สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 4 ก.พ. 65

+ ภาคเหนือตอนบน มีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ ภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง

ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา ฉบับที่ 4 ในช่วงวันที่ 4-6 กุมภาพันธ์ 2565 คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจะเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน และแพร่ มีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่

+ ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักบริเวณ

จ.ชุมพร (50 มม.) จ.นครศรีธรรมราช (50 มม.) และ จ.น่าน (49 มม.)

+ ปริมาณน้ำใช้การแหล่งน้ำทั้งประเทศทุกขนาด 33,818 ล้าน ลบ.ม. (59%) ขนาดใหญ่ 27,040 ล้าน ลบ.ม. (57%) เฝ้าระวังน้ำน้อยในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ จำนวน 5 แห่ง (เขื่อนแม่กวงฯ แม่งัด ภูมิพล แม่จาง และ สิริกิติ์)

+ คุณภาพน้ำ เพื่อการอุปโภคบริโภค และการเกษตร ณ จุดเฝ้าระวัง ในแม่น้ำสายหลัก แม่น้ำเจ้าพระยา ท่าจีน บางปะกง แม่กลอง อยู่ในเกณฑ์ปกติ ปริมาณออกซิเจนละลายในแม่น้ำ ที่ท่าจีน และแม่กลอง ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน

 + นายสราวุธ ชีวะประเสริฐ รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เป็นประธานการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน โครงการศึกษาการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์และแผนหลักการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ พื้นที่ลุ่มน้ำแม่กลอง ณ จ.กาญจนบุรี ในการประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุม ได้รับทราบข้อสรุปแนวทางการพัฒนาพื้นที่ ซึ่งเสนอ 2 แนวทาง คือการพัฒนาพื้นที่เกษตรพื้นถิ่นร่วมกับการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวตามนโยบายของรัฐ และการพัฒนาตามความต้องการของประชาชน ภายใต้ข้อจำกัดของทรัพยากรดินและน้ำ ร่วมกับการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ พร้อมข้อเสนอร่างแผนหลักการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี ของพื้นที่ลุ่มน้ำแม่กลอง อีกทั้งยังร่วมกันเสนอแนะข้อคิดเห็นหรือสภาพปัญหาที่ต้องคำนึงถึงภายในพื้นที่เพิ่มเติม เช่น การเพิ่มเติมโครงการระบบบำบัดน้ำเสียชุมชน ในพื้นที่ชุมชนต้นน้ำ การวางแผนบริหารจัดการน้ำที่ปล่อยจากแหล่งกักเก็บน้ำขนาดใหญ่ การกัดเซาะพังทลายของตลิ่ง ปัญหาน้ำท่วม เป็นต้น

 สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ภาค 2 ประชุมหารือเตรียมรับมือภัยแล้ง เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงภาวะน้ำแล้งด้านการเกษตร ณ อ.บ้านสร้าง จ.ปราจีนบุรี ที่ประชุมได้มีข้อสรุป ดังนี้

– การคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงน้ำแล้งด้านการเกษตร (นารอบ 2) ต.บ้านสร้าง และต.บางกะเบา นั้น ข้อเท็จจริงแล้ว สถานการณ์ไม่ได้รุนแรงตามที่คาดไว้

– ให้ อปท. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ติดตามสถานการณ์และเตรียมรับมือความเสี่ยงน้ำแล้งทั้งด้านเกษตรกรรมและอุปโภค บริโภค โดยให้ประสานขอรับการสนับสนุนเครื่องสูบน้ำจากสำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 6 และติดตั้งถังเก็บน้ำในพื้นที่เพิ่มเติม

– ให้สำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 6 และหน่วยงานในพื้นที่ปรับปรุงข้อมูลข้อเท็จจริงในพื้นที่บริเวณฝั่งขวาแม่น้ำปราจีนบุรี ต่อไป