สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 6 มี.ค. 65

+ ประเทศไทยตอนบน มีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นบางพื้นที่ ส่วนภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น กับมีฝนตกหนักบางแห่ง

+ ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักบริเวณ จ.พังงา (63 มม.) จ.สุราษฎร์ธานี (62 มม.) และ จ.กระบี่ (62 มม.)

+ ตามที่กรมอุตุนิยมวิทยา ได้คาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 6 – 8 มี.ค.65 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ในขณะที่บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน ทำให้บริเวณดังกล่าวจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น
กอนช. ได้ประสานกรมฝนหลวงและการบินเกษตร พิจารณาปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อลดความรุนแรงของผลกระทบจากพายุฤดูร้อน บริเวณภาคเหนือ ในช่วงเวลาดังกล่าว

+ ปริมาณน้ำใช้การแหล่งน้ำทั้งประเทศทุกขนาด 30,229 ล้าน ลบ.ม. (52%) ขนาดใหญ่ 24,134 ล้าน ลบ.ม. (50%) เฝ้าระวังน้ำน้อยในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ จำนวน 3 แห่ง (เขื่อนแม่งัด ภูมิพล และ สิริกิติ์)

+ คุณภาพน้ำ เพื่อการอุปโภคบริโภค และการเกษตร ณ จุดเฝ้าระวัง ในแม่น้ำสายหลัก แม่น้ำเจ้าพระยา ท่าจีน บางปะกง แม่กลอง อยู่ในเกณฑ์ปกติ ปริมาณออกซิเจนละลายในแม่น้ำ ที่ท่าจีน และแม่กลอง ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน

+ กอนช. ติดตามระดับน้ำในแม่น้ำโขง เนื่องจากการเพิ่มการระบายน้ำของเขื่อนจิ่งหง จากที่ กอนช. ได้คาดการณ์และประกาศแจ้งเตือนระดับน้ำในแม่น้ำโขงเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน ในช่วงวันที่ 4-5 มีนาคม 65 ช่วงเหนือเขื่อนไซยะบุรี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว บริเวณสถานีเชียงแสน อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ระดับน้ำแม่น้ำโขงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น นั้น พบว่าเมื่อวันที่ 5 มี.ค. 65 ระดับน้ำบริเวณสถานีเชียงแสน ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นจากวันที่ 3 มี.ค. 65 ที่ 0.5 ม. แนวโน้มระดับน้ำยังคงเพิ่มขึ้น แต่ยังคงต่ำกว่าระดับตลิ่ง

ทั้งนี้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้แจ้ง 8 จังหวัดริมแม่น้ำโขง ได้แก่ เชียงราย เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี เตรียมความพร้อมในการปฏิบัติตามประกาศกองอํานวยการน้ำแห่งชาติ โดยติดตามระดับน้ำในแม่น้ำโขงอย่างต่อเนื่อง เตรียมพร้อมรับมือผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากระดับน้ำโขงเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน พร้อมแจ้งเตือนประชาชนเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรและประกอบกิจกรรมบริเวณแม่น้ำโขง รวมถึงประชาชนที่อาศัยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขงให้ติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด