ททท. เดินหน้า “พลิกโฉม” “ปีท่องเที่ยวไทย 2565”

Featured Video Play Icon

วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2565 นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) แถลงข่าวเปิด “ปีท่องเที่ยวไทย 2565” และ “Visit Thailand Year 2022 : Amazing New Chapters” เพื่อส่งสัญญาณให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยวอย่างเต็มรูปแบบ โดยยกโมเดล “DASH” เพื่อฟื้นการท่องเที่ยวไทยและช่วยฟื้นเศรษฐกิจในภาพรวม ณ ห้องฉัตรา บอลลูม 3 โรงแรมสยามเคมปินสกี้ กรุงเทพมหานคร

นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการ ททท. กล่าวว่า จากการที่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นากรัฐมนตรี ได้วางนโยบายในการ “พลิกโฉมประเทศไทย” ด้วยแนวทางการทำงานใหม่ ๆ เพื่อให้ประเทศไทยได้เข้าสู่วิถีใหม่ในทุกมิติโดยเริ่มตั้งแต่การเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวโดยไม่ต้องกักตัวในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา ซึ่งในภาค การท่องเที่ยวนั้น ททท. ได้นำเสนอแนวทางการดำเนินการในแคมเปญ Visit Thailand Year 2022 : Amazing New Chapters หรือ ปีท่องเที่ยวไทย ปี 2565 โดยในการประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบจาก การระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบศ.) ครั้งที่ 4/2564 เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2564 ได้มีมติเห็นชอบการประกาศส่งเสริมปีท่องเที่ยวไทย 2565 และคณะรัฐมนตรีได้รับทราบในหลักการแล้ว โดย ททท. ได้เปิดตัวแคมเปญครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 ในงาน World Travel Mart 2021 ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร

ผู้ว่าการ ททท. กล่าวในภาพรวมว่า ในส่วนการดำเนินของ ททท. นั้น ได้ตั้งเป้าให้เกิด Greatest Change ด้วย Soft Power of Thailand ตามแนวทาง 5F : 4M คือ Food Film Fashion Festival Flight Music Museum Master (Sport) และ Meta เพื่อเพิ่มสัดส่วนนักท่องเที่ยวคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่แตกต่าง นำอุตสาหกรรมท่องเที่ยวให้เปลี่ยนแปลงบนพื้นฐานของการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบและดิจิทัล เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และส่งเสริม การท่องเที่ยวโดยใช้หลัก Inclusive Tourism เจาะกลุ่มเป้าหมายคุณภาพและนักท่องเที่ยวที่มีกำลังซื้อสูง เต็มใจจ่ายเพื่อตอบสนองคุณค่าของประสบการณ์ แสดงออกซึ่งความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม 4-2-2 คือ 4 Personas (ประชากรโลกผู้ที่มีความมั่งคั่งสูง ผู้เกษียณอายุจากต่างประเทศ ผู้ต้องการทำงานจากประเทศไทย และผู้ที่มีทักษะเชี่ยวชาญพิเศษ) 2 Demographic (Millennials และ Active Senior) 2 Behavior (Medical & Wellness และ Responsible Tourism)

ทั้งนี้ ได้วางโมเดล “DASH” เป็นแนวทางการดำเนินงานเพื่อพลิกโฉมการท่องเที่ยวไทย โดยระดมการทำงานของ ททท. มุ่งสู่การพลิกโฉมทั้งระบบ กล่าวคือ D – Domestic Travel ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศ ทั้งนักท่องเที่ยวและผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว A – Accelerate Demand กระตุ้นอุปสงค์เชิงคุณภาพ สร้างความเชื่อมั่นและภาพลักษณ์ที่ดีบนพื้นฐานของความปลอดภัย มุ่งเน้นนักท่องเที่ยวคุณภาพและกลุ่มรายได้สูง และส่งมอบประสบการณ์ที่แตกต่าง มีคุณค่า อย่างประทับใจ S – Shape Supply ยกระดับระบบนิเวศท่องเที่ยวสู่ความมีคุณภาพและความยั่งยืน บนพื้นฐานของการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบและ Digital Tourism ให้ทุกฝ่ายได้รับประโยชน์ร่วมกัน มีการกระจายรายได้สู่แต่ละภาคส่วนอย่างยั่งยืน และ H – Healing Thai Economy ฟื้นประเทศด้วยการท่องเที่ยว เยียวยาเศรษฐกิจ ด้วยการเปิดประเทศเพื่อให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยว “ลุกเร็ว ก้าวไว” เติบโตอย่างเข้มแข็ง เพื่อให้ Visit Thailand Year 2022 : Amazing New Chapters เป็นปีที่มีการเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่ความยั่งยืน ส่งมอบความสุข ความปลอดภัย บนพื้นฐานความเป็นไทย ที่สร้างประสบการณ์ที่แตกต่าง ด้วยความร่วมมือกันของทุกภาคส่วนในการฟื้นประเทศไทยด้วยการท่องเที่ยว เชิงคุณภาพ

ทั้งนี้ ได้วางสัดส่วนรายได้จากการท่องเที่ยวที่ให้ความสำคัญกับตลาดในประเทศมากขึ้น และเน้นตลาดคุณภาพจากต่างประเทศ โดยตลาดระยะไกล ได้ดำเนินโครงการ Amazing Thailand Workplace Paradise คือ การดึงกลุ่ม Remote Workers มายังประเทศไทย ซึ่งกลุ่มดังกล่าวเกิดขึ้นจากการระบาดของโควิด-19 ที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงทั้งรูปแบบการเดินทางและรูปแบบการทำงาน โดยสร้างให้ประเทศไทยเป็นที่ 1 Remote Workers Friendly Destination ของโลก ในส่วนของตลาดระยะใกล้ ได้ใช้โอกาสที่ดีในการที่รัฐบาลได้เปิดการท่องเที่ยวแบบ Test & Go อีกครั้ง

โดยได้วางแนวคิด New Chapters, New Opportunityส่วนตลาดในประเทศ มุ่งเน้นการสร้างประสบการณ์ เพื่อตอบโจทย์ความคาดหวังของนักท่องเที่ยวด้วย การพลิกโฉมการท่องเที่ยวของไทยในอนาคตให้เป็นไปอย่างมีคุณภาพ และยั่งยืน ภายใต้ แคมเปญในประเทศ คือเที่ยวเมืองไทย Amazing ยิ่งกว่าเดิม

สำหรับสินค้าทางการท่องเที่ยวนั้น เน้นการสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์กลุ่ม Workation & Staycation Wellness Sport และการมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม (Low Carbon)

นอกจากนี้ ททท. ยังคงให้ความสำคัญกับทางท่องเที่ยวเชิงอาหาร Soft Power ที่แข็งแกร่งของประเทศไทย โดยสร้างประสบการณ์อาหารในมุมของอาหารปลอดภัย ตอบสนองคนรุ่นใหม่ที่ใส่ใจสุขภาพมากขึ้น (Organic Lifestyle) เป็นการเผยแพร่ Best Practice Model ให้กระจายในวงกว้าง รองรับการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการท่องเที่ยวของประเทศไทยให้เกิดความยั่งยืนและสามารถสร้างมูลค่าและคุณค่าให้กับอาหารได้อย่างชัดเจน

ผู้ว่าการ ททท. กล่าวในส่วนของการใช้นวัตกรรมและการบริหารบุคลากรว่า ททท. มีโครงการ TAT Amazing Influencer หรือ อินฟลูเอนเซอร์เสมือนจริง ที่จะนำเทคโนโลยี Virtual Character มาเป็นเครื่องมือใน การสร้างประสบการณ์เฉพาะบุคคลให้มาเป็นส่วนหนึ่งของบุคลิกของอินฟลูเอนเซอร์ของ ททท. ผ่านโลก Metaverse และโครงการ TAT NFTs ที่จะก้าวสู่การนำเสนอสินค้าทางการท่องเที่ยวสู่ศิลปะดิจิทัล โดยเริ่มที่สินค้าภูมิปัญญาเฉพาะถิ่น เพื่อจำหน่าย ซึ่งเป็นการนำดิจิทัลสร้างมูลค่าและความยั่งยืน

ทั้งนี้ การดำเนินการทั้งหมด มีเป้าหมายเดียวกัน คือ การสร้างรายได้รวม 1.28 ล้านล้านบาท