สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 8 มี.ค. 65

+ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง จะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น ส่วนภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง

+ ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณ จ.อุดรธานี (97 มม.) จ.น่าน (97 มม.) และจ.เพชรบูรณ์ (87 มม.)

+ ตามที่กรมอุตุนิยมวิทยา ได้คาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 6 – 8 มี.ค.65 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ในขณะที่บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน ทำให้บริเวณดังกล่าวจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น
กอนช. ได้ประสานกรมฝนหลวงและการบินเกษตร พิจารณาปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อลดความรุนแรงของผลกระทบจากพายุฤดูร้อน บริเวณภาคเหนือ ในช่วงเวลาดังกล่าว

+ ปริมาณน้ำใช้การแหล่งน้ำทั้งประเทศทุกขนาด 29,962 ล้าน ลบ.ม. (52%) ขนาดใหญ่ 23,900 ล้าน ลบ.ม. (51%) เฝ้าระวังน้ำน้อยในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ จำนวน 5 แห่ง (เขื่อนแม่กวงฯ แม่งัด ภูมิพล แม่จาง และ สิริกิติ์)

+ คุณภาพน้ำ เพื่อการอุปโภคบริโภค และการเกษตร ณ จุดเฝ้าระวัง ในแม่น้ำสายหลัก แม่น้ำเจ้าพระยา ท่าจีน บางปะกง แม่กลอง อยู่ในเกณฑ์ปกติ ปริมาณออกซิเจนละลายในแม่น้ำ ที่ท่าจีน และแม่กลอง ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน

+ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ห่วงใยประชาชนในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก ที่อาจจะได้รับผลกระทบจากพายุฤดูร้อน ในช่วงวันที่ 6-8 มี.ค. 65 เนื่องจากมวลอากาศเย็นแผ่ปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมีลมใต้ และลมตะวันออกเฉียงใต้ พัดเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน ส่งผลให้เกิดพายุฤดูร้อน ในพื้นที่เสี่ยงดังนี้

ภาคเหนือ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตาก และกำแพงเพชร

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัด บุรีรัมย์ และนครราชสีมา

ภาคกลาง จังหวัดอุทัยธานี กาญจนบุรี ราชบุรี และสมุทรสงคราม

ภาคตะวันออก จังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคใต้ จังหวัดเพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์

ทั้งนี้ ได้กำชับให้หน่วยงานเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์พายุฤดูร้อนที่อาจเกิดขึ้น เพื่อให้ความช่วยเหลือประชาชนได้อย่างทันท่วงที รวมถึงการแจ้งเตือนให้ประชาชนทราบสถานการณ์ และเน้นย้ำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเร่งตรวจสอบอาคารสถานที่ สิ่งก่อสร้าง ให้มั่นคงแข็งแรง