กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 2 มีนาคม 2565 ดังนี้

1. ผลการดำเนินงานตาม 9 มาตรการ รองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำ ฤดูแล้ง ปี 2564/65 กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ได้ดำเนินการเจาะบ่อน้ำบาดาลตามโครงการศึกษาสำรวจ เพื่อประเมินศักยภาพ น้ำบาดาลในการพัฒนาเป็นแหล่งน้ำต้นทุนขนาดใหญ่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ณ ศูนย์พัฒนาโครงการ หลวงเลอตอ บ้านจ่อคี หมู่ที่ 6 ตำบลแม่หละ อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก

2. แหล่งน้ำทั่วประเทศ

2.1 แหล่งน้ำทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำใช้การ 30,836 ล้าน ลบ.ม. (53%) แบ่งเป็น แหล่งน้ำขนาดใหญ่38 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 24,605 ล้าน ลบ.ม. (51%) ขนาดกลาง 355 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 3,587 ล้าน ลบ.ม. (71%) และขนาดเล็ก 139,894 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 2,645 ล้าน ลบ.ม. (52%) สำหรับอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย ได้แก่ เขื่อนแม่กวงอุดมธารา แม่งัดสมบูรณ์ชล ภูมิพล และสิริกิติ์

2.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก (เขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ แควน้อยฯ และป่าสักฯ) ปริมาณน้ำใช้การ 5,431ล้าน ลบ.ม. (30%) โดยเขื่อนภูมิพล และสิริกิติ์ อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย

3. ผลการจัดสรรน้ำ (สะสมตั้งแต่ 1 พ.ย. 64 ถึงปัจจุบัน)

3.1 อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่สามารถจัดสรรน้ำได้มีจำนวน 35 แห่ง มีปริมาณน้ำใช้การทั้งสิ้น 24,391ล้าน ลบ.ม. (51%) มีแผนการจัดสรรน้ำ 16,678 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 9,884 ล้าน ลบ.ม. (59%)

3.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีแผนการจัดสรรน้ำ 4,700 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 3,328ล้าน ลบ.ม. (71%)

4. คุณภาพน้ำ และแจ้งเตือนน้ำทะเลหนุนสูง

4.1 คุณภาพน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและการเกษตร ในแม่น้ำสายหลักทั่วประเทศ คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ

4.2 ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณป้อมพระจุลจอมเกล้า คาดว่าระดับน้ำจะขึ้นสูงสุด เวลา 08.35 น. ประมาณ 1.53 ม. จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ซึ่งกองอำนวยการน้ำแห่งชาติวิเคราะห์แล้วพบว่ายังไม่มีผลกระทบ
ต่อคุณภาพน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยา

5. การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์ กรมฝนหลวงและการบินเกษตรเตรียมเปิดปฏิบัติการประจำปี 2565 โดยจะเริ่มดำเนินการในวันพฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม 2565 ณ สนามบินนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อช่วยเหลือพี่น้องประชาชนในพื้นที่การเกษตร พร้อมตั้งหน่วยปฏิบัติการ จำนวน 10 หน่วย ได้แก่ หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ จ.ตาก จ.แพร่ และจ.พิษณุโลก หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงภาคกลาง จ.นครสวรรค์ และ จ.กาญจนบุรี หน่วยปฏิบัติการฝนหลวง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.อุดรธานี จ.ขอนแก่น และ จ.บุรีรัมย์ หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงภาคตะวันออก จ.จันทบุรี และหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงภาคใต้ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์