1. ผลการดำเนินงานตาม 9 มาตรการ รองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำ ฤดูแล้ง ปี 2564/65
ศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทานจังหวัดกาฬสินธุ์ จัดกิจกรรมจิตอาสาต้านภัยแล้ง ประจำปี 2565โดยทำกิจกรรมขุดลอกและปรับภูมิทัศน์ รวมทั้งกำจัดวัชพืชที่ขวางกั้นทางน้ำออกจากแหล่งน้ำ บริเวณหนองน้ำขุ่นบ้านเริงนาแก หมู่ที่ 6 ตำบลไผ่ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อฟื้นฟูสภาพแหล่งน้ำให้สามารถกักเก็บน้ำในช่วงฤดูแล้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. แหล่งน้ำทั่วประเทศ
2.1 แหล่งน้ำทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำใช้การ 27,820 ล้าน ลบ.ม. (48%) แบ่งเป็น แหล่งน้ำขนาดใหญ่38 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 21,940 ล้าน ลบ.ม. (46%) ขนาดกลาง 355 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 3,312 ล้าน ลบ.ม. (65%) และขนาดเล็ก 139,894 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 2,567 ล้าน ลบ.ม. (51%) สำหรับอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย ได้แก่ เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล ภูมิพล และสิริกิติ์
2.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก (เขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ แควน้อยฯ และป่าสักฯ) ปริมาณน้ำใช้การ 4,708ล้าน ลบ.ม. (26%) โดยเขื่อนภูมิพล และสิริกิติ์ อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย
3. ผลการจัดสรรน้ำ (สะสมตั้งแต่ 1 พ.ย. 64 ถึงปัจจุบัน)
3.1 อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่สามารถจัดสรรน้ำได้มีจำนวน 35 แห่ง มีปริมาณน้ำใช้การทั้งสิ้น 21,778ล้าน ลบ.ม. (46%) มีแผนการจัดสรรน้ำ 16,678 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 12,754 ล้าน ลบ.ม. (76%)
3.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีแผนการจัดสรรน้ำ 4,700 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 4,115ล้าน ลบ.ม. (88%)
4. ผลการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง
4.1 แผนการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งในภาพรวมทั้งประเทศ มีแผนการเพาะปลูกพืช 11.65 ล้านไร่ปัจจุบันมีการเพาะปลูกแล้ว 12.79 ล้านไร่ (110%) สำหรับข้าวนาปรัง มีแผนการเพาะ 9.02 ล้านไร่ มีการเพาะปลูกแล้ว 10.81 ล้านไร่ (120%)
4.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยามีแผนการเพาะปลูกพืช 4.98 ล้านไร่ ปัจจุบันมีการเพาะปลูกแล้ว 6.60 ล้านไร่ (133%) สำหรับข้าวนาปรัง มีแผนการเพาะ 4.26 ล้านไร่ มีการเพาะปลูกแล้ว 6.10 ล้านไร่ (143%)
5. คุณภาพน้ำ และแจ้งเตือนน้ำทะเลหนุนสูง
5.1 คุณภาพน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและการเกษตร ในแม่น้ำสายหลักทั่วประเทศ คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ
5.2 ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณป้อมพระจุลจอมเกล้า คาดว่าระดับน้ำจะขึ้นสูงสุด เวลา 07.25 น. ประมาณ 1.47 ม. จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ซึ่งกองอำนวยการน้ำแห่งชาติวิเคราะห์แล้วพบว่ายังไม่มีผลกระทบต่อคุณภาพน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยา