+ ประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง
+ ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณ จ.ชุมพร (112 มม.) จ.เพชรบูรณ์ (88 มม.) และ จ.น่าน (82 มม.)
+ ปริมาณน้ำใช้การแหล่งน้ำทั้งประเทศทุกขนาด 27,107 ล้าน ลบ.ม. (47%) ขนาดใหญ่ 21,260 ล้าน ลบ.ม. (44%) เฝ้าระวังน้ำน้อยในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ จำนวน 3 แห่ง (เขื่อนแม่งัด ภูมิพล และ สิริกิติ์)
+ คุณภาพน้ำ เพื่อการอุปโภคบริโภค และการเกษตร ณ จุดเฝ้าระวัง ในแม่น้ำสายหลัก แม่น้ำเจ้าพระยา ท่าจีน บางปะกง แม่กลอง อยู่ในเกณฑ์ปกติ ปริมาณออกซิเจนละลายในแม่น้ำ ที่ท่าจีน ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
+ ตามที่ กอนช. ประกาศ ฉบับที่ 6/2565 เฝ้าระวังน้ำทะเลหนุนสูงและความเค็มรุกตัวบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา และฉบับที่ 7/2565 เรื่อง เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก เนื่องจากหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมภาคใต้ตอนล่าง และประเทศมาเลเซีย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้
กรมชลประทาน
– โครงการชลประทานในพื้นที่ติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากอย่างใกล้ชิด และกำชับให้เจ้าหน้าที่ติดตามสภาพอากาศอย่างต่อเนื่อง พร้อมปรับแผนบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์น้ำ
– วางแผนบริหารจัดการน้ำร่วมกับกรุงเทพมหานคร และการประปานครหลวง เพื่อรับมือสถานการณ์น้ำทะเลหนุนสูงให้เหมาะสมสอดคล้องกับการใช้น้ำในกิจกรรมต่าง ๆ และควบคุมคุณภาพน้ำให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม รวมถึง ควบคุมการระบายน้ำผ่านอาคารชลประทานที่สำคัญ และได้มีการวางแผนเพื่อควบคุมค่าความเค็มตลอดฤดูแล้งนี้
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย แจ้งผู้ว่าราชการจังหวัดในพื้นที่เสี่ยง เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก บริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส และพื้นที่เสี่ยงน้ำทะเลหนุนสูงให้ติดตามสถานการณ์และแจ้งเตือนให้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยทราบล่วงหน้า