อสร้างอาคารบังคับน้ำในแม่น้ำยมเป็นช่วง ๆ แบบขั้นบันได เพื่อกักเก็บน้ำไว้ให้เกษตรกร สามารถนำน้ำไปใช้ได้อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งลำน้ำ ซึ่งขณะนี้ อยู่ในระหว่างการก่อสร้างอาคารบังคับน้ำ ในพื้นที่ลุ่มน้ำยมตอนล่าง จำนวน 4 แห่ง เพื่อเพิ่มศักยภาพในการบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูน้ำหลากที่ไหลมาจากพื้นที่ตอนบน ได้แก่ ประตูระบายน้ำ (ปตร.) ท่านางงาม อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก ปตร.ท่าแห อ.สามง่าม จ.พิจิตร ปตร.บ้านวังจิก และ ปตร.โพธิ์ประทับช้าง อ.โพธิ์ประทับช้าง เมื่อแล้วเสร็จจะสามารถเก็บกักน้ำในแม่น้ำยมและลำน้ำสาขา ได้ประมาณกว่า 38 ล้าน ลบ.ม. เพิ่มพื้นที่ได้รับประโยชน์จากระบบชลประทานได้ 198,746 ไร่ รวมทั้งช่วยลดมวลน้ำหลากในช่วงฤดูฝน คาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน ปี 2568 ปัจจุบันมีผลงานก้าวหน้าสะสมเฉลี่ยรวมร้อยละ 44 ของแผนงาน