นายอเนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.อว.พร้อมคณะฯ ลงพื้นที่กลุ่มสตรีทอผ้าไหมบ้านหัวช้าง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ

นายอเนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.อว.พร้อมคณะฯ ลงพื้นที่กลุ่มสตรีทอผ้าไหมบ้านหัวช้าง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ ยกระดับคุณภาพชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม พัฒนาผ้าทอเบญจศรี สู่สากล

วันที่ 12 มีนาคม 2565 เวลา 13.30 น. ณ กลุ่มสตรีทอผ้าไหมบ้านหัวช้าง หมู่ที่ 1 ตำบล หัวช้าง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พร้อมคณะ ลงพื้นที่กลุ่มสตรีทอผ้าไหมบ้านหัวช้าง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ เพื่อยกระดับและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์สิ่งทอ ในการส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ภายใต้ปรแกรมการยกระดับคุณภาพชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน โดยเฉพาะในมิติทางด้านเศรษฐกิจและรายได้ของเกษตรกรในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้โดยใช้องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม

โอกาสนี้ นายวัฒนา พุฒิชาติ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ หัวหน้าส่วนราชการระดับจังหวัด อำเภอ ให้การต้อนรับ โดยมีนายศราวุธ ทรงโฉม นายอำเภออุทุมพรพิสัย ปลัดองค์การบริการส่วนตำบลหนองหัวช้างกล่าวให้การต้อนรับ รมว.อว. และคณะ

ในการนี้ นางสาววริศรา โสภาค พัฒนาการจังหวัดศรีสะเกษ พร้อมด้วย นายคำพอง วรรณวัติ ผู้อำนวยการกลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน นางสาวธนพร ขจิตเวทย์ ผู้อำนวยการกลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน นายสมยศ รำจวน พัฒนาการอำเภออุทุมพรพิสัย นักวิชาการพัฒนาชุมชนจังหวัด/อำเภอ ร่วมให้การต้อนรับ และกลุ่มสตรีทอผ้าไหมบ้านหัวช้าง นำโดย นายสิทธิ์ศักดิ์ ศรีแก้ว ประธานกลุ่มได้นำเสนอข้อมูลความเป็นมาของกลุ่มว่า แรกเริ่มเป็นกลุ่มฯ ที่มีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมทอผ้าไหมเป็นวิถีมาตั้งแต่ดั้งเดิมซึ่งทางกลุ่มฯ มีการทอผ้าไหมตลอดทั้งปี สมาชิกก็จะมารวมตัวกันในการทอผ้าไหม เช่น ผ้าไหมมัดหมี่ ผ้าโสร่ง ผ้าขาวม้า ผ้าพื้น ผ้าไหมลายลูกแก้ว ฯลฯ

ซึ่งสมาชิกในกลุ่มแต่ละคนจะมีความสามารถในการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ทอผ้าไหม และทำตามความถนัดของแต่ละบุคคล ผลิตภัณฑ์ที่ได้ก็จะเป็นการผลิตผ้าไหมมัดหมี่ย้อมสีธรรมชาติ และผ้าทอเบญจศรีที่เป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดศรีสะเกษ จุดเด่นของกลุ่มคือทักษะด้านการย้อมสีธรรมชาติให้สวยงาม สีติดคงทน ซักแล้วสีไม่ตก ซึ่งกลุ่มฯ ได้มีการเรียนรู้และทดลองพัฒนากระบวนการการย้อมโดยใช้เทคนิคการนำน้ำสนิมเหล็กมาเป็นกระบวนการในการย้อมสีให้คงทน จนได้รับรางวัลตรานกยูงพระราชทาน และรางวัลอื่นๆ อีกมากมาย และสมาชิกกลุ่มที่มีฝีมือจนได้รับรางวัลประกวดระดับชาติ จะเป็นเยาวชนส่วนมาก เพราะกลุ่มเน้น การ “สืบสาน รักษา ต่อยอด” ภูมิปัญญาจากรุ่นสู่รุ่น และพัฒนาทักษะฝีมือไปอย่างไม่หยุดยั้ง ซึ่งปัจจุบันนับว่าเป็น Generation 4 นับมาจากบรรพบุรุษ ตนในฐานะประธานกลุ่ม ได้ชักชวนเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่มีใจรัก ในการทอผ้าไหม และสืบทอดการทอผ้าไหมมาจากรุ่นสู่รุ่น

นอกจากนี้แล้ว สมาชิกทุกคนในกลุ่มสตรีทอผ้าไหมบ้านหัวช้าง ยังสามารถสืบทอดองค์ความรู้ให้กับเยาวชน และกลุ่มทอผ้าอื่นๆ ที่สนใจ และอยากให้จุดทอผ้าบ้านหัวช้างเป็นศูนย์เรียนรู้ที่ครบวงจร ทั้งทางด้านการย้อม การทอและการแส่ว สามารถพัฒนาเป็นจุดท่องเที่ยวแวะซื้อสินค้าและเป็นจุดแสดงโชว์สินค้าผ้าไหมมัดหมี่ฯที่ได้รับรางวัลและผ้าที่ได้ทอถวายแด่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ซึ่งเป็นความภาคภูมิใจสูงสุดของกลุ่มฯ

ต่อจากนั้นได้ พาคณะ รมว.อว. เยี่ยมมนิทรรศการผ้าไหมมัดหมี่ ผลงานที่ชนะการประกวดรางวัลในระดับประเทศ ผ้าอัตลักษณ์เบญจศรี และผ้าไหมมัดหมี่ลายโบราณ สาธิตการย้อม ทอ แส่ว
ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.อว. กล่าวว่าจะพัฒนาและส่งเสริมให้ กลุ่ม OTOP จังหัดศรีสะเกษยกระดับและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์สิ่งทอ ภายใต้โมเดลเศรษฐกิจ BCG ในเรื่องของเทคโนโลยีและวนวัตกรรม ดังนี้

1.การใช้ เอนไซม์ “ENZease” ช่วยทำความสะอาดเส้นใยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการติดสีธรรมชาติลดระยะเวลาและลดต้นทุนในการฟอกย้อม รวมทั้งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

2.เทคนิคการสกัดสีธรรมชาติให้ย้อมติดทนนาน

3.เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์สิ่งทอด้วยคุณสมบัติพิเศษทางด้านนาโนเทคโนโลยี (Anti Bacteria/Anti UV/นุ่มลื่น/กลิ่นหอมอัตลักษณ์/สะท้อนน้ำ)

4.กี่ทอมืออัตโนมัติ ช่วยในการจดจำลวดลายและเพิ่มกำลังการผลิตสิ่งทอ

5.การอนุรักษ์ เก็บลวดลายอัตลักษณ์ท้องถิ่น โดยใช้แพลตฟอร์มนวนุรักษ์ เชื่อมโยงการท่องเที่ยว

6.การออกแบบที่ทันสมัย ตรตามความต้องการ และสร้างโอกาสในการเข้าถึงตลาดใหม่

สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดย สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ได้มีการส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยมีการต่อยอดและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับสิ่งทอพื้นเมือง ด้วยนาโนเทคโนโลยีมาเคลือบบนผ้าทอของจังหวัดศรีสะเกษ สามารถ ทนต่อการซัก 10 ครั้ง โดยมีคุณสมบัติพิเศษ นุ่ม และ เพิ่มกลิ่นหอม “ดอกลำดวน” ซึ่งเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดของจังหวัดศรีสะเกษ สร้างอัตลักษณ์ให้กับผ้าทอพื้นเมืองและเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ตลาดสากลสร้างเสน่ห์และอัตลักษณ์ให้กับผ้าทอของจังหวัดศรีสะเกษ

นอกจากนี้การทำงานแบบบูรณาการโดยอาศัยเครือข่ายทั้งภาครัฐ สถาบันการศึกษา ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมเพื่อ “สืบสาน รักษา ต่อยอดมรดกภูมิปัญญา ชูผ้าอัตลักษณ์เบญจศรี “ผ้าศรีลาวา ผ้าศรีกุลา ผ้าศรีมะดัน ผ้าศรีลำดวน และผ้าศรีมะเกลือ” สร้างรายได้กระจายสู่ชุมชน และสื่อสารไปสู่สังคมภายนอกได้ว่า “อะไร ๆ ก็ดีที่ศรีสะเกษ”

#OTOPศรีสะเกษ #ผ้าทอแบรนด์ศรีสะเกษ #ศรีสะเกษธานีผ้าศรีแส่ว #อะไรอะไรก็ดีที่ศรีสะเกษ #Cddsisaket
พัฒนาชุมชนศรีสะเกษ : นครแห่งความสุข
กลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน : รายงานข่าว