รายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2565

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2565 ดังนี้

1. ผลการดำเนินงานตาม 9 มาตรการ รองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำ ฤดูแล้ง ปี 2564/65

กรมประมง ดำเนินการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก สายรอง และเตรียมแผนปฏิบัติการรองรับกรณีเกิดปัญหา อีกทั้งให้ความรู้เกษตรกรด้านการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำในฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

2. แหล่งน้ำทั่วประเทศ

2.1 แหล่งน้ำทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำใช้การ 31,761 ล้าน ลบ.ม. (55%) แบ่งเป็น แหล่งน้ำขนาดใหญ่
38 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 25,470 ล้าน ลบ.ม. (53%) ขนาดกลาง 355 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 3,642 ล้าน ลบ.ม. (72%) และขนาดเล็ก 139,894 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 2,648 ล้าน ลบ.ม. (52%) สำหรับอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย ได้แก่ เขื่อนแม่กวงอุดมธารา แม่งัดสมบูรณ์ชล ภูมิพล และสิริกิติ์
2.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก (เขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ แควน้อยฯ และป่าสักฯ) ปริมาณน้ำใช้การ 5,717ล้าน ลบ.ม. (31%) โดยเขื่อนภูมิพล และสิริกิติ์ อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย

3. ผลการจัดสรรน้ำ (สะสมตั้งแต่ 1 พ.ย. 64 ถึงปัจจุบัน)

3.1 อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่สามารถจัดสรรน้ำได้มีจำนวน 35 แห่ง มีปริมาณน้ำใช้การทั้งสิ้น 25,241
ล้าน ลบ.ม. (53%) มีแผนการจัดสรรน้ำ 16,678 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 8,833 ล้าน ลบ.ม. (53%)
3.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีแผนการจัดสรรน้ำ 4,700 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 3,029
ล้าน ลบ.ม. (64%)

4. คุณภาพน้ำ และแจ้งเตือนน้ำทะเลหนุนสูง

4.1 คุณภาพน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและการเกษตร ในแม่น้ำสายหลักทั่วประเทศ คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ
4.2 ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณป้อมพระจุลจอมเกล้า คาดว่าระดับน้ำจะขึ้นสูงสุด เวลา 06.36 น. ประมาณ 1.34 ม. จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ซึ่งกองอำนวยการน้ำแห่งชาติได้มีประกาศแจ้งเตือนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเฝ้าระวังและเตรียมรับมือสถานการณ์คุณภาพน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา

5. การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์

เมื่อวันที่ 14-18 ก.พ. 2565 สสน. ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน จัดอบรมผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เรื่อง “การจัดตั้งศูนย์ข้อมูลน้ำ” และอบรมเชิงปฏิบัติการ “การใช้งานระบบสารสนเทศทรัพยากรน้ำเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์น้ำและบริหารจัดการน้ำระดับพื้นที่” เพื่อสร้างความเข้าใจและทราบถึงบทบาทการดำเนินงานของศูนย์ข้อมูลน้ำระดับจังหวัด โดยมีผู้แทนจากศูนย์บริหารจัดการน้ำจังหวัดแพร่ และลำพูนร่วมถ่ายทอดประสบการณ์ ทั้งนี้ ได้เปิดโอกาสให้ผู้อบรมร่วมแสดงความคิดเห็น เพื่อวางกรอบการทำงานและแนวทางการสนับสนุนจากหน่วยงานในพื้นที่