สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 25 มี.ค. 65 เวลา 7.00 น.

+ ประเทศไทยตอนบนมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนภาคใต้มีฝนฟ้าคะนอง

+ ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณ จ.นราธิวาส (104 มม.) และ จ.สกลนคร (74 มม.) จ.นครพนม (67 มม.)

+ ปริมาณน้ำใช้การแหล่งน้ำทั้งประเทศทุกขนาด 27,713 ล้าน ลบ.ม. (48%) ขนาดใหญ่ 21,804 ล้าน ลบ.ม. (46%) เฝ้าระวังน้ำน้อยในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ จำนวน 3 แห่ง (เขื่อนแม่งัด ภูมิพล และ สิริกิติ์)

+ คุณภาพน้ำ เพื่อการอุปโภคบริโภค และการเกษตร ณ จุดเฝ้าระวัง ในแม่น้ำสายหลัก แม่น้ำเจ้าพระยา ท่าจีน บางปะกง แม่กลอง อยู่ในเกณฑ์ปกติ ปริมาณออกซิเจนละลายในแม่น้ำ ที่ท่าจีน ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน

+ ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เข้าร่วมการประชุมกรณีศึกษาการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ด้านอุทกภัย) โดยมี นายทรงศัก สายเชื้อ ผู้ตรวจการแผ่นดิน เป็นประธานการประชุม พร้อมด้วยนายปรีชา ทองคำ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อวันที่ 23 มี.ค. 65 เพื่อติดตามความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาและการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี ที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนกันยายน-พฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา พร้อมรับทราบปัญหาอุปสรรคจากหน่วยงานในพื้นที่

รวมทั้งพิจารณาความคืบหน้าในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ทางด้านอุทกภัย) ทางด้านพื้นที่ทางการเกษตร ด้านประมง ด้านปศุสัตว์ ด้านที่อยู่อาศัย ถนน และระบบสาธารณูปโภคต่างๆ พร้อมหารือแนวทางการบริหารจัดการเพื่อแก้ไขปัญหาในระยะยาว ได้แก่ การบริหารจัดการน้ำ แนวทางการให้ความช่วยเหลือเฉพาะหน้า/งบเร่งด่วน การบริหารจัดการในการทำการเกษตรในพื้นที่รองรับมวลน้ำ (ด้านพืช/ด้านประมง) และการประเมินความเสียหายและการเยียวยาความเสียหาย การดำเนินการให้การช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้ประสบภัยด้านอุทกภัย ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาระยะสั้นเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว

ทั้งนี้ที่ประชุมได้มอบให้ สทนช. เป็นหน่วยงานหลักในการบูรณาการความร่วมมือแก้ปัญหาในเชิงระบบ ซึ่งอาจดำเนินการในรูปแบบของ “สุพรรณบุรี Sandbox” ที่จะใช้เป็นต้นแบบให้กับจังหวัดอื่นๆ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ เพื่อพร้อมรับมือในกรณีประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ด้านอุทกภัย) ได้อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพสูงสุดต่อไป