+ ภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง
+ ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักบริเวณ จ.กระบี่ (48 มม.) จ.น่าน (36 มม.) และ จ.พังงา (35 มม.)
+ ปริมาณน้ำใช้การแหล่งน้ำทั้งประเทศทุกขนาด 34,067 ล้าน ลบ.ม. (59%) ขนาดใหญ่ 27,261 ล้าน ลบ.ม. (57%) เฝ้าระวังน้ำน้อยในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ จำนวน 5 แห่ง (เขื่อนแม่กวงฯ แม่งัด ภูมิพล แม่จาง และ สิริกิติ์)
+ คุณภาพน้ำ เพื่อการอุปโภคบริโภค และการเกษตร ณ จุดเฝ้าระวัง ในแม่น้ำสายหลัก แม่น้ำเจ้าพระยา ท่าจีน บางปะกง แม่กลอง อยู่ในเกณฑ์ปกติ ปริมาณออกซิเจนละลายในแม่น้ำ ที่ท่าจีน และแม่กลอง ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
+ กอนช. เฝ้าระวังความเค็มรุกตัวจากอิทธิพลของน้ำทะเลขึ้นสูงช่วงปรากฏการณ์น้ำเกิด ในเดือน ก.พ.- มี.ค.65 กอนช. ติดตามการคาดการณ์ระดับน้ำทะเลขึ้นสูง ของ กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) ในช่วงวันที่ 1 – 4 ก.พ. 65 วันที่ 15 – 17 ก.พ. 65 และวันที่ 28 ก.พ.– 1 มี.ค. 65 จะเกิดภาวะน้ำทะเลขึ้นเต็มที่ โดยข้อมูลฐานน้ำขึ้นสูงสุด แม่น้ำเจ้าพระยาหน้าสถานีกองบัญชาการกองทัพเรือ เมื่อวานนี้ (1 ก.พ. 65) พบว่าน้ำทะเลขึ้นสูงสุดในช่วงเช้า เวลา 09.26 น. ระดับน้ำอยู่ที่ +1.37 ม.รทก. ความเค็มแม่น้ำเจ้าพระยา ณ สถานีสูบน้ำสำแล จ.ปทุมธานี วัดได้ 0.20 กรัมต่อลิตร ยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ คาดการณ์ ในช่วงวันที่ 1-4 ก.พ. 65 จะมีระดับน้ำทะเลขึ้นสูงสุด ในวันนี้ (2 ก.พ. 65) เวลา 09.58 น. ระดับน้ำอยู่ที่ +1.39 ม.รทก. กอนช. ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ติดตามและเฝ้าระวังคุณภาพน้ำเนื่องจากความเค็มรุกตัวบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา และกำหนดแนวทาง การบริหารจัดการน้ำในช่วงดังกล่าว เพื่อลดผลกระทบต่อประชาชน ทั้งการใช้น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและการเกษตร
+ กอนช. ติดตามการดำเนินการมาตรการรองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำ ฤดูแล้ง ปี 2564/65 ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 ม.ค. 65 โดย พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะผู้บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ สั่งการให้กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด ทุกจังหวัด สำรวจพื้นที่หมู่บ้าน/ชุมชนที่เคยเกิดปัญหาขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคเป็นประจำ รวมถึงพื้นที่ที่มีปริมาณฝนตกน้อยจนไม่สามารถเก็บกักน้ำได้ ให้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำหนดแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าวเพื่อให้มีน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคเพียงพอตลอดช่วงฤดูแล้งนี้ สำหรับการจัดสรรน้ำเพื่อการเกษตร ให้ดำเนินการตามแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยด้านการเกษตรในช่วงฤดูแล้ง โดยกำหนดมาตรการรองรับในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง โดยเฉพาะพืชสวนที่เป็นไม้ยืนต้นและมีความสำคัญทางเศรษฐกิจ พร้อมประสานกรมฝนหลวงและการบินเกษตร จัดทำฝนหลวงในพื้นที่เกษตรและพื้นที่เสี่ยงเพื่อกักเก็บน้ำในแหล่งน้ำเพิ่มเติมให้ได้มากที่สุด