กรมทรัพยากรน้ำบาดาลเปิดการประชุมเครือข่ายและนวัตกรรมน้ำบาดาลแห่งชาติ

Featured Video Play Icon

กรมทรัพยากรน้ำบาดาลเปิดการประชุมเครือข่ายและนวัตกรรมน้ำบาดาลแห่งชาติ เปิดโอกาสให้เยาชนรุ่นใหม่ ร่วมนำเสนอนวัตกรรมด้านน้ำบาดาล

กรมทรัพยากรน้ำบาดาล โดย นายศักดิ์ดา วิเชียรศิลป์ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ได้เข้าร่วมในพิธีเปิดการประชุมเครือข่ายและนวัตกรรมน้ำบาดาลแห่งชาติ ครั้งที่ 2 มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เป็นเครือข่ายอนุรักษ์น้ำบาดาล จำนวนทั้งสิ้น 300 ราย กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 10-11 มีนาคม 2565 ณ โรงแรมสวิสโซเทล กรุงเทพฯ รัชดา กรุงเทพมหานคร

นายศักดิ์ดา วิเชียรศิลป์ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล  กล่าวว่า “ในปัจจุบันหน่วยงานราชการจำเป็นต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกและนวัตกรรม เพื่อให้การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำบาดาล และเครือข่ายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน สามารถนำไปสู่การพัฒนาองค์กรน้ำบาดาล ที่สามารถตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

ในการนี้ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาศักยภาพ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เป็นเครือข่ายอนุรักษ์น้ำบาดาล ให้มีองค์ความรู้และความเข้าใจ เกี่ยวกับทรัพยากรน้ำบาดาล แนวทางการบริหารจัดการ รวมทั้งเรียนรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมน้ำบาดาล เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับเครือข่ายอนุรักษ์น้ำบาดาล และ กระตุ้นชุมชนให้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำบาดาลร่วมกันตามแนวคิดธรรมภิบาลน้ำบาดาล”

สำหรับการประชุมเครือข่ายและนวัตกรรมน้ำบาดาลแห่งชาติ ครั้งที่ 2 เป็นกิจกรรมหนึ่งภายใต้โครงการถ่ายทอดองค์ความรู้ และประกวดแนวคิดและนวัตกรรมด้านน้ำบาดาล  เพื่อสร้างเครือข่ายท้องถิ่นต้นแบบด้านการบริหารจัดการน้ำบาดาลอย่างยั่งยืน

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีในการนำเสนอ นวัตกรรมน้ำบาดาล จากมหาวิทยาลัยราชภัฏ จากการประกวดแนวคิดและนวัตกรรมน้ำบาดาล รวมทั้งเป็นการแลกเปลี่ยนแนวคิด องค์ความรู้ และเสริมสร้างเครือข่ายด้านน้ำบาดาล อันจะส่งผลต่อการพัฒนาระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำบาดาลของประเทศไทย ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศและสังคมโดยรวม

นอกจากนี้ ยังได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏจัดการประกวดแนวคิดและนวัตกรรมด้านน้ำบาดาล (GROUNDWATER INNOVATION CHALLENGE ) เพื่อส่งเสริมให้เกิดการคิดค้นและพัฒนา น้ำความรู้ไปปรับใช้เป็นนวัตกรรมต้นแบบที่ใช้ได้จริงในชุมชน

โดยผู้ชนะเลิศจะได้รับเงินรางวัล จำนวน 80,000 บาท

รองชนะเลิศอันอับหนึ่ง ได้รับเงินรางวัล 60,000 บาท

รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง ได้รับเงินรางวัล 40,000 บาท

และรางวัลชมเชย ได้รับเงินรางวัล 20,000 บาท

ซึ่งได้รับความสนใจและมีมหาวิทยาลัยราชภัฏ 32  แห่ง เข้าร่วมการประกวดในโครงการถ่ายทอดองค์ความรู้และประกวดแนวคิดและนวัตกรรมด้านน้ำบาดาล เพื่อสร้างเครือข่ายท้องถิ่นต้นแบบ ด้านการบริหารจัดการน้ำบาดาลอย่างยั่งยืน