พ่อเมืองศรีสะเกษ นำทีม พช. ร่วมกับ ม.ราชภัฏศรีสะเกษ จับมือ สวทช. จัดเวทีทดสอบกลิ่นผ้าทอเบญจศรี นวัตกรรมนาโนเทคโนโลยี

พ่อเมืองศรีสะเกษ นำทีม พช. ร่วมกับ ม.ราชภัฏศรีสะเกษ จับมือ สวทช. จัดเวทีทดสอบกลิ่นผ้าทอเบญจศรี นวัตกรรมนาโนเทคโนโลยี เติมกลิ่นดอกลำดวน ผ้าทอเบญจศรี “สืบสาน รักษา ต่อยอด” มรดกภูมิปัญญา ชูผ้าอัตลักษณ์เบญจศรี “ผ้าศรีลาวา ผ้าศรีกุลา ผ้าศรีมะดัน ผ้าศรีลำดวน และผ้าศรีมะเกลือ” สู่สากล สร้างรายได้กระจายสู่ชุมชน

วันที่ 25 มกราคม 2565 เวลา 06.30 น. ณ ลานโคปุระ เกาะกลางน้ำห้วยน้ำคำ จังหวัดศรีสะเกษ นายวัฒนา พุฒิชาติ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ พร้อมด้วย รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ นำทีมสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ  ม.ราชภัฏศรีสะเกษ​  จัดเวทีทดสอบกลิ่นผ้าทอเบญจศรี กลิ่นดอกลำดวน​ นวัตกรรมนาโนเทคโนโลยี จากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) ภายใต้โปรแกรมการยกระดับคุณภาพชีวิตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยมีหัวหน้าส่วนราชการ ประชาชนจำนวน​ 100​ คน  ร่วมทดสอบกลิ่นตัวอย่าง​ 4 กลิ่น (ดอกลำดวน 1 ดอกลำดวน 2 ดอกลำดวน 3 ดอกลำดวน 4) เพื่อสร้างเสน่ห์และอัตลักษณ์ให้กับผ้าทอของจังหวัดศรีสะเกษ​ พร้อมเปิดตัวในช่วงเทศกาลดอกลำดวนบานฯ​ ประจำปี​ 2565

ในการนี้ นางสาววริศรา โสภาค พัฒนาการจังหวัดศรีสะเกษ พร้อมด้วยผู้อำนวยการกลุ่มงานฯ พัฒนาการอำเภอ และเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ทั้งในระดับจังหวัดและระดับอำเภอ ร่วมจัดเวทีทดสอบ และร่วมทดสอบกลิ่นตัวอย่าง​ 4 กลิ่น เพื่อคัดเลือกกลิ่นดอกลำดวน นวัตกรรมนาโนเทคโนโลยี ในการเติมกลิ่นดอกลำดวน​ ผ้าทอเบญจศรี

ทั้งนี้ นางสาววริศรา โสภาค พัฒนาการจังหวัดศรีสะเกษ ได้นำเรียนถึงกรใช้นวัตกรรมนาโนเทคโนโลยี ในการเติมกลิ่นดอกลำดวน​ ผ้าทอเบญจศรี ว่า การเพิ่มคุณสมบัติพิเศษผ้าทอพื้นเมืองด้วยนาโนเทคโนโลยี ให้นุ่มลื่น และ กลิ่นหอมของดอกลำดวน  เนื่องด้วยอายุการใช้งานที่สั้นของสิ่งทอ เช่น เสื้อผ้า ผ้าม่านสำเร็จรูป ผ้าคลุมโซฟาสำเร็จรูป มุ้ง ฯลฯ ที่เกิดจากการซักล้างคราบปนเปื้อนและสิ่งสกปรก รวมถึงการถูกแสงแดดบ่อย ล้วนเป็นปัจจัยเร่งให้เส้นใยสิ่งทอเสื่อมสภาพ ขาดหลุดลุ่ยเร็วขึ้น สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดย ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) จึงได้พัฒนาน้ำยาเคลือบสิ่งทอสำหรับผลิตภัณฑ์สิ่งทอสำเร็จรูปด้วยนาโนเทคโนโลยี เพื่อป้องกันและลดปัญหาการเสื่อมสภาพของสิ่งทอ ซึ่งมีคุณสมบัติพิเศษที่สามารถช่วยเพิ่มมูลค่าสิ่งทอ  5 คุณสมบัติ ดังนี้

1)สะท้อนน้ำ  ลดการปนเปื้อน ลดการซักล้าง

2) ป้องกันรังสียูวี ลดปัญหาสีซีดจาง และการทำลายความแข็งแรงของเส้นใย

3) ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียลดการเกิดกลิ่นอับ ลดการซักล้าง

4) ให้กลิ่นหอม ด้วยเทคโนโลยีควบคุมการปล่อยกลิ่นให้หอมติดทนนาน

5) นุ่มลื่น กันยับ  เพื่อให้รีดง่ายและยับยาก

ทั้งนี้  สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดย สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ได้มีการส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยมีการต่อยอดและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับสิ่งทอพื้นเมือง ด้วยนาโนเทคโนโลยีมาเคลือบบนผ้าทอของจังหวัดศรีสะเกษ สามารถ ทนต่อการซัก 10 ครั้ง โดยมีคุณสมบัติพิเศษ นุ่ม และ เพิ่มกลิ่นหอม “ดอกลำดวน” ซึ่งเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดของจังหวัดศรีสะเกษ  สร้างอัตลักษณ์ให้กับผ้าทอพื้นเมืองและเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ตลาดสากล

ซึ่งผลจากร่วมทดสอบกลิ่นตัวอย่าง​ 4 กลิ่น จากประชาชนจำนวน​ 100​ คน  (ดอกลำดวน 1 ดอกลำดวน 2 ดอกลำดวน 3 ดอกลำดวน 4) เพื่อสร้างเสน่ห์และอัตลักษณ์ให้กับผ้าทอของจังหวัดศรีสะเกษ​ พร้อมเปิดตัวในช่วงเทศกาลดอกลำดวนบานฯ​ ประจำปี​ 2565 ผลการเลือกกลิ่นดอกลำดวนเพื่อเติมกลิ่นผ้าทอเบญจศรี
ผู้เข้าร่วมทดสอบ จำนวน​ 100​ คน   เลือกดอกลำดวน 1 จำนวน 26 คน

ผู้เข้าร่วมทดสอบ จำนวน​ 100​ คน   เลือกดอกลำดวน 2 จำนวน 26 คน

ผู้เข้าร่วมทดสอบ จำนวน​ 100​ คน   เลือกดอกลำดวน 3 จำนวน 29 คน

ผู้เข้าร่วมทดสอบ จำนวน​ 100​ คน   เลือกดอกลำดวน 4 จำนวน 19 คน

ด้าน นายวัฒนา พุฒิชาติ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า นวัตกรรมนาโนเทคโนโลยี จากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) ภายใต้โปรแกรมการยกระดับคุณภาพชีวิตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อชูผ้าอัตลักษณ์เบญจศรี “ผ้าศรีลาวา ผ้าศรีกุลา ผ้าศรีมะดัน ผ้าศรีลำดวน และผ้าศรีมะเกลือ” ให้มีคุณภาพสู่สากล สร้างรายได้กระจายสู่ชุมชน

“อะไร ๆ ก็ดีที่ศรีสะเกษ”