เวทีสนับสนุนและส่งเสริมให้กลไกของ “สภาองค์กรผู้บริโภคจังหวัด” มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนานโยบายสาธารณะระดับจังหวัดที่เกี่ยวข้องกับการทำงานคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค

เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2565 สภาองค์กรผู้บริโภคจังหวัดแพร่ได้จัดเวทีสนับสนุนและส่งเสริมให้กลไกของ “สภาองค์กรผู้บริโภคจังหวัด” มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนานโยบายสาธารณะระดับจังหวัดที่เกี่ยวข้องกับการทำงานคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคที่ห้องประชุมธรรมโกศัย ชั้น2 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแพร่เพื่อหาแนวทางการเฝ้าระวังร่วมกัน สภาองค์กรของผู้บริโภคโดยนายศรัณรัชต์ สายญาติ กองเลขาของสภาองค์กรผู้บริโภคจังหวัดแพร่ได้นำเสนอสถานการณ์ของผู้บริโภคจังหวัดแพร่ดังนี้

อันดับที่1 บริการสุขภาพและสาธารณสุข 35 เรื่อง ได้รับผลกระทบจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 (เสียชีวิต แขนขาอ่อนแรง เส้นเลือดในสมองแตกอัมพาตครึ่งซีก ไข้ไม่ลด ปากเบี้ยว ชาแขนขา ) มาตรฐานการรักษา, ระบบการส่งต่อ, การใช้สิทธิในกองทุนฉุกเฉิน ที่ยังคงเป็นปัญหาจากความเข้าใจและการตีความที่ไม่ตรงกันระหว่างผู้ใช้บริการกับผู้ให้บริการว่าอาการป่วยลักษณะไหนที่เข้าข่ายใช้สิทธิฉุกเฉินได้ ปัญหาคุณภาพการให้บริการของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล ถูกเรียกเก็บเงินใบรับรองแพทย์ การย้ายสิทธิการรักษา สิทธิหลักประกันสุขภาพ (สิทธิบัตรทอง สิทธิประกันสังคม)

อันดับที่2 อาหาร ยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ 14 เรื่องปัญหาอาหารหมดอายุแล้วยังนำมาจำหน่ายในห้างร้าน วันที่ผลิต วันหมดอายุ ไม่ชัดเจน ฉลากกำกับไม่เป็นภาษาไทย ปัญหาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่โฆษณาอวดอ้างสรรพคุณเสมือนยารักษาโรค โดยที่ไม่มีการควบคุม หรือกำกับดูแลอย่างทั่วถึง เช่น ผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนัก เร่งผิวขาว หน้าเด้ง หน้าใส หรือแม้กระทั่งผลิตภัณฑ์ที่เสริมสมรรถภาพทางเพศ ก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้บริโภค รวมถึงพบสิ่งเจือปนในอาหาร จากการเฝ้าระวังออนไลน์ใน E Market พบว่า สินค้าบางประเภทเลขทะเบียนไม่มีในระบบ อ.ย นอกจากนี้จากการลงพื้นที่ของคณะทำงานยังพบว่า ร้านค้าไม่ได้จดทะเบียนพาณิช กาแฟมีสรรพคุณลด ความดัน ไขมัน เบาหวาน(โฆษณาเกินจริง) ยาฟ้าทะลายโจรมีราคาแพง มีการสวมทะเบียนยา ชุดตรวจ ATK มีราคาแพงไม่มีการควบคุมราคา

อันดับที่3 สินค้าและบริการทั่วไป 7 เรื่อง สั่งสินค้าออนไลน์ไม่ได้ของ,สินค้าไม่ตรงตามที่โฆษณา ส่งสินค้าผิดประเภท มีสินค้ามาส่งถูกเรียกเก็บเงินปลายทาง(ไม่ได้สั่งสินค้า) พนักงานไม่โทรหาก่อนนำสินค้าไปส่งกลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแพร่ โดยเภสัชกร ธาดา ยาพรม ได้นำเสนอการเฝ้าระวังเรื่อง อาหาร ยา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ที่ผ่านมามีการนำผู้ประกอบการมาทำความเข้าใจร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาอาหารไม่ปลอดภัยรวมทั้งได้ลงพื้นที่สำรวจร้านค้าในชุมชน เพื่อดูแลเรื่องยาอันตราย

แผนการดำเนินงานร่วมกันระหว่างสภาองค์กรผู้บริโภคจังหวัดแพร่และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแพร่ร้านขายของชำในชุมชนอาหาร นม,ขนม,เครื่องดื่มยาต้องห้าม ทะเบียนยา ยาสมุนไพรของฝาก น้ำพริกหนุม หมูยอ โรงพยาบาล คลินิก การได้รับผลกระทบจากการฉีดวัคซีนโควิด-19มาตรฐานการรักษา, ระบบการส่งต่อ, การใช้สิทธิในกองทุนฉุกเฉิน ถูกเรียกเก็บเงิน การเก็บค่ารักษาแพงเกินจริง

ภาพ/ข่าว
ราเชนทร์ โชติถนอมกิจ
แพร่…รายงาน