+ ประเทศไทยตอนบน มีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรง โดยมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง
+ ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณ จ.ชัยนาท (116 มม.) จ.ยะลา ( 91 มม.) และ จ.จ.นราธิวาส (81 มม.)
+ ปริมาณน้ำใช้การแหล่งน้ำทั้งประเทศทุกขนาด 27,820 ล้าน ลบ.ม. (48%) ขนาดใหญ่ 21,940 ล้าน ลบ.ม. (46%) เฝ้าระวังน้ำน้อยในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ จำนวน 3 แห่ง (เขื่อนแม่งัด ภูมิพล และ สิริกิติ์)
+ คุณภาพน้ำ เพื่อการอุปโภคบริโภค และการเกษตร ณ จุดเฝ้าระวัง ในแม่น้ำสายหลัก แม่น้ำเจ้าพระยา ท่าจีน บางปะกง แม่กลอง อยู่ในเกณฑ์ปกติ ปริมาณออกซิเจนละลายในแม่น้ำ ที่ท่าจีน ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
+ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายก รัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการ กอนช.ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำและการแก้ไขปัญหาภัยแล้งในพื้นที่จังหวัดอุทัยธานี เมื่อวันที่ 21 มี.ค.65 โดยมี ผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานี กล่าวต้อนรับ ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการ สทนช. นำเสนอสรุปภาพรวมการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ภาคกลาง
พลเอก ประวิตรฯ ได้มอบหมายให้หน่วยงานร่วมกันดำเนินการ ดังนี้
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งบูรณาการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ
สทนช.ศึกษาและบูรณาการขับเคลื่อนแผนการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ภาคกลางในระยะยาวเพื่อให้เกิดความมั่นคงด้านน้ำ โดยเฉพาะในพื้นที่ประสบปัญหาภัยแล้งซ้ำซาก ให้บูรณาการแผนงาน/โครงการจัดหาแหล่งน้ำใต้ดินร่วมกับกรมทรัพยากรน้ำบาดาล เพื่อใช้เป็นแหล่งน้ำสำรองสำหรับแก้ไขปัญหาภัยแล้งในเชิงพื้นที่ในระยะเร่งด่วน
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เร่งทำการสำรวจความเดือดร้อนพร้อมเข้าช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่เสี่ยงและประสบภัยแล้งอย่ารวดเร็วและทั่วถึง
จังหวัดอุทัยธานีเร่งเสนอแผนงาน/โครงการสำคัญที่แก้ไขปัญหาเรื่องน้ำให้ครอบคลุมพื้นที่ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยใช้กลไกอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัด รวมทั้งสร้างการรับรู้และส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำ ตอบสนองความต้องการใช้น้ำและแก้ไขปัญหาด้านน้ำได้อย่างตรงจุด
ทั้งนี้ ดร.สุรสีห์ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันแหล่งน้ำในพื้นที่มีปริมาณน้ำใช้การ 88 ล้าน ลบ.ม. มากกว่าปีที่ผ่านมา 39% ซึ่งในงบประมาณแผนงานบูรณาการฯ ปี 65 มีโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 32 โครงการ จะสามารถเพิ่มปริมาณน้ำกักเก็บได้ 3.52 ล้าน ลบ.ม. มีพื้นที่รับประโยชน์ 14,055 ไร่ ประชาชนได้รับประโยชน์ 3,378 ครัวเรือน พื้นที่ได้รับการป้องกันน้ำท่วม 95,000 ไร่